ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำในผู้ป่วยสูงอายุที่มารับบริการทางวิสัญญีที่ได้รับยาระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลัง โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี ปี 2558

ผู้แต่ง

  • นันทนา สามา โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

ความดันโลหิตต่ำในผู้ป่วยสูงอายุ, ยาระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลัง, โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาแบบพรรณนาย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาคุณลักษณะทั่วไปและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำในผู้ป่วยสูงอายุที่มาใช้บริการวิสัญญีและได้รับยาระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลัง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่มารับบริการทางวิสัญญี โดยได้รับยาระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลังที่โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี ทำการคัดเลือกแบบเจาะจงจำนวน 216 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ แบบบันทึกการให้ยาระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลัง ประกอบด้วยข้อมูลด้าน เพศ อายุ โรคประจำตัว ระยะเวลาการผ่าตัด การให้สารน้ำก่อนการผ่าตัด (Pre-load) ปริมาณยาชา ชนิดการผ่าตัด สภาวะผู้ป่วย (ASA class) รวบรวมข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วย ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม – 31 กรกฎาคม 2558 จำนวน 216 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมานได้แก่ Chi-Square tests บนโปรแกรม SPSS

ผลการศึกษา ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 60.6 อายุระหว่าง 65-93 ปี (เฉลี่ย 72.30) ใช้เวลาในการผ่าตัด เฉลี่ย 55.17 นาที ให้สารน้ำก่อนการผ่าตัด เฉลี่ย 367.13 มล. โดย ร้อยละ 81.5 ได้รับในปริมาณ 300 – 500 มล. ปริมาณยาชาที่ใช้ เฉลี่ย (0.5% Marcaine) 2.423 มล. มีโรคประจำตัว (ความดันโลหิตสูง) ร้อยละ 38.4 สภาวะของโรค ASA class 2 ร้อยละ 52.8 ชนิดของการผ่าตัดเป็นผ่าตัดแต่งแผลร้อยละ 35.2 การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ พบว่า ผู้ป่วยเพศหญิง ระยะเวลาในการผ่าตัดที่มากกว่า 60 นาที ผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 80 ปี ชนิดการผ่าตัดเป็นการผ่าตัดไส้ติ่ง และผู้ป่วยในสภาวะ ASA class 3 เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำในผู้ป่วยสูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.000)

ข้อเสนอแนะ คือ ควรมีแนวทางหรือคู่มือ การสังเกตอาการ เฝ้าระวัง การดูแลช่วยเหลือ เมื่อเกิดภาวะความดันต่ำ โดยเฉพาะในกลุ่ม ผู้ป่วยที่เพศหญิงที่อายุมากกว่า 80 ปี ได้รับการผ่าตัดไส้ติ่ง หรือระยะเวลาผ่าตัดที่นานกว่า 60 นาทีและมี ASA class 3

References

1. ประเสริฐ อัสสันตชัย. ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและการป้องกัน. กรุงเทพฯ: ยูเนี่ยนครีเอชั่นจำกัด; 2554.

2. วิพุธ พูลเจริญ และคณะ. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์; 2549.

3. วิชัย อิทธิชัยกุลฑล, และคณะ. วิสัญญีวิทยา. กรุงเทพฯ: กรุงเทพเวชสาร; 2551

4. ไชยรัตน์ เพิ่มพิกุล และคณะ. Best Practices in Critical Care. กรุงเทพฯ: บียอนต์ เอ็น เทอร์ไพรซ์ จำกัด;

5. อังกาบ ปราการรัตน์, และคณะ. ตำราวิสัญญีวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: เอพลัสพริ้น; 2556

6. Deiner S, Sliverstein JH. Anesthesia for geriatric patients. Minerva Anesthesilogica 2011;77: 180-9

7. Rooke GA. Anesthesia for the older patient. In: Barash PG, Cullen BF, Stoelting RM, Cahalan MK, Stock MC, Ortega R, editors. Clinical anesthesia. 7th ed. Philadephia: Lippincott William & Wilkins; 2013.P.891-904.

8. Sheila Ryan Barnett Editor.Manual of Geriatric Anesthesia. Netherlands Prinforce;2013. P. 111-123.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-05