ผลการควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อโรคไตเรื้อรังของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลหนองหานผลการควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อโรคไตเรื้อรังของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลหนองหาน
คำสำคัญ:
การควบคุมปัจจัยเสี่ยง, ผู้ป่วยเบาหวาน, โรคไตเรื้อรังบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง ประเมินก่อน-หลัง เปรียบเทียบจากผลการคำนวณค่าประมาณการอัตราการกรองไต (Estimated glomerular filtration rate; eGFR) โดยใช้สูตร CKD-EPI (Chronic Kidney Disease Epidemiology Collaboration) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะไตวายเรื้อรังของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ประชากรเป็นผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกเฉพาะโรคเบาหวานของโรงพยาบาลหนองหานตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2557 ถึง 30 กันยายน 2558 ทั้งหมด 189 คน ศึกษากลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน 2559 เครื่องมือที่ใช้โดยเก็บข้อมูลผลตรวจจากเวชระเบียนผู้ป่วย แบบสอบถามลักษณะประชากร แบบประเมินเรื่องการปฏิบัติตนในการควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อไต มีค่าเชื่อมั่น= 0.85 จำนวน 20 ข้อ ประกอบด้วย การรับประทานอาหาร การรับประทานยา การออกกำลังกาย อารมณ์ และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อโปรแกรมการควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อไตเรื้อรัง จำนวน 12 ข้อ มีค่าเชื่อมั่น= 0.90
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 56.7 อายุมากกว่า 40 ปี ร้อยละ 99.7 ระยะเวลาเป็นเบาหวาน ต่ำกว่า 10 ปี ร้อยละ 67.7 ผลการทำงานของไตด้วยการประเมินค่า eGFR ที่ 60 ml/min มีผลการรักษาดีที่ eGFR≥60 ml/min ร้อยละ 93.3 และผลการรักษาไม่ดีที่ eGFR<60 ml/min ร้อยละ 6.7 คะแนนการปฏิบัติตนเองในการควบคุมปัจจัยเสี่ยงถูกต้องโดยรวมร้อยละ 88.4 โดยมีการจัดการอารมณ์ ร้อยละ 99.7 มีการออกกำลังกาย ร้อยละ 96.7 ไม่รับประทานยาที่มีผลเสียต่อไต ร้อยละ 94.4 และรับประทานอาหารถูกตามหลักโภชนาการ ร้อยละ 84.2 ตามลำดับ โดยรวมมีความพึงพอใจหลังปฏิบัติตนตามโปรแกรมควบคุมปัจจัยเสี่ยงโรคไตเมื่อครบ 8 เดือน ร้อยละ 90 พึงพอใจมากที่สุดที่ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากเจ้าหน้าที่ ร้อยละ 100 มีเจ้าหน้าที่นำออกกำลังกาย สามารถปฏิบัติตามโปรแกรมสอดคล้องกับการดำเนินชีวิตได้รับคำแนะนำในการทำจิตใจให้สดชื่นแจ่มใสและพึงพอใจต่อผลการเปลี่ยนแปลงตนเองจากโปรแกรมควบคุมปัจจัยเสี่ยงโรคไต ร้อยละ 96.7 ผลการควบคุมปัจจัยเสี่ยงโรคไตเรื้อรังของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ก่อนและหลังปฏิบัติตนเองตามโปรแกรมเมื่อครบ 8 เดือน พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าเฉลี่ย eGFR หรือชะลอภาวะไตเสื่อม ได้แก่ โปรตีนในปัสสาวะ (microalbuminuria), ปริมาณน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (HbA1c), ระดับไขมันโดยรวม (Total Cholesterol), ปริมาณไขมันชนิดดี (HDL-cholesterol) และ ปริมาณไขมันชนิดไม่ดี (LDL-cholesterol)
สรุป โปรแกรมการปฏิบัติตนเองในการควบคุมปัจจัยเสี่ยงของโรงพยาบาลหนองหาน สามารถชะลอไตเสื่อมได้ และส่งผลทำให้ผู้รับบริการมีความพึงพอใจ
References
2. สุมาลี นิมมานิตย์.โรคเบาหวานกับไต. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล; 2555. Available from URL: https://www.si.mahidol.ac.th.
3. เกวลี อุตส่าห์การ, จารุกวี สอนคามี, จีรยุทธ ใจเขียนดี, ภูชิชย์ สุวราพัฒนาภรณ์, รุ่งกานต์ แสงศิริ และสมบัติ ภูนวกุล. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะ microalbuminuria ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารโรงพยาบาลพิจิตร; เมษายน – กันยายน, 27(2); 2555: 56-59.
4. Rossing K, Christensen PK, Hovind P, Tarnow L, Rossing P, Parving HH. Progression of nephropathy in type 2 diabetic patients. Department of Physiology, Steno Diabetes Center, Gentofte, Denmark. Kidney International 2004; 66(4): 1596–1605. Available from URL: https://www.ncbi.nlm.nih.gov.
5. Dasmahapatra A, Bale A, Raghuwanshi MP, Reddi A, Byrne W, Suarez S, et al. Incipient and overt diabetic nephropathy in African and Americans with NIDDM. American diabetes Association 1994; 17: 297-304. Available from URL: www. nature.com
6. พิสิษฐ์ เวชกามา อติพร อิงค์สาธิต อัมรินทร์ ทักขินเสถียร. การศึกษาทางระบาดวิทยาของโรคไตเรื้อรังในประเทศไทย. คณะแพทยศาสตร์,โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. ทุนสนับสนุนจากสานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2557:2-45.
7. ราม รังสินธุ์ และปิยทัศน์ ทัศนาวิวัฒน์. การประเมินผลการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร ประจำปี 2555. เครือข่ายวิจัยกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (MedResNet) และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2555: 3-4.
8. นีลนาถ เจ๊ยอ และอนุชิต วังทอง.ผลการปรับเปลี่ยนการใช้ยาของผู้ป่วยเบาหวานที่ถือศีลอดในเดือนรอมฏอน. สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย). วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล 2552; 19(1): 9-17. Available from URL: https://thaihp.org
9. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน. กรุงเทพมหา-นคร: อรุณการพิมพ์; 2557.
10. สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ สมเกียรติ โพธิสัตย์ จักรกริช โง้วศิริ. แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง. กรุงเทพฯ: สำนักงานบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2555:4.
11. คู่มือบริหารงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2554.การบริหารงบบริการควบคุมปัองกัน และรักษาโรคเรื้อรัง.นนทบุรี; 2554.
12. Dodhia SS, Vidja K, Bhabhor M, Kathrotia R, Vala N, Joshi V. Factors Affecting Progression of Nephropathy in Type 2 Diabetes Mellitus. Department of Physiology, Shri. M.P. Shah Medical College, Jamnagar (Gujarat).India: Department of Physiology, AIIMS, Rishikesh; 2554: 1-6.
13. Alwakeel JS, Isnani AC, Alsuwaida A, AlHarbi A, Shaikh SA, AlMohaya S, and Ghonaim M A. Factors affecting the progression of diabetic nephropathy. A single-center experience.Saudi Arabia. Ann Saudi Med. May-Jun 2011; 31(3): 236–242. Available from URL: https://www.ncbi.nlm.nih.gov.
14. สุเทพ จันทรเมธีกุล.ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. โรงพยาบาลมุกดาหาร. จังหวัดมุกดาหาร; 2554: 1-42. Available from URL: https://www.novapdf.com.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารไปเผยแพร่ทางการค้าก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร