ความรู้ และพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานในโรงพยาบาลกองบิน บน.๒๓

ผู้แต่ง

  • ศศิผกา สินธุเสน โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ, โรงพยาบาลกองบิน, เบาหวาน

บทคัดย่อ

การให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวานและสร้างทักษะเพื่อการดูแลตนเองทำให้ผู้ป่วยเบาหวานมีสุขภาพดีขึ้นเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องประเมินระดับความรู้ และพฤติกรรมดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานเพื่อที่จะหายุทธวิธีให้ผู้ป่วยมีความรู้และตระหนักถึงการดูแลสุขภาพของตัวผู้ป่วยเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานประชากร เปรียบเทียบและศึกษาความสัมพันธ์ของประชากร ระดับความรู้ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่ได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลกองบิน บน.23

การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวางในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วย เบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 91 ราย ที่เข้าเกณฑ์คัดเลือกจากประชากรผู้ป่วยประชากรเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ขึ้นทะเบียนรับการรักษาที่โรงพยาบาลกองบิน 23 อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ในช่วงเวลาระหว่างเดือนมกราคม– ธันวาคม 2558 จำนวน 94 ราย ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์จากผู้ให้คำตอบโดยตรงวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้จำนวน ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบข้อมูลทางสถิติโดยใช้ t-test และ one - way ANOVA โดยกำหนดค่าความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

ผลการศึกษาร้อยละ 64.8 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานเป็นเพศชาย ร้อยละ 37.4 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา และร้อยละ 51.6 ประกอบอาชีพรับราชการ โดยผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนใหญ่ร้อยละ 44 มีความรู้ระดับปานกลาง ร้อยละ 75.8 มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพในระดับดี และจากการวิเคราะห์พบว่าไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างระดับความรู้ และพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวาน

สรุปผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องโรคเบาหวานระดับปานกลางแต่มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพในระดับดีและไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างระดับความรู้ และพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาเครื่องมือและแบบแผนทางการศึกษาอบรมเพื่อปรับปรุงทั้งด้านความรู้ และกระตุ้นให้ผู้ป่วยเบาหวานตระหนักเพื่อพัฒนาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพให้ดียิ่งขึ้นไป

References

1. IDF: IDF Diabetes Atlas, 6th edition, Brussels, Belgium: International Diabetes Federation. 2013.Available from: http://www.idf.org/diabetesatlas/update-2014.

2. World Health organization. Diabetes Programme; 2008 [Cited in March 17, 2551] Available from: http//www.WHO.int/diabetes/facts/world_fgures/en/.

3. คณะกรรมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพสาขาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เขตบริการสุขภาพที่ 8. แผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สาขาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. 2558.

4. Norris SC, Lau J, Smita SJ, Schmid CH, Engelgau MM. Self-management education for adults with type 2 diabetes: a metaanalysis of the effect on glycemic control. Diabetes Care 2002;25(7):1159-1171.

5. Gary T, Genkinger J, Guallar E, Peyrot M, Brancati F. Meta-analysis of randomized educational and behavioral interventions in type 2 diabetes. The Diabetes Educator 2003;29(3):488-501.

6. Steed L, Cooke D, Newman S. A systemic review of psychosocial outcomes following education, self-management and psychological interventions in diabetes mellitus. Patient Education and Counseling 2003;51(1):5-15.

7. Deakin T, McShane CE, Cade JE, Williams RD. Group based training for self management strategies in people with type 2 diabetes mellitus. CochraneDatabaseofSystematicReviews 2005; 2: CD003417.

8. เพ็ญพักตร์ โคจำนงค์. การใช้กระบวนการกลุ่มเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลนาแก จังหวัดนครพนม. [การศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2552.

9. Best, J. W. Research in Education. 3rd Ed. New Jersey: Prentice-Hall;1978.

10. นิชาภัทร สุนารักษ์. ความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนในศูนย์สุขภาพชุมชนโพนสูงเหนือ ตำบลโพนสูง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี. [การศึกษาค้นคว้าอิสระทางสาธารณสุข ส.บ.] มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม;2549.
11. สุมาลี แสงมนตรี. ความรู้และพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานในศูนย์สุขภาพชุมชุนบ้านโนนอุดม ตำบลน้ำคำ อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี. [การค้นคว้าอิสระทางสาธารณสุข ส.บ.] มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2549.

12. Al-Maskari F, El-Sadig M, Al-Kaabi JM, Afandi B, Nagelkerke N, Yeatts KB. Knowledge attitude and practices of diabetic patients in the United Arab Emirates. PLoS One 2013;8(1):e52857.

13. AnjuGautam, Dharma NandBhatta, Umesh Raj Aryal. Diabetes related health knowledge, attitude and practice among diabetic patients in Nepal. BMC Endocrine Disorders 2015;15(25).

14. X. He, H.J. Wharrad. Diabetes knowledge and glycemic control among Chinese people with type 2 diabetes. International Nursing Review 2007;54(3):280-287.

15. J. Speight, C. Bradley. The ADKnowl: identifying knowledge defcits in diabetes care. Diabetic Medicine 2001;18(8):626-633.

16. Gregory Joseph Ryan A. Ardena, Elizabeth Paz-Pacheco, Cecilia A. Jimeno, Frances LinaLantion-Ang, Elizabeth Paterno, Noel Juban. Knowledge, attitudes and practices of persons with type 2 diabetes in a rural community: Phase I of the communitybased Diabetes Self-Management Education (DSME) Program in San Juan, Batangas, Philippines. Diabetes Research and Clinical Practice 2010;90(2):160-166.

17. G. H. Murata, J. H. Shah, K. D. Adam, C. S. Wendel, S. U. Bokhari, P. A. Solvas, et al. Factors affecting diabetes knowledge in Type 2 diabetic veterans. Diabetologia 2003;16(8):1170-1178.

18. Mary K. Rhee, Curtiss B. Cook, Imad El-Kebbi, Robert H. Lyles, Virginia G. Dunbar, Rita M. Panayioto, et at. Barriers to Diabetes Education in Urban Patients Perceptions, Patterns, and Associated Factors. TheDiabetes Educator 2005;31(3):410-417.

19. K. Hawthorne, S. Tomlinson. Pakistani moslems with Type 2 diabetes mellitus: effect of sex, literacy skills, known diabetic complications and place of care on diabetic knowledge, reported self-monitoring management and glycaemic control. Diabetic Medicine 1999;16(7): 591-597.

20. น้ำเย็น ดาศรี. ความรู้และการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลโสมเยี่ยม อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี. [การศึกษาค้นคว้าอิสระทางสาธารณสุข ส.บ.]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-02-07