คุณภาพชีวิตผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมโรงพยาบาลอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • อุไรวรรณ พลซา โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, ข้อเข่าเทียม

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมและวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิต กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมที่นอนรักษาตัวที่แผนกออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลอุดรธานี ในช่วงระยะเวลาวันที่ 1 ตุลาคม 2556ถึงวันที่ 30 กันยายน 2557 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป และแบบวัดคุณภาพชีวิต ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ และทดสอบความเชื่อมั่น โดยวิธีอัลฟาของครอนบราค (Cronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ0.85 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยให้ผู้ป่วยตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง ระหว่างในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึง 31 มีนาคม 2558 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์ F-test บนโปรแกรม SPSS 16.0

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่าง 80 ราย ทั้งหมดเป็นหญิง มีอายุ 60 ปีขึ้นไปร้อยละ 57.5 ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา อาชีพแม่บ้าน อยู่ในเกณฑ์อ้วน (BMI 25-29.9) ร้อยละ 72.5 มีคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 95.34) คุณภาพชีวิตจำแนกตามตัวแปรต่างๆได้แก่อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ พบว่ามีคุณภาพชีวิตที่ใกล้เคียงคือ อยู่ในระดับดี กลุ่มตัวอย่างที่มีBMI อยู่ในเกณฑ์อ้วนมาก (BMI > 30) มีคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตต่ำที่สุด เมื่อทดสอบความแตกต่างทางสถิติพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มี BMI ต่างกัน มีคุณภาพชีวิตที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ p< 0.05

การให้ความรู้ในด้านโภชนาการ การฟื้นฟูทางร่างกาย การป้องกันข้อเข่าเสื่อม การดูแลตนเองที่ถูกต้อง การดูแลทางด้านจิตใจ ลดความเครียด และปรับสิ่งแวดล้อม เพื่อป้องกันควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกิดภาวะอ้วนเป็นการป้องกันและฟื้นฟูภาวะข้อเข่าเสื่อม 

References

1. วรรณี สัตยวิวัฒน์. การพยาบาลผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์. พิมพ์ครั้งที่5. กรุงเทพฯ : ไพศาลศิลป์การพิมพ์ ; 2539.

2. เบญจมาศ ม่วงทอง. ประสิทธิผล ของโปรแกรมสุขศึกษาในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า [วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตสาธารณสุขศาสตร์สาขาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย]. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยมหิดล; 2544.

3. ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์และกายภาพบำบัด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล. Update in orthopaedic Management for Orthopaedic Nurses. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยมหิดล;2547.

4. ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ แห่งประเทศไทย. Advance in Hip and knee Surgery. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์คอมพลีทพริ้นติ้ง;2546.

5. Yamane, T. Elementary sampling theory. New Jersey: Prentice-Hall; 1967.

6. เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL-BREF-THAI). [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 27 เมษายน 2556] เข้าถึงได้จาก http://www.dmh.go.th/test/whoqol/

7. เครื่องคำนวณหาดัชนีมวลกาย (BMI)(อินเตอร์เน็ต). [เข้าถึงเมื่อ 30 เมษายน 2557] เข้าถึงได้จาก www.loveftt.com.

8. โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ. คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี (อินเตอร์เน็ต). [เข้าถึงเมื่อ 30 เมษายน 2557] เข้าถึง ได้จาก www.med.mahidol.ac.th

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-02-06