การศึกษาความคลาดเคลื่อนทางยาในงานบริการเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลเลย

ผู้แต่ง

  • สุภาพร สนองเดช กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลเลย

คำสำคัญ:

ความคลาดเคลื่อนทางยา, ผู้ป่วยนอก, โรงพยาบาลเลย

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (descriptive study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเกิดความคลาดเคลื่อนทางยาในงานบริการเภสัชกรรม ผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลเลย และระบุสาเหตุของความคลาดเคลื่อนดังกล่าว ระยะเวลาในการศึกษา 12 เดือน (ตุลาคม 2557 – กันยายน 2558) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบบันทึกความคลาดเคลื่อนทางยาและใบสั่งยา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้อัตราการเกิดความคลาดเคลื่อนทางยา ผลการศึกษา พบว่า 1) มีความคลาดเคลื่อนจากการสั่งใช้ยา (Prescription error) รวม 144 ครั้ง(0.6509 ครั้งต่อ 1,000 จำนวนใบสั่งยา) โดยมีความคลาดเคลื่อนจากการสั่งยาผิดวิธีใช้รวม 100 ครั้ง (0.4522 ครั้งต่อ 1,000 จำนวนใบสั่งยา) และสั่งยาผิดชนิดจำนวน 16 ครั้ง (0.0723 ครั้งต่อ 1,000 จำนวนใบสั่งยา) สั่งใช้ยาที่ผู้ป่วยแพ้รวม 7 ครั้ง (0.0317 ครั้งต่อ 1,000 จำนวนใบสั่งยา) ซึ่งความคลาดเคลื่อนจากการสั่งใช้ยาเหล่านี้ยังไปไม่ถึงผู้ป่วย เพราะมีเภสัชกรเป็นผู้ตรวจสอบยา และพบความคลาดเคลื่อนก่อนจ่ายยา 2) ความคลาดเคลื่อนก่อนการจ่ายยา (Pre-dispensing error) พบ 3,193 ครั้ง (14.4421 ครั้งต่อ 1,000 จำนวนใบสั่งยา) ซึ่งเป็นความคลาดเคลื่อนที่ยังไปไม่ถึงผู้ป่วย ในจำนวนนี้ พบว่า 3 อันดับแรกคือ จัดยาผิดชนิด 1,312 ครั้ง (5.9325 ครั้งต่อ 1,000 จำนวนใบสั่งยา) จัดยาผิดจำนวน 497 ครั้ง (2.2473 ครั้งต่อ 1,000 จำนวนใบสั่งยา) จัดยาไม่ครบรายการ 305 ครั้ง (1.3791 ครั้งต่อ1,000 จำนวนใบสั่งยา) 3) ความคลาดเคลื่อนจากการจ่ายยา (Dispensing error) แบ่งเป็น 3.1) ความคลาดเคลื่อนที่ไปถึงผู้ป่วยแล้ว แต่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วย เป็นความรุนแรงระดับ C มีทั้งหมดรวม 57 ครั้ง (0.2577 ครั้งต่อ 1,000 จำนวนใบสั่งยา) ในจำนวนนี้มี 3 อันดับแรกคือ การจ่ายยาไม่ครบตามรายการที่แพทย์สั่ง 15 ครั้ง (0.0678 ครั้งต่อ 1,000 จำนวนใบสั่งยา) จ่ายยาผิดคน 10 ครั้ง (0.0452 ครั้งต่อ 1,000 จำนวนใบสั่งยา) จ่ายยาผิดจำนวน 7 ครั้ง (0.0317 ครั้งต่อ 1,000 จำนวนใบสั่งยา) 3.2) ความคลาดเคลื่อนจากการจ่ายยาที่มีความรุนแรงระดับ D มีความคลาดเคลื่อนเกิดขึ้นแต่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วย แต่ก็ยังจำเป็นต้องมีการติดตามผู้ป่วยเพิ่มเติม รวม 9 ครั้ง คิดเป็น 0.0406 ครั้งต่อ 1,000 จำนวนใบสั่งยาโดยมีการจ่ายยาผิดชนิดรวม 6 ครั้ง (0.0271 ครั้งต่อ 1,000 จำนวนใบสั่งยา), จ่ายยาผิดวิธีใช้ 2 ครั้ง (0.009 ครั้งต่อ 1,000ใบสั่งยา), จ่ายยาไม่ครบตามรายการที่แพทย์สั่ง 1 ครั้ง (0.0045 ครั้ง ต่อ1000ใบสั่งยา) 3.3) ความคลาดเคลื่อนระดับ E ซึ่งเป็นความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นและเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยเพียงชั่วคราว รวมถึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาหรือแก้ไขเพิ่มเติมรวม 2 ครั้งคือ การจ่ายยาผิดชนิด (0.009 ครั้งต่อ 1,000 จำนวนใบสั่งยา)

ความคลาดเคลื่อนทางยาในขั้นตอนต่างๆ เมื่อวิเคราะห์หาสาเหตุ (Root cause analysis) ในกระบวนการที่เกิดภายในหน่วยจ่ายยาคือ ความคลาดเคลื่อนก่อนการจ่ายยา (Pre-dispensing error) และความคลาดเคลื่อนจากการจ่ายยา (Dispensing error) มีสาเหตุจากภาระงานมากเกินไป ขาดความรอบคอบในการทำงานขาดประสบการณ์ในการทำงาน นอกจากนี้ยังมีสาเหตุมาจากความพ้องของชื่อยาและความคล้ายคลึงกันของรูปแบบยา (Look a like sound a like)

จะเห็นว่าในกลุ่มงานเภสัชกรรมโรงพยาบาลเลย จังหวัดเลย ยังมีความคลาดเคลื่อนทางยาตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนถึงรุนแรง ซึ่งมีสาเหตุจากปัจจัยภายใน ได้แก่ภาระงาน ประสบการณ์การทำงานของบุคลากร และปัจจัยภายนอก ได้แก่ ความพ้องของชื่อยาและความคล้ายคลึงกันของรูปแบบยา อันจะนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขเพื่อพัฒนาและประกันคุณภาพต่อไป

References

1. Michelle M. and Thoma, Pharm., ASHP Statement on the Phamacist’ s Role in medication Reconciliation. Medication Therapy and Patient Care Specifc Areas- statement 2012. 10:303-305.

2. Bond CA, Raehl CL and Frank T. Medication errors in United States hospitals. Phamacotherapy 2001;21(9): 1023-36.

3. จิตติ โฆษิตชัยวัฒน์, มนทิพย์ รัชจวิจิน, อัญชลี บำรุงวงศ์พัฒน์, อัญชลี บริบุรณ์เวช. การศึกษา เชิงระบบของความคลาดเคลื่อนทางยาในโรงพยาบาลพระปกเกล้า. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2548; 22 (1): 5-19.

4. ธิดา นิงสานนท์, มังกร ประพันธ์วัฒนะ, นนทรัตน์ ถาวรเจริญทรัพย์. ผลกระทบของความคลาดเคลื่อนทางยาต่อระบบการดูแลสุขภาพ. ใน: ธิดา นิงสานนท์, สุวัฒนา จุฬาวัฒนทล, ปรีชา นนทกานติกุล, บรรณาธิการ.การป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:บริษัทประชาชน;2548.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-02-26