ผลการศึกษาภาวะไตวายเรื้อรังระยะ 4 และ 5 ของผู้ป่วยในเขตอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • อัษฎาพร เหล่าตระกูลสวัสดิ์ โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

โรคไตวายเรื้อรัง ระยะ 4 - 5, โรงพยาบาลบ้านผือ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลกับภาวะโรคไตวายเรื้อรัง ระยะ 4 และ 5 ของผู้ป่วยในเขตอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะ 4 และ 5 ที่มีภูมิลำเนาในเขตอำเภอ บ้านผือและมารับบริการในโรงพยาบาลบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2558 จนถึง วันที่ 31 ธันวาคม 2558 จำนวนทั้งหมด 246 คน

เก็บข้อมูลย้อนหลังจากแฟ้มประวัติผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง ระยะ4 และ 5 ที่มีภูมิลำเนาในเขตอำเภอบ้านผือและมารับบริการในโรงพยาบาลบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี (Retrospective study) และวิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้ค่า ความถี่ ร้อยละ อัตราส่วน ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีผลกับโรคไตวายเรื้อรัง ระยะ 4 และ 5 จากข้อมูลทั่วไปและสาเหตุสำคัญที่ทำให้ของเกิดโรคไตวายเรื้อรัง ของกลุ่มตัวอย่างที่เลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposing sampling) ณ ช่วงเวลาที่ศึกษา และตรงกับเกณฑ์การคัดเข้าของกลุ่มดังกล่าว

จากกลุ่มตัวอย่างโรคไตวายเรื้อรังระยะ 4 และ 5 ที่ตรงกับเกณฑ์การ คัดเข้า จำนวน 246 คน เป็นชาย 95 คน (ร้อยละ 38.62) เป็นหญิง 151 คน (ร้อยละ 61.38) อายุส่วนใหญ่จะมากกว่า 70 ปี (ร้อยละ 44.3) รองลงมาคือช่วงอายุ 60-69 ปี (ร้อยละ 31.7) ผู้ชายอ้วน (ร้อยละ30.53) ผู้หญิงอ้วน (ร้อยละ 27.81) และสาเหตุของโรคไตเรื้อรัง พบส่วนใหญ่ในกลุ่มโรคไตเรื้อรังจากเบาหวาน (diabetic CKD) ร้อยละ 55.69 รองลงมาเป็นโรคไตเรื้อรังที่ไม่ได้เกิดจากโรคเบาหวาน (non-diabetic CKD) ร้อยละ 44.31 คิดเป็นอัตราส่วน 5 : 4

สรุปและข้อเสนอแนะ ปัจจัยทั่วไปพบว่า เพศหญิง อายุ ที่มากขึ้น ดัชนีมวลกายที่ต่ำมีผลต่อการทำงานของไตที่แย่ลงและเบาหวานเป็นสาเหตุหลักของโรคไตเรื้อรัง (diabetic CKD)ดังนั้น จึงควรมีการจัดการเพื่อลดหรือชะลอการเกิดใหม่ของโรคไตเรื้อรัง โดยการจัดการทางร่างกาย การตรวจคัดกรองโรคและ ด้านบุคคลให้สุขศึกษาด้านโภชนาการ การออกกำลังกาย

References

1. U.S. Renal Data System, USRDS2013Annual Data Report:Atlasof Chronic Kidney Disease and End-Stage Renal Disease in theUnited States, National Institutes of Health, National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases. Bethesda: MD; 2013.

2. Ingsathit A, Thakkinstian A, Chaiprasert A, Sangthawan P, Gojaseni P, Kiattisunthorn K; the Thai SEEK Group. Prevalence and risk factors of chronic kidney disease in the Thai adult population: Thai SEEK study. Nephrol Dial Transplant 2010;25:1567-75.

3. Ibrahim H, Mondress M, TelloA, Fan Y, Koopmeiners J, Thomas W.An alternative formula tothe Cockcroft-Gaultand the modifcationof diet inrenal diseases formulas in predicting GFR in individuals with type 1 diabetes. J Am SocNephrol 2005;16:1051-60.

4.ประเสริฐ ธนกิจจาร. สถานการณ์ปัจจุบันของโรคไตเรื้อรังในประเทศไทย.วารสารกรมการแพทย์โรงพยาบาลราชวิถี 2558;5-18.

5.รายงานตัวชี้วัด cockpit 2557-2558 สำนักงานสาธารณสุขอุดรธานี.Available from: http://www.udo.moph.go.th/wasabi3/Home.php

6.โรงพยาบาลบ้านผือ. รายงานสถิติผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง รหัส N18 ปีงบประมาณ 2557 - 2558. อุดรธานี;2559.

7.Ingsathit A, Thakkistian A, Chaiprasert A, Sangthawan P, Gojaseni P, Kiattisunthorn K, et al. Prevalence and risk factor of chronic kidney disease n the Thai adult population: Thai SEEK study. Nephrol Dial Transplant. 2010;25(5):1567-75.

8.รัชนีย์ ไกรยศรี. ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพ บุคลิกภาพที่เข้มแข็ง และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตบัณฑิตวิทยาลัย]. ชลบุรี:มหาวิทยาลัยบูรพา;2543.

9.รวีวรรณ พงศ์พุฒิพัชร, อรวมน ศรียุกตศุทธ, จงจิต เสน่หา, นพพร ว่องสิริมาศ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต. Journal of nurses’ association of Thailand, north-eastern division 2013;31(1): 52-61

10.K/DOQI Clinical practice guidelines for chronic kidney disease: Evaluation, classifcation, and stratifcation. Am J Kidney Dis 2002;39 (Suppl 2) : S1-S266.

11. Leve AS, Stevens LA, Schmid CH, Zhang Y, Castro III AF, Feldman HI,et al. A new equation to estimate glomerular filtration rate. Ann Intern Med 2009;150:604-12.

12.KDIGO 2012 Clinical practice guideline for the management of blood pressure in chronic kidney disease. Kidney Inter Suppl 2013; 3 : 1-150.

13.Thailand Renal Replacement Therapy Registry 2004 Report. สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย [Cited 2015 April 24]. Available from:http://www.nephrothai.org/trt/trt-l.asp

14.Thailand Renal Replacement Therapy Registry 2012 Report. สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย [Cited 2015 April 24]. Available from:http://www.nephrothai.org/trt/trt-l.asp

15.ศูนย์ข้อมูลประเทศไทย.Thailand information[Cited 2015 April 24]. Available from: http://udonthani.kapook.com

16.ศิรยุสม์ วรามิตร.โรคไตเรื้อรังในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง.เอกสารประกอบการสอน กลุ่มงานอายุรกรรม. สกลนคร:โรงพยาบาลสกลนคร;2558.

17.Allison J. Hahr, Mark E. Molitch. Management of diabetes mellitus in patients with chronic kidney disease.Clinical Diabetes and Endocrinology 2015; 1-2.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-02-07