ผลของโปรแกรมการให้ความรู้อย่างมีแบบแผนในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อความรู้ การรับรู้ความสามารถ และพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาหลังคลอด ในหอผู้ป่วยสูติกรรมชั้น 2 โรงพยาบาลอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • พัชรา ประเสริฐวิทย์ โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

โปรแกรมการให้ความรู้อย่างมีแบบแผนในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่, การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่, ความรู้, การรับรู้ความสามารถ, พฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่, มารดาหลังคลอด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นแบบกึ่งทดลองชนิดกลุ่มเดียว โดยวัดผลเปรียบเทียบก่อนและหลัง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ความรู้อย่างมีแบบแผนในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อความรู้ การรับรู้ความสามารถ และพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาหลังคลอด

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ มารดาหลังคลอด จำนวน 30 คน เลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการให้ความรู้อย่างมีแบบแผนในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม แบ่งเป็น 4 ส่วน ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล ความรู้ การรับรู้ความสามารถ และพฤติกรรมในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความแตกต่างของค่ากลางของสองประชากรแบบไม่อิสระ

ผลการวิจัย พบว่า คะแนนความรู้ การรับรู้ความสามารถ และพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สูงกว่าก่อนใช้โปรแกรมการให้ความรู้อย่างมีแบบแผนในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาหลังคลอด อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05

จากการศึกษาในครั้งนี้ทำให้ทราบถึงผลของการให้ความรู้อย่างมีแบบแผนต่อความรู้ การรับรู้ความสามารถ และพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาหลังคลอด ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลในการให้ความรู้แก่มารดาหลังคลอดในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อส่งเสริมการให้นมแม่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถให้นมลูกได้ 6 เดือนเป็นอย่างน้อย

References

1. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. พัฒนางานตามแนวคิด พัฒนาคนตามช่วงวัย; 2560: (เข้าถึงเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2561) จาก www.thaigov.go.th/news/contents/details/10312

2. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.ประชุมวิชาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่รากฐานของชีวิต; 2561: (เข้าถึงเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2561) จาก http://www.ns.mahidol.ac.th/english/th/conference/breastfeeding2018_conference.html

3. กระทรวงสาธารณสุข สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข. นนทบุรี: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2558.

4. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. กรมอนามัยตั้งเป้าเพิ่มการเลี้ยงลูกนมแม่ให้ได้ 50%; 2561: (เข้าถึงเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2561) จาก https://www.dailynews.co.th/regional/659067

5. ดนยา โรจนชีวะ. ผลของการจัดการรูปแบบการให้ความรู้แก่มารดาหลังคลอดครรภ์แรกต่อการรับรู้ความสามารถในการลี้ยงลูกด้วยนมแม่โรงพยาบาลตติยภูมิในจังหวัดสุพรรณบุรี (วิทยานิพนธ์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2555.

6. สุจิตรายวงทอง. วิไลพรรณ สวัสดิ์พาณิชย์. วรรณี เดียวอิศเรศ. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำหรับมารดาหลังคลอดบุตรคนแรกต่อระยะเวลาและพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2555:7(2): 100-115.

7. Bandura, A: Self-efficacy: The exercise of control. New York: W.H. Freeman and Company: 1997.

8. พาวิน พัวพรพงษ์. การประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่; 2558: (เข้าถึงเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2561) จาก fle:///C:/Users/ASUS/Desktop/ประเมิน%20latch%20score.pdf

9. วรรณวิมล วิเชียรฉาย, ทิพวรรณ ลิ้มประไพพงษ์, จันทรมาศ เสาวรส. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือน หลังคลอดของหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ ณ โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิทยาลัยพระปกเกล้าจังหวัดจันทบุรี 2549: 18: 1-13.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-28