การรับรู้ความสามารถของตนเอง พฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักและผลการควบคุมน้ำหนัก กรณีศึกษา : โครงการลดน้ำหนัก ในบุคลากรโรงพยาบาลหนองคาย ปีงบประมาณ 2558
คำสำคัญ:
การรับรู้ความสามารถของตนเอง, พฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นกาวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาการรับรู้ความสามารถของตนเอง พฤติกรรมการควบคุมน้ำหนัก และผลการควบคุมน้ำหนัก ของบุคลากรโรงพยาบาลหนองคาย ภายหลังการเข้าร่วมโครงการลดน้ำหนัก 10 เดือน กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรที่มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) = 23.0-24.9) คัดเลือกด้วยวิธีสมัครใจ (Volunteer non - random method) โดยความตั้งใจและสมัครใจของกลุ่มตัวอย่าง ใช้แบบสอบถาม แบ่งเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ส่วนที่ 2 การรับรู้ความสามารถของตนเองเกี่ยวกับการควบคุมน้ำหนัก แยกเป็น 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านความสำเร็จในการกระทำ ด้านการได้เห็นประสบการณ์จากผู้อื่น ด้านการชักจูงด้วยคำพูด และด้านการกระตุ้นเร้าทางอารมณ์ ส่วนที่ 3 พฤติกรรมการควบคุมน้ำหนัก แยกเป็น 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านบริโภคนิสัย ด้านการออกกำลังกาย และด้านการปฏิบัติกิจกรรมทางกาย ส่วนที่ 4 ผลการควบคุมน้ำหนัก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การประมาณค่าคะแนนเฉลี่ยของประชากร ที่ความเชื่อมั่น 95% (95% Confidence Interval) หาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถของตนเอง กับพฤติกรรมการควบคุมน้าหนัก โดยใช้สถิติ Pearson’s correlation และเปรียบเทียบน้ำหนักก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ 3 เดือน และ10 เดือน โดยใช้สถิติ T-test คำนวณบนโปรแกรม SPSS
ผลการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ให้ข้อมูลครบถ้วน มี 47 คน ส่วนใหญ่มีการรับรู้ความสามารถของตนเองเกี่ยวกับการควบคุมน้ำหนัก คาดหวังความสามารถไว้อยู่ในระดับค่อนข้างสูง แต่มีพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนัก อยู่ในระดับปานกลาง แสดงว่า มีพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักไม่สม่ำเสมอ ทั้งด้านการบริโภคอาหาร ด้านการออกกำลังกาย และด้านการปฏิบัติกิจกรรมทางกาย อย่างไรก็ตามการรับรู้ความสามารถของตนเองเกี่ยวกับการลดน้ำหนัก มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนัก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p-value < 0.01 โดยมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Pearson’s correlation) เท่ากับ 0.466 ผลการเปรียบเทียบน้ำหนักก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ 3 เดือน พบว่าลดลงโดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p-value < 0.01 เช่นเดียวกับการเปรียบเทียบน้ำหนักก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ 10 เดือน ส่วนการเปรียบเทียบน้ำหนักหลังเข้าร่วมโครงการ 3 เดือนและ 10 เดือนนั้น ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ
สรุป บุคลากรโรงพยาบาลหนองคายที่เข้าร่วมโครงการลดน้ำหนัก ปีงบประมาณ 2558 ส่วนใหญ่ที่ลดน้ำหนักได้หลังจากครบ 3 เดือน สามารถควบคุมน้ำหนักไม่ให้กลับไปมีน้ำหนักเกินอีก (BMI <23.0) ดังนั้น รูปแบบกิจกรรมที่ได้ออกแบบสำหรับกลุ่มน้ำหนักเกินในครั้งนี้ ถือว่ามีความเหมาะสมในระดับหนึ่ง สามารถนำไปใช้ได้ในกลุ่มนี้ต่อไป หรืออาจนำไปออกแบบพัฒนารูปแบบกิจกรรมเพิ่มเติม เพื่อให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น
References
2. สง่า ดามาพงษ์. ก้าวสู่องค์กรไร้พุง. กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข:องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2551.
3. ขวัญจิต อินเหยี่ยว. การรับรู้ความสามารถของตนเองและพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักของนักศึกษาอาชีวศึกษาจังหวัดเชียงใหม่.[วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพ]. เชียงใหม่:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2542.
4. สมศรี คามากิ. ปิยะฉัตร ปาลานุสรณ์. กระบวนการสุขศึกษาที่มีผลต่อการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข:ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2550.
5. พรฤดี นิธิรัตน์. คู่มือสำหรับการทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อการป้องกันโรคเรื้อรัง. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี; 2557.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารไปเผยแพร่ทางการค้าก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร