ผลของโปรแกรมการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องในระยะคลอดโดยพยาบาลต่อระดับความเจ็บปวดและพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในหญิงวัยรุ่นครรภ์แรกโรงพยาบาลบึงกาฬ

ผู้แต่ง

  • จุฬาภรณ์ คำวงษา โรงพยาบาลบึงกาฬ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) ชนิดสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง (two-group pre-test post-test design) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องในระยะคลอดโดยพยาบาลต่อระดับความเจ็บปวดและพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในหญิงวัยรุ่นครรภ์แรกโรงพยาบาลบึงกาฬ กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงวัยรุ่นครรภ์แรกที่มีอาการเจ็บครรภ์จริงและปากมดลูกเปิดน้อยกว่า 4 เซนติเมตร มีอายุน้อยกว่า 20 ปี มาคลอดที่ห้องคลอด โรงพยาบาลบึงกาฬ ศึกษาเปรียบเทียบ 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องในระยะคลอดโดยพยาบาล และกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติกลุ่มตัวอย่างได้รับการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ระหว่างเดือนเมษายน–กรกฎาคม พ.ศ. 2561 จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 2 ส่วนคือส่วนที่ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองได้แก่ โปรแกรมการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องในระยะคลอดโดยพยาบาล คู่มือสำหรับหญิงวัยรุ่นครรภ์แรกในระยะคลอด และแผ่นพับวิธีการหายใจบรรเทาปวด และส่วนที่ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และข้อมูลการตั้งครรภ์ จำนวน 11 ข้อ แบบประเมินระดับความเจ็บปวดในระยะคลอดจำนวน 6 ข้อ และแบบสังเกตพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอดจำนวน 5 ข้อ ตรวจสอบความตรงของเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ตรวจสอบ
ความเที่ยง (reliability) ของแบบสังเกตพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอด โดยทดลองใช้ (try out) กับหญิงวัยรุ่นครรภ์แรกตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ในโรงพยาบาลบึงกาฬ จำนวน 10 ราย นำแบบสังเกตพฤติกรรมไป หาค่าความเที่ยง (inter-rater reliability) ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.92 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน เมษายน–กรกฎาคม พ.ศ. 2561 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติไคสแควร์ (Chi-square) สถิติฟิชเชอร์ (Fisher,s Extract test) สถิติไลค์ลิฮูด (Likelihood Ratio) สถิติทีอิสระ (independent t-test) และสถิติ paired t-test

ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มทดลองมีระดับความเจ็บปวดในระยะปากมดลูกเปิดน้อยกว่า 4 เซนติเมตร, เปิด 4-7 เซนติเมตร และเปิด 8-10 เซนติเมตร ต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001), (p<0.001), (p<0.001) ตามลำดับ 2) กลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในระยะปากมดลูกเปิดน้อยกว่า 4 เซนติเมตร, เปิด 4-7 เซนติเมตร และเปิด 8-10 เซนติเมตร เหมาะสมมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001), (p<0.001), (p<0.001) ตามลำดับ 3)กลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมมีระดับความเจ็บปวดในระยะปากมดลูกเปิดน้อยกว่า 4 เซนติเมตร, เปิด 4-7 เซนติเมตร และเปิด 8-10 เซนติเมตร ต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001), (p<0.001), (p<0.001) ตามลำดับ 4) กลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมมีพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในระยะปากมดลูกเปิดน้อยกว่า 4 เซนติเมตร, เปิด 4-7 เซนติเมตร และเปิด 8-10 เซนติเมตร เหมาะสมมากกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001), (p<0.001), (p<0.001) ตามลำดับ

ผลการวิจัย โปรแกรมการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องในระยะคลอด โดยพยาบาลสามารถช่วยบรรเทาความเจ็บปวดและช่วยให้มีพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดดีขึ้นในหญิงวัยรุ่นครรภ์แรก จึงควรส่งเสริมให้นำโปรแกรมนี้ไปใช้ในการดูแลในหญิงวัยรุ่นครรภ์แรก เพื่อช่วยบรรเทาปวดและให้เผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอดได้อย่างเหมาะสม

References

1. Unicef Thailand. Country programme 2012-2016. Thailand: 2013. [cited 2018 April 20]. Available from URL: http://www.unicef.org.

2. World Health Organization. Adolescent pregnancy. Thailand: 2010: [cited 2018 April 20]. Available from URL:http://www.who.int/making_pregnancy_safer/topics/adolescent_pregnancy/en/print.html.

3. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. นนทบุรี: 2561: [เข้าถึงเมื่อ 17 เมษายน 2561]. จาก: http://www. bps.ops.moph.go.th/Healthinformation/statistic57

4. มาณี จันทร์โสภา. ผลของการสนับสนุนทางสังคมต่อความเจ็บปวดในการคลอดและการรับรู้ประสบการณ์การคลอดของผู้คลอดวัยรุ่นครรภ์แรก. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการ
ผดุงครรภ์ขั้นสูงคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2554.

5. Sauls, D. J. Promoting a positive childbirth experience for adolescents. Journal of Obstetric, Gynecologic, and Neonatal Nursing. 2010; 39: 703-712.

6. จิตตานันท์ ศรีสุวรรณ. ผลของการเตรียมคลอดโดยให้ครอบครัวมีส่วนร่วมต่อความรู้ความวิตกกังวลระดับความเจ็บปวดและพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดของมารดาวัยรุ่นครรภ์แรก. วิทยานิพนธ์พาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลครอบครัว คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2550.
7. สุภาวดี หาญวาระ. ผลการเตรียมเพื่อการคลอดด้วยตนเองต่อการเผชิญความเจ็บปวดและความวิตกกังวลในระยะคลอด. วารสารการพยาบาล 2554; 13: 5-15.

8. Barrett, S. J., & Stark, M. A. Factors associated with labor support behaviors of nurses. Journal of Perinatal Education. 2010; 19: 12–18.

9. Hodnett, E. D., Gates, S., Hofmeyr, G.J., & Sakala, C. Continuous support for women during childbirth (Review). The Cochrane Collaboration and published in The Cochrane Library, 10. The Cochrane Collaboration. Published: John Wiley & Sons, Ltd. 2012.

10. กลุ่มภารกิจด้านข้อมูลข่าวสารงานเวชสถิติโรงพยาบาลบึงกาฬ. สถิติงานห้องคลอด โรงพยาบาลบึงกาฬ. 2561.

11. Victoria Quality Council. Acute pain management measurement toolkit. Thailand: 2007. [cited 2018 April 20]. Available fromhttp://www.health.vic.gov.au/qualitycouncil/downloads/apmm _toolkit.pdf.

12. วิภารัตน์ สอดส่อง. ผลของการพยาบาลแบบสนับสนุนประคับประคองในระยะคลอดต่อพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดและการรับรู้เกี่ยวกับประสบการณ์การคลอดของมารดาครรภ์แรก. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลมารดาและทารกแรกเกิดคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล; 2548.

13. Schaffer, M. A. Social support. In S. J. Peterson & T. S. Bredow (Eds.), Middle range theories: Application to nursing research. Philadelphia, PA:Wolters Kluwer Health/ Lippincott, Williams & Wilkins.2009; 163-187.

14. บุญทวี สุนทรลิ้มศิริศรี, สมร ภูมนสกุล, และอรพินธ์ เจริญผล. ผลของการพยาบาลแบบสนับสนุนประคับประคองในระยะคลอดต่อความเครียดและการรับรู้ประสบการณ์การคลอดของมารดาวัยรุ่นครรภ์แรก. วารสารพยาบาลรามาธิบดี 2552; 15:361-371.

15. Lliadou, M. Supporting women inlabor. Health Science Journal. 2012; 6: 385-391.

16. ฉวีวรรณ ธงชัย. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิก : Clinical Practice Guidelines Development. วารสารการพยาบาล 2548; 20: 63–76.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-28