ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวี อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • ปัญจพจน์ วิมลรัตนชัยศิริ โรงพยาบาลสามชุก
  • สุจิตรา นิลเลิศ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสามชุก

คำสำคัญ:

ผู้ติดเชื้อเอชไอวี, คุณภาพชีวิต, แรงสนับสนุนทางสังคม, ภาวะความผาสุกทางจิตวิญญาณและกลยุทธ์ในการปรับตัวต่อปัญหาหรือภาวะวิกฤติของผู้ติดเชื้อเอชไอวี

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวีในรายด้านและโดยรวม ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับคุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวีโดยรวม ปัจจัยคัดสรรหรือปัจจัยพยากรณ์ ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล 10 ปัจจัย แรงสนับสนุนทางสังคม ภาวะความผาสุกทางจิตวิญญาณ กลยุทธ์ในการปรับตัวต่อปัญหา หรือภาวะวิกฤติของผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่อาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวี เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวางเชิงพรรณนา โดยใช้แบบสัมภาษณ์ คือเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มารับยาต้านไวรัสเอชไอวีทุกราย ณ คลินิกยาต้านไวรัสเอดส์ โรงพยาบาลสามชุก ระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนสิงหาคม 2558 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณาและสหสัมพันธ์เพียรสัน และความถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยจำนวน 137 ราย ส่วนใหญ่มีแรงสนับสนุนทางสังคม อยู่ในระดับน้อย ร้อยละ 67.1 ความผาสุกทางจิตวิญญาณอยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 67.9) กลยุทธ์ในการปรับตัวต่อปัญหาหรือภาวะวิกฤติอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 62.8) คุณภาพชีวิตโดยรวม พบว่าร้อยละ 62.0 มีคุณภาพชีวิตกลางๆ กลุ่มที่เหลือมีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี เมื่อจำาแนกรายด้าน พบว่าด้านจิตใจ, ด้านสัมพันธภาพทางสังคม, ด้านสุขภาพกายและด้านสิ่งแวดล้อม มีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี คิดเป็นร้อยละ 51.8, 37.9, 22.6 และ 10.2 ตามลำดับ

ปัจจัยส่วนบุคคล 4 ปัจจัย ได้แก่ อายุ, อาชีพ, บุคคลที่พักอาศัยอยู่ด้วย และระยะเวลาที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อเอชไอวี มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวีโดยรวมอย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.05 อีก 6 ปัจจัย ได้แก่ เพศ, สถานภาพสมรส, การศึกษาสูงสุด, สถานที่พักอาศัย, รายได้ต่อเดือน และการบอกสมาชิกในครอบครัวเกี่ยวกับการติดเชื้อของตัวเอง มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวีโดยรวมแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

แรงสนับสนุนทางสังคม, ภาวะความผาสุกทางจิตวิญญาณ และกลยุทธ์ในการปรับตัวต่อปัญหาหรือภาวะวิกฤติของผู้ติดเชื้อเอชไอวี มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวี อยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างสูง (r=0.489, p<0.01), อยู่ในระดับปานกลาง(r=0.364, p < 0.01) อยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างสูง (r=0.408, p< 0.01) ตามลำดับ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณพบว่า มีตัวแปรที่สามารถอธิบายความแปรปรวนของคะแนนคุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้ติดเชื้อเอชไอวีได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.05 คือแรงสนับสนุนทางสังคม, กลยุทธ์ในการปรับตัวต่อปัญหาหรือภาวะวิกฤติ, ความผาสุกทางจิตวิญญาณ และการบอกสมาชิกในครอบครัวเกี่ยวกับการติดเชื้อของตัวเองเป็นไปในเชิงบวก นอกจากนี้พบว่าตัวแปรอิสระทั้งหมด 13 ตัว สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของคะแนนคุณภาพชีวิตโดยรวม ได้ร้อยละ 48.9 ซึ่งนับว่าอยู่ในระดับค่อนข้างสูง

References

1. กระทรวงสาธารณสุขใช้ 5 มาตรการ “ยุติโรคเอดส์” เผยรอบ 30 ปี รายไทยตายกว่า 7 แสนราย เข้าถึงเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2558 เข้าถึงได้จาก: http://www.hfocus.org/content/2014/12/8873#sthash.W07f8WJT.dpuf.

2. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี. รายงานสถานการณ์โรคเอดส์จังหวัดสุพรรณบุรี ยอดสะสม ถึงวันที่ 28 ธันวาคม 2558.

3. จิตตะวัน จิตระกูล. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการดูแลตนเองของวัยรุ่นที่ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ จังหวัดอุตรดิตถ์. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานระดับชาติ ครั้งที่ 4 วันที่ 11-12 กุมภาพันธ์ 2555. ขอนแก่น: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น; 2555.

4. ศิริพร กันยัง, ชมนาด วรรณพรศิริ, ศิริเกษม ศิริลักษณ์, ดวงพร หุ่นตระกูล. ประสบการณ์การสร้างเสริมสุขภาพของผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสจังหวัดเพชรบูรณ์. เชียงใหม่:คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2555.

5. สุวรรณา บุญยะลีพรรณและคณะ. พฤติกรรมสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์วัยแรงงาน ที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวี ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง. พยาบาลสาร 2556;(40)

6. วันเพ็ญ แก้วปาน และสุรินทร์ สืบซึ้ง.การศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ที่รับบริการในคลินิกเอดส์ จังหวัดปราจีนบุรี.วารสารวิชาการเขต 12 2549; 17(4) ตุลาคม-ธันวาคม.

7. เกียรติชาย จิระมหาวิทยากุล, สำราญ เชื้อเมืองพาน. คุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวี :กรณีศึกษากลุ่ม “รวมน้ำใจริมน้ำลาว” อำเภอแม่ลาวจังหวัดเชียงราย. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2550; 2 (1) มกราคม- มีนาคม (ฉบับเสริม 3).

8. กิติมา วรรณทอง, ณัฐมน มูลศรีแก้ว,สมภพ ไทยานันท์ . คุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ในจังหวัดอุบลราชธานี. การประเมินโดยแบบวัด WHOQOL-HIV-BREF. 2553.9. ประทีป ดวงงาม. ระดับคุณภาพชีวิตและปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวีในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดตรัง. วารสาร มหาวิทยาลัยทักษิณ 2555;15(3) ฉบับพิเศษ.

10. วุฒิพงศ์ คงทอง, สมหญิง สุรายธ์, วัชรินทร์ ประเทพ. ประสิทธิผลของการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการกำกับตนเองร่วมกับทฤษฎีการสนับสนุนทางสังคมเพื่อพัฒนาพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยของชายรักชายที่เป็นสมาชิกกลุ่มพลังสีม่วง.พัทลุง:สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง; 2552.

11. วรรณชาติ ตาเลิศ, สุวรรณา บุญยะลีพรรณ. พฤติกรรมสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์วัยแรงงานที่ได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวีในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดสุรินทร์. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2557; 32(1).

12. ยุทธชัย ไชยสิทธิ์ และคณะ. กลยุทธ์ในการส่งเสริมความสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัสเอชไอวี. นครพนม:วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม;2556.

13. วันเพ็ญ วนาภรณ์, เขมารดี มาสิงบุญ, สุภาภรณ์ ด้วงแพง. ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส. วารสารคณะพยาบาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2553; 18(1).

14. ยุภาพรรณ มันกระโทก, วิทยา กุลสมบูรณ์, หทัยรัตน์ โคตรสมพงษ์. การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ที่รับการรักษาที่โรงพยาบาลชุมชนจังหวัดนครราชสีมาวารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดนครราชสีมา 2553; 16 (6).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-30