การเปรียบเทียบผลการควบคุมอุณหภูมิห้องผ่าตัดต่อการเกิดภาวะหนาวสั่นหลังผ่าตัดในมารดาที่ได้รับการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง และได้รับการระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง โรงพยาบาลอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • รุ่งทิวา ศิริวงศ์กุล โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

ภาวะหนาวสั่น, การผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง, อุณหภูมิห้องผ่าตัด, การระงับความรู้สึกวิธีฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง

บทคัดย่อ

ภาวะหนาวสั่นเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในมารดาที่ผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องและได้รับการระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะหนาวสั่น ได้แก่ ปริมาณสารน้ำที่ได้ปริมาณเลือดที่สูญเสียขณะผ่าตัด ระยะเวลาการผ่าตัด และอุณหภูมิห้องผ่าตัด อัตราการเกิดภาวะหนาวสั่นในโรงพยาบาลอุดรธานี พบร้อยละ 33 ส่วนใหญ่เกิดในระยะหลังผ่าตัดร้อยละ 73

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลจากการควบคุมอุณหภูมิห้องผ่าตัด โดยการปรับอุณหภูมิห้องในช่วงเสร็จผ่าตัด 3 วิธี ได้แก่ การเปิดเครื่องปรับอากาศต่อ, การปิด และ การเปลี่ยนวิธี (Mode) เครื่องปรับอากาศจาก Cool เป็น Fan เพื่อให้ได้แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในการลดอัตราการเกิดภาวะหนาวสั่นหลังผ่าตัด

ระเบียบวิธีวิจัย การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ทำการเก็บข้อมูล 1 มิถุนายน – 1 สิงหาคม 2558 กลุ่มตัวอย่างคือมารดาที่มาผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องและได้รับการระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลังจำนวน 133 ราย มารดาทุกรายได้รับการดูแลตั้งแต่เตรียมผ่าตัด จนเสร็จสิ้นการผ่าตัดตามแนวทางปฏิบัติเดียวกันทุกราย เมื่อเสร็จผ่าตัดจึงทำการควบคุมอุณหภูมิห้องด้วยเครื่องปรับอากาศตามกำหนด โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มโดยวิธีสุ่มตัวอย่าง 1) กลุ่มเปิดเครื่องปรับอากาศต่อ (อุณหภูมิห้อง 20 – 24°C) 2) กลุ่มปิดเครื่องปรับอากาศ (อุณหภูมิห้อง 24 – 28°C) และกลุ่ม 3) กลุ่มเปลี่ยนวิธี(Mode) จาก Cool เป็น Fan (อุณหภูมิห้อง 22 – 26°C) เป็นเวลาหลังการผ่าตัด 10 นาที (นับตั้งแต่ปิดผิวหนังจนถึงย้ายมารดาออกจากห้องผ่าตัด) สังเกตอาการหนาวสั่นที่เกิดตาม shivering scale ได้แก่ shivering grade 3 และ grade 4 ใช้สถิติพรรณนาด้วยค่าเฉลี่ยร้อยละ และเปรียบเทียบการเกิดภาวะหนาวสั่น 3 กลุ่ม ด้วยสถิติวิเคราะห์ Chi-square test บนโปรแกรม SPSS

ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างจำนวน 133 ราย แบ่งเป็นกลุ่มเปิดเครื่องปรับอากาศต่อ 43 ราย เกิดภาวะหนาวสั่นร้อยละ 32.6 กลุ่มปิดเครื่องปรับอากาศจำนวน 44 ราย เกิดภาวะหนาวสั่นร้อยละ 4.5 และกลุ่มเปลี่ยน Mode เครื่องปรับอากาศ จาก Cool เป็น Fan จำนวน 46 ราย เกิดภาวะหนาวสั่น ร้อยละ 10.9 เมื่อเปรียบเทียบ 3 กลุ่ม พบว่า การควบคุมอุณหภูมิห้องเมื่อเสร็จผ่าตัด ทั้ง 3 วิธีกับภาวะหนาวสั่นมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p = 0.001

สรุป การปิดหรือการเปลี่ยนวิธี (Mode) เครื่องปรับอากาศ สามารถช่วยป้องกันการเกิดภาวะหนาวสั่นในมารดาที่ได้รับการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง

References

1. Sessler, D.I. Complicationand treatment of mild hypothemia. Anesthesiologist 2001;59(2):534-543

2. พนารักษ์ จำปา. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิคในการป้องกันภาวะการหนาวสั่นในผู้ป่วยหลังผ่าตัดในโรงพยาบาลลำปาง [การค้นคว้าแบบอิสระ]. เชียงใหม่:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;2548.

3. Buggy, D.J, Crosly A.W. Thermoregulation and mild perioperative hypothermia and postanesthetic shivering. Br J Anesth 2000;84(5):615-628.

4. ทัศนีย์ ศิริพานิช, เอื้อมพร สุ่มมาตย์, สมหมาย คชนาม. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะหนาวสั่นภายหลังการใช้ยาระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลังในผู้ป่วยที่เข้ามารับการผ่าตัดในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด. วิสัญญีสาร 2554;37(4):219-229.

5. การุณพันธ์ สุรพงศ์. ภาวะแทรกซ้อนทางวิสัญญีวิทยา.ใน: ปวีณา บุญบูรพงษ์, อรนุช เกี่ยวข้อง, เทวารักษ์ วีระวัฒนานนท์, บรรณาธิการ, วิสัญญีวิทยาขั้นต้น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550. หน้า 222-223.

6. ภูริพงศ์ ทรงอาจ. การดูแลผู้ป่วยหลังการให้ยาระงับความรู้สึกในห้องพักฟื้น. ใน: อังกาบ ประการัตน์, วิมลลักษณ์ สนั่นศิลป์, ศิริลักษณ์ สุขสมปอง,ปฏิภาณ ตุ่มทอง, บรรณาธิการ. ตำราวิสัญญี. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ:เอ-พลัสพริ้น;2556. หน้า 777.

7. ศิริพร ปิติมานะอารี. การประเมินและเตรียมผู้ป่วยก่อนผ่าตัด. ใน: อังกาบ ประการัตน์, วิมลลักษณ์ สนั่นศิลป์, ศิริลักษณ์ สุขสมปอง, ปฏิภาณ ตุ่มทอง, บรรณาธิการ. ตำราวิสัญญี. พิมพ์ครั้งที่ 4.กรุงเทพฯ:เอ-พลัสพริ้น;2556. หน้า 139.

8. นุชสโรช เพ็ชญไพศิษฏ์. การบริหารยาระงับความรู้สึกสำหรับผู้ป่วยสูติกรรม. ใน: อังกาบประการัตน์, วิมลลักษณ์ สนั่นศิลป์, ศิริลักษณ์ สุขสมปอง, ปฏิภาณ ตุ่มทอง, บรรณาธิการ. ตำาราวิสัญญี.พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ:เอ-พลัสพริ้น;2550. หน้า 516.

9. ชนม์รัตน์ กาญธนะบัตร. การใช้ Ondansetron ในการป้องกันภาวะหนาวสั่นในผู้ป่วยที่มาผ่าตัดคลอดที่ได้รับการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง. วารสารโรงพยาบาลนครพนม 2556;3:19-22.

10. เบญจมาศ ปรีชาคุณ, เบญจวรรณ ธีระเทิดตระกูล. “การพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่ได้รับยาระงับความรู้สึก” การพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้น. กรุงเทพฯ:พี.เอ.ลิฟวิ่ง; 2546.

11. สมศรี เผ่าสวัสดิ์, ศิริวรรณ อัมพรภักดิ์. ตำราฟื้นฟูวิชาการวิสัญญีวิทยา. กรุงเทพฯ:พี.เอ.ลิฟวิ่ง;2546. หน้า 268-280.

12. สุวรรณี ทาอ่อน. ผลจากการเช็ดตัวลดไข้ด้วยน้ำเย็นและน้ำธรรมดากับการใช้พัดลมในผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะที่มีไข้สูง. [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตพยาบาลศูนย์การพยาบาลอายุรศาสตร์และศัลยศาสตร์] เชียงใหม่:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;2539.

13. Shaky AB, Chaturvedi A, Sah B.P. Prophylaetic low dose ketamine and ondansetron for prevention of shivering during spinal anesthesia. J anesth Clin Pharmacol 2010;26(4):264-269.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-02-27