การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดข้อสะโพกเทียมและมีโรคร่วม:กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • เปรมจิต เกตษา โรงพยาบาลบางพลี

คำสำคัญ:

กระดูกสะโพกหัก, ภาวะแทรกซ้อน, ข้อสะโพกเทียม, กระดูกพรุน, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

ภาวะกระดูกสะโพกหักเป็นปัญหาที่พบบ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุ เกิดจากภาวะกระดูกพรุน และการกระแทกอย่างรุนแรงของกระดูกต้นขา การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมนับเป็นการรักษาที่ดีสำหรับการหักของกระดูกข้อสะโพก

ปัจจุบันโรงพยาบาลบางพลี สามารถให้บริการผู้ป่วยผ่าตัดข้อสะโพกเทียมประมาณ 10 รายต่อปี ผู้ศึกษาจึงนำกรณีศึกษาผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมและมีโรคร่วม เปรียบเทียบ 2 ราย

กรณีศึกษาที่ 1 เป็นผู้ป่วยสูงอายุเพศหญิง กระดูกข้อสะโพกซ้ายหักมีโรคร่วม คือ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง รับประทานยาละลายลิ่มเลือด ต้องงดยาก่อนผ่าตัด 7 วัน ขณะผ่าตัด หลังผ่าตัดดูแลประเมิน และเฝ้าระวัง ภาวะแทรกซ้อน เช่น แผลกดทับ การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ปอดบวมเป็นต้น ทั้งตัวโรค และโรคร่วมของผู้ป่วย สังเกตอาการอย่างใกล้ชิด

กรณีศึกษาที่ 2 เป็นผู้ป่วยชายถูกกระแทกต้นขาอย่างแรง ข้อสะโพกขวาหัก มีโรคร่วม คือ ความดันโลหิตสูงและตับแข็ง ผู้ป่วยเอะอะโวยวาย หงุดหงิด เนื่องจากติดสุรา ตับทำงานผิดปกติ ต้องอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจ และเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยซักถาม เพื่อให้ผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการรักษา การควบคุมความดันโลหิตขณะผ่าตัด หลังผ่าตัดต้องสังเกตอาการเลือดออกผิดปกติที่แผลผ่าตัด ท่อระบาย และการสังเกตสัญญาณชีพ

ผู้ป่วยทั้ง 2 รายหลังผ่าตัด ได้รับการดูแล วางแผนการพยาบาลร่วมกับทีมสหสาขาอย่างถูกต้องเหมาะสม ผู้ป่วยมีความปลอดภัย ไม่มีภาวะแทรกซ้อนต่างๆ นัดติดตามอาการ อีก 1 เดือน

References

1. จอมศรี โพธิสาร. ภาวะหลอดเลือดดำลึกอุดตันในผู้ป่วยหลังผ่าตัดข้อเข่าและข้อสะโพก. ประเด็นท้าทายในการป้องกัน. วารสารชมรมพยาบาลออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย; 2554; 16(1), 513.

2. ธวัช ประสาทฤทธา และคณะ. การพยาบาลผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ:สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2550.

3. นงเยาว์ สมพิทยานุรักษ์. การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด.กรุงเทพมหานคร; โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553.

4. นันทา ขวัญดี. การฟื้นตัวภายหลังผ่าตัดในผู้ป่วยสูงอายุที่กระดูกสะโพกหัก.วารสารชมรมพยาบาลออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย; (2556); 18(2), 73-83.

5. บวรฤทธิ์ จักรไพวงศ์ และคณะ. การตรวจร่างกายทางออร์โธปิดิกส์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2556.

6. วรรณี สัตยวิวัฒน์ และคณะ, การพยาบาลผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์. กรุงเทพฯ : เอ็นพี เพรส, 2551.

7. วราภรณ์ ตุ้มทอง. การฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยสูงอายุหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม. วารสารชมรมพยาบาลออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย, 2554, 16(2), หน้า 62-74.

8. วัชระ วิไลรัตน์ และคณะ, บรรณาธิการ. ตำราศัลยศาสตร์ข้อสะโพกและข้อเข่าเทียม. ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย. 2559.

9. สุจิตรา ลิ้มอำนวยลาภ และชวนพิศทำนอง, การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะเจ็บป่วยวิกฤต.ขอนแก่น: ห้างหุ้นส่วนจำกัดโรงพิมพ์คลังนานาวิทยา. 2559.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-29