แนวโน้มของโรคมะเร็งเต้านมในโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานีระหว่าง ปี พ.ศ. 2554 – 2556

ผู้แต่ง

  • ชุตินธร จังสถิตย์กุล กลุ่มงานพยาธิวิทยากายวิภาค โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

มะเร็ง, เต้านม, แนวโน้ม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวโน้มของโรคมะเร็งเต้านมในโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังจากผลการตรวจทางพยาธิวิทยา ภายในโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานีเป็นเวลา 3 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2554-2556 โดยเป็นชิ้นเนื้อศัลยกรรมเต้านมจากผู้ป่วยโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี ทั้งจากการทำ core needle biopsy, incisional biopsy, excisional biopsy, lumpectomy และ mastectomy

ผลการศึกษา จากชิ้นเนื้อศัลยกรรมที่ส่งมาตรวจทั้งหมด 31,021 ราย เป็นชิ้นเนื้อจากเต้านม 2,095 ราย ในจำนวนนี้พบว่าเป็นมะเร็งเต้านม 784 ราย คิดเป็นร้อยละ 37.42 ของชิ้นเนื้อจากเต้านม (ร้อยละ 2.53 ของชิ้นเนื้อศัลยกรรม) เมื่อคัดแยกเป็นรายปี ระหว่างปี พ.ศ.2554 ถึงปี พ.ศ.2556 พบมะเร็งเต้านม 233, 264 และ 287 ราย คิดเป็นร้อยละ 33.82, 37.98 และ 40.36 ของชิ้นเนื้อจากเต้านม (ร้อยละ 2.39, 2.48 และ 2.70 ของชิ้นเนื้อศัลยกรรม) ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่า ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมทั้งหมดจำนวน 784 ราย ส่วนใหญ่เป็นชนิด Invasive ductal carcinoma (ร้อยละ 93.49)

สรุป โรคมะเร็งเต้านมในโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น และอาจเป็นปัญหาสาธารณสุขในอนาคต เนื่องจากต้องใช้งบประมาณในการรักษาคนไข้มะเร็งเต้านมต่อรายเป็นเงินจำนวนมาก ดังนั้นควรมีการรณรงค์ ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม ตลอดจนส่งเสริมให้มีการตรวจเต้านมด้วยตนเอง โดยร่วมมือกันในทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชน ให้คนไทยทุกคนได้เข้าถึงข้อมูล เนื่องจากมะเร็งเต้านม หากพบในระยะแรกๆ มีโอกาสหายและกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีได้

References

1. Stewart B.W., Wild C.P. World Cancer Report 2014. Lyon: International Agency for Research on Cancer; 2014.

2. World Health Organization.Key facts about Cancers.[เข้าถึงเมื่อ 5 มิถุนายน 2559] เข้าถึงได้จาก http://www.who.int/entity/mediacentre/factsheets/fs297/en/index.html

3. สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล พ.ศ.2552. กรุงเทพฯ: รำไทยเพรส; 2553.

4. สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล พ.ศ.2554. กรุงเทพฯ: ยูเนียนอุลตร้าไวโอเร็ต; 2555.

5. สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล พ.ศ.2555. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ตะวันออก; 2557.

6. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2558.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2558.

7. สุณี เชี่ยวชาญไพรศรี. พยาธิสภาพของโรคเต้านมในโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรีปี พ.ศ.2547-2549. พุทธชินราชเวชสาร 2550;24:60-5.

8. ดรุณี บุญยืนเวทวัฒน์. ตำราวินิจฉัยโรคเต้านม. กรุงเทพฯ:Focal image printing group; 2554

9. สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. แนวทางการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งเต้านม.กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2550.

10. หะสัน มูหาหมัด. รู้จักมะเร็งเต้านม.[internet]. [เข้าถึงเมื่อ 5 มิถุนายน 2559] เข้าถึงได้จาก http://www.thaibreastcancer.com/ca-133/#more-1609

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-02-27