ผลการเยี่ยมก่อนการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดโดยพยาบาลห้องผ่าตัดต่อความวิตกกังวลของผู้ป่วยโรคหัวใจ โรงพยาบาลอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • เกศแก้ว ดลสิริฤทธิกุล โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

การเยี่ยมก่อนการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด, พยาบาลห้องผ่าตัด, ความวิตกกังวล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลการเยี่ยมก่อนการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดโดยพยาบาลห้องผ่าตัดต่อความวิตกกังวลของผู้ป่วยโรคหัวใจ โรงพยาบาลอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคหัวใจที่รับไว้ในโรงพยาบาล เพื่อรับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดที่ ตึกศัลยกรรมหัวใจ หลอดเลือดและทรวงอก ชั้น 3โรงพยาบาลอุดรธานี จำนวน 50 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด และแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 25 ราย โดยวิธีการจับฉลาก และให้ทั้งสองกลุ่มมีความคล้ายคลึงกัน สำหรับกลุ่มทดลองจะได้รับการเยี่ยมตามแผนการเยี่ยมจากผู้วิจัย ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการปฏิบัติการพยาบาลตามปกติ

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แผนการเยี่ยม แฟ้มการเยี่ยมก่อนผ่าตัด หาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบและมาตรวัดความวิตกกังวลนำไปหาความเที่ยงโดยวิธีทดสอบซ้ำ ได้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ตามวิธีของเพียร์สันเท่ากับ 0.95 ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่ม ตัวอย่างนำมาวิเคราะห์โดยการหาความถี่ ร้อยละ หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนความวิตกกังวล และทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม

ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยโรคหัวใจกลุ่มที่ได้รับการเยี่ยมก่อนผ่าตัดหัวใจแบบเปิดโดยพยาบาลห้องผ่าตัดมีความวิตกกังวลต่ำกว่าผู้ป่วยโรคหัวใจกลุ่มที่ไม่ได้รับการเยี่ยม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ทั้งขณะอยู่ในหอผู้ป่วยหนึ่งวันก่อนผ่าตัด และก่อนเข้ารับการผ่าตัด

References

1. นันทพร แสนศิริพันธ์. ผลการเยี่ยมก่อนผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องโดยพยาบาลห้องผ่าตัดต่อความวิตกกังวลของหญิงมีครรภ์. [วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการพยาบาลแม่และเด็ก]. เชียงใหม่:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2540.

2. สถิติห้องผ่าตัดทรวงอก หัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลอุดรธานี.สถิติการผ่าตัดแผนกหัวใจหลอดเลือดและทรวงอก. 2558.

3. ดาราวรรณ ต๊ะปินตา. ความวิตกกังวล :เทคนิคการลดความวิตกกังวล : กระบวนการพยาบาล.เชียงใหม่:ภาควิชาการพยาบาลจิตเวช คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;2538.

4. กันยา ออประเสริฐ. การเยี่ยมผู้ป่วยก่อนผ่าตัด. ใน: เรณู อาจสาลี,บรรณาธิการ.การพยาบาลทางห้องผ่าตัด. กรุงเทพฯ: คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล; 2532.

5. LeMaitre, G. D., & Finnegan, J. A. The patient in surgery : A guide for nurse.4th ed. Philadelphia : W.B. Saunders;1980.

6. Kurth, C. L.Preoperative nursing. In: M. L. Patrick, S. L. Wood, R.E. Craven, J.SRokosky& P. M. Bruno, eds. Medical-surgical nursing: Pathophysiological Concepts. 2nd ed.Philadelphia:J.B. Lippincott;1991.

7. Wewers, M. E., & Lowe, N. K. A critical review of visual analogue acales in the Measurement of clinical phenomena. Research in Nursing and Health1990; 13(4J): 227-236.

8. พะยอม อิงคตานุวัฒน์. จิตวิทยาพัฒนาการวัยผู้ใหญ่.กรุงเทพฯ:โครงการตำราศิริราช คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล;2523.

9. Cupple, S.A. Effect of timing and reinforcement of preoperative education on Knowledge and recovery of patients having coronary artery bypass graft surgery. Heart & Lung 1991; 20 (6): 654-660.

10. ธนิดาฤกษ์ จิรัฐติกาล. วิวัฒนาการบทบาทพยาบาลห้องผ่าตัดในประเทศสหรัฐอเมริกา.เอกสารประกอบการประชุมวิชาการชมรมพยาบาลห้องผ่าตัดแห่งประเทศไทยครั้งที่ 2 เรื่องบทบาทพยาบาลห้องผ่าตัด: บทบาทและความคาดหวัง . กรุงเทพฯ:ชมรมพยาบาลแห่งประเทศไทย; 2540.หน้า 1-3

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-30