การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและความปลอดภัยส่งผลต่อการสร้างแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลหนองบัวลำภู

ผู้แต่ง

  • สุปราณี บัวขาว โรงพยาบาลหนองบัวลำภู

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ, ความปลอดภัย, การสร้างแรงจูงใจในการทำงาน

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ และความปลอดภัย ส่งผลต่อการสร้างแรงจูงใจในการทำงาน และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและความปลอดภัย กับการสร้างแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลหนองบัวลำภู โดยการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่าง คือบุคลากร ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลหนองบัวลำภู ปีงบประมาณ 2561 จำนวน 272 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม จำนวน 272 ชุด สถิติที่ใช้การวิจัย ได้แก่ การหาค่าร้อยละ การแจกแจงความถี่ การหาค่าเฉลี่ยการหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t–test และการหาค่าสถิติสหสัมพันธ์หรือสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 29–39 ปี ค่าเฉลี่ยอายุ 39 ปี และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 5.9 ระดับการศึกษาต่ำกว่า ปวส. ประเภทตำแหน่งพนักงานกระทรวงสาธารณสุข ระยะเวลาในการทำงานอยู่ระหว่าง 1–5 ปี รายได้เฉลี่ยอยู่ระหว่าง 8,001–16,000 บาท ต่อเดือน ค่าเฉลี่ย 9,455.30 บาทต่อเดือน ปัจจัยส่วนบุคคลเพศชายและเพศหญิงมีความคิดเห็นที่ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและความปลอดภัย กับการสร้างแรงจูงใจในการทำงาน มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยสรุปผลจากการศึกษาชี้ให้เห็นว่าถึงแม้ว่าบุคลากรส่วนใหญ่ได้รับดูแลด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและความปลอดภัย แต่การสร้างแรงจูงใจในการทำงานยังอยู่ในระดับปานกลางเท่านั้น และพบว่าแรงจูงใจทางด้านรายได้/ค่าตอบแทนอยู่ในระดับสูง ดังนั้นจึงควรมีแนวทางการส่งเสริมความก้าวหน้าในอาชีพและการเพิ่มรายได้ที่เหมาะสมเพื่อนำไปสู่การสร้างแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากร โรงพยาบาลหนองบัวลำภูต่อไป

References

1. ความปลอดภัย [อินเตอร์เน็ต]; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2 สิงหาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก https:// th.wikipedia.org/wiki.

2. วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. การบริหารจัดการของหน่วยงานของรัฐ: การวิเคราะห์เปรียบเทียบตัวชี้วัด. กรุงเทพฯ :สำนักพิมพ์โฟร์เพซ; 2552.

3. กฎหมายที่เกี่ยวข้อง/กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. การจัดการสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: ชวนพิมพ์จันทนาอินทปัญญา; 2548.

4. แรงจูงใจในการทำงาน. [อินเตอร์เน็ต]; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 1 กันยายน 2561]. เข้าถึงได้จากhttps://th.wikipedia.org/wiki.

5. ฉัตร์แก้ว ละครชัย. การประเมินการจัดการความปลอดภัยในโรงพยาบาลและความสัมพันธ์ กับอัตราความชุกของการเกิดอุบัติเหตุของพยาบาล กรณีศึกษาโรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 6; 2558; 2(6): 173-87

6. ขนิษฐา นิ่มแก้ว. ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่มีความสัมพันธ์ต่อความผูกพันของบุคลากรในองค์การ [การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี; 2554.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-28