พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของพระภิกษุสงฆ์ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ปิติณัช ราชภักดี มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • ภาวิณี ศรีสันต์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ, พระภิกษุสงฆ์, การได้รับข้อมูลข่าวสารสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุภาพของพระภิกษุสงฆ์ ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นพระภิกษุสงฆ์ จำนวน 160 รูป จำแนกเป็นพระมหานิกาย จำนวน 116 รูป พระธรรมยุต จำนวน 44 รูป เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ส่วนที่ 3 แบบสอบถามเกี่ยวกับการได้รับข้อมูลข่าวสารสุขภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้รับการตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่าความสอดคล้องของเครื่องมือ (IOC) เท่ากับ 1 และหาค่าความเที่ยงตรงโดยใช้สัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย

ผลการวิจัย พบว่า  1) พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของพระภิกษุสงฆ์โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( gif.latex?\bar{x}= 2.72 ,SD = 0.68) เมื่อพิจารณาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของพระภิกษุสงฆ์รายด้าน พบว่าพระภิกษุสงฆ์มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพมากที่สุดคือ ด้านการออกกำลังกาย (gif.latex?\bar{x} = 3.08,SD = 0.72 ) ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง รองลงมาเป็นด้านความเครียด (gif.latex?\bar{x} = 2.75,SD = 0.68 ) อยู่ในระดับปานกลาง และด้านการบริโภคอาหาร ( gif.latex?\bar{x}= 2.33,SD = 0.65) อยู่ในระดับน้อย  ตามลำดับ 2) พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของพระภิกษุสงฆ์รายข้อ 5 อันดับสูงสุด ส่วนใหญ่เป็นด้านการออกกำลังกาย ส่วนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของพระภิกษุสงฆ์ 5 อันดับต่ำสุดทั้งหมดเป็นด้านการบริโภคอาหาร 3 การรับรู้ข่าวสารด้านสุขภาพ พบว่า ค่าเฉลี่ยรวมของด้านการรับรู้ข่าวสารด้านสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x} = 2.67,SD = 1.35) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อด้านการรับรู้ข่าวสารด้านสุขภาพ 5 อันดับแรก สูงสุด ได้แก่ การรับรู้ข่าวสารทาง หนังสือพิมพ์ วารสาร อินเตอร์เน็ต การเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ รายการทางโทรทัศน์ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) และการอ่านหนังสือต่างๆที่เกี่ยวกับสุขภาพ ผลการวิจัยครั้งนี้น่าจะใช้เป็นแนวทางในการวางแผนพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของพระภิกษุสงฆ์ และส่งเสริมสุขภาพของพระภิกษุสงฆ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

References

1. สำนักข่าวไทยรัฐ. จัดระเบียบใส่บาตร เลิกถวายของฆ่าพระ, [เข้าถึงเมื่อ 24 เมษายน 2561]. เข้าถึงได้จาก https://www.thairath.co.th/content/949967.

2. ปัณณธร ชัชวรัตน์.งานวิจัยเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของพระสงฆ์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา.วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี : สถาบันพระบรมราชชนกกระทรวง สาธารณสุข, 2553.

3. พระมหามินภัทร คาชะนาม. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของพระสงฆ์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาชุมชนบัณฑิต. วิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร, 2552.

4. ศนิกานต์ ศรีมณี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการบริโภคของพระภิกษุสงฆ์ และพฤติกรรมการถวายภัตตาหารของประชาชนในเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร, 2556.

5. สุวัฒสัน รักขันโท และคณะ, พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของพระภิกษุในเขตภาคใต้ตอนบน, รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, 2551.

6. วรรณชนก จันทชุม, การวิจัยทางการพยาบาล : การเลือกตัวอย่างและการกําหนดขนาดตัวอย่าง. ขอนแก่น: คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น , 2545.

7. สุชาดา วงศ์สืบชาติ. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของพระสงฆ์ในกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษา วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และวัดปากน้ำภาษีเจริญ.พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา) บัณฑิตวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, 2554.

8. พระพิพัฒน์ อภิวฑฺฒโน (อายะนันท์). การศึกษาวิเคราะห์พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของพระสงฆ์ในจังหวัดแพร่. พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา) บัณฑิตวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, 2554.

9. พระธรรมโมลี (ทองอยู่ ญาณวิสุทธิโธ). พฤติกรรมสุขภาพและการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมของพระสงฆ์ที่ปรากฏในพระไตรปิฎก. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, 2551.

10. มณฑิชา นงนุช นิคม มูลเมืองและวรรณิภา อัศวชัยวิกรม. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการออกกำลังกายของพระสงฆ์ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดปราจีนบุรี วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 2552: 4(1): 15-28.

11. ศุภลักษณ์ ธนธรรมสถิต ปราณปรียา โคสะสุ และศิรดา ศรีโสภา สุขภาวะของพระภิกษุสงฆ์ในจังหวัดอุบลราชธานี, [ข้าถึงเมื่อ 24 เมษายน 2561]. เข้าถึงได้จาก http://guideubon.com/news/ view.php?t=115&s_id=472&d_id=472.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-29