บรรยากาศองค์กรที่มีผลต่อสมรรถนะหลักของบุคลากรของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ระนอง เกตุดาว สาธารณสุขสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี

คำสำคัญ:

บุคลากร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี, บรรยากาศองค์กร, สมรรถนะหลัก

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Descriptive Study) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบรรยากาศองค์กรที่มีผลต่อสมรรถนะหลักของบุคลากรทั้ง 5 ด้านของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ บุคลากรที่เป็นข้าราชการพลเรือนในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี จำนวน 147 คน เก็บรวบรวมข้อมูลในช่วง เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2559 โดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 90 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของแบบสอบถามโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติอนุมานหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง 90 คน พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ77.8) มีอายุระหว่าง 41 -50 ปี (ร้อยละ36.7) มีอายุเฉลี่ย 45.63 ปี (S.D. 8.40 ปี) ส่วนใหญ่สถานภาพสมรส ร้อยละ 75.6 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 65.6)

บรรยากาศองค์กรและสมรรถนะหลักภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.74 (S.D.0.47) และ 4.16 (S.D.0.32) ตามลำดับ ภาพรวมบรรยากาศองค์กรมีความสัมพันธ์ระดับปานกลางทางบวกกับสมรรถนะหลักของบุคลากรของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.527, p-value <0.001) บรรยากาศองค์กร มิติความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (p-value < 0.001) และ บรรยากาศองค์กร มิติความรับผิดชอบ (p-value = 0.005) สามารถพยากรณ์สมรรถนะหลักของบุคลากรของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานีได้ร้อยละ 41.4

References

1. กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข). นนทบุรี: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข; 2559.

2. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี. แผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคล ปี 2559. อุดรธานี: กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรบุคคล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี; 2559.

3. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี. แผนปฏิบัติงาน/โครงการปี 2559 กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรบุคคล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี. อุดรธานี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี; 2559.

4. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. คู่มือการกำหนดสมรรถนะในราชการพลเรือนคู่มือสมรรถนะทางการบริหาร. นนทบุรี: โรงพิมพ์ประชุมช่าง; 2553.

5. Litwin GH, Stringer, RA. Motivation and organization climate. Boston: Division of Research, Graduate School of Business Adminstration, Havard University; 1968.

6. บุรัสกร เตจ๊ะมา, สุคนธา คงศีล, สมชาติโตรักษา, กิติพงษ์ หาญเจริญ. ปัจจัยที่มีผลต่ออิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์อินเตอร์เนชั่นเนล. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ 2555; 42(2): 82-91.

7. พรพรรณ สุนทรสุต, ประจักร บัวผัน. บรรยากาศองค์การและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัย มข. 2554; 16(5): 551-62.

8. สายชล แสงแดงชาติ, ภูษิตา อินทรประสงค์, พิทยา ไพบูลย์ศิริ, จรรยา ภัทรอาชาชัย.ทักษะการบริหารและบรรยากาศองค์การต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขตตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขที่ 3. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ [ออนไลน์] 2555 [อ้างเมื่อ 20 พฤษภาคม 2559].เข้าถึงได้จาก:http://ns2.ph.mahidol.ac.th/phklb/knowledgefles/89_Saichol.pdf

9. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี. ข้อมูลพื้นฐานสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี [ออนไลน์]2559[เข้าถึงเมื่อ 1 มีนาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก:http://www.udo.moph.go.th/wasabi3/Home.php

10. Cohen J. Statistical power analysis for the behavioral sciences.2nded. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates; 1988.

11. อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3.ขอนแก่น: ภาควิชาชีวสถิติและประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.

12. สำเริง จันทรสุวรรณ, สุวรรณ บัวทวน. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. ขอนแก่น: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2547.

13. Elifson KW. Fundamentals of socials statistics. 2nded. New York: McGraw–Hill; 1990.

14. Singsena M, Bouphan P. Factors effecting to the conflict management of sub-district health promoting hospital in NongKhai Province. KKU Res J (GS) 2012; 12(4): 101-89.

15. พิโชติ บำรุงไทย. บรรยากาศองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานงานบริการการแพทย์แผนไทยของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในศูนย์สุขภาพชุมชน จังหวัดชัยภูมิ [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร มหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2554.

16. ประเสริฐ สุภภูมิ. บรรยากาศองค์การที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดอุดรธานี [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข].ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557.

17. ชัท เมืองโคตร, ชัยยง ขามรัตน์. ปัจจัยด้านบรรยากาศองค์กรที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากร สาธารณสุขศูนย์สุขภาพชุมชนในจังหวัดขอนแก่น. วารสารสาธารณสุขขอนแก่น 2550; 19(219): 34-6.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-02-27