ประสิทธิผลของการใช้การจัดการแบบลีนต่อการบริหารจัดการวัสดุการแพทย์ น้ำเกลือ และน้ำยาฆ่าเชื้อของกลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • กรรณิการ์ ศุภกิจอนันต์คุณ โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

การจัดการแบบลีน, ประสิทธิผล

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้การจัดการแบบลีนต่อการบริหารจัดการวัสดุการแพทย์ น้ำเกลือและน้ำยาฆ่าเชื้อ ของกลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลอุดรธานี ผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นพยาบาลวิชาชีพ ที่มีหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินงานลีนในหอผู้ป่วยศัลยกรรม จำนวน 12 คน และแม่บ้านประจำหอผู้ป่วยศัลยกรรม จำนวน 12 คน โดยมีพื้นที่ศึกษา คือ หอผู้ป่วยศัลยกรรม โรงพยาบาลอุดรธานี 12 หอผู้ป่วย ทำการศึกษาโดยการประชุมทีมผู้วิจัยและทีมที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการพัฒนาตามกรอบแนวคิดของกระบวนการพัฒนาคุณภาพ Lean Management โดยมีระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกรกฎาคม 2559 ผลการวิจัยพบว่า

  1. หลังการพัฒนาลีน วัสดุคงคลังเกี่ยวกับวัสดุการแพทย์ลดลง 1450 รายการ (50.50%) น้ำเกลือลดลง 962 รายการ (50.45%) และน้ำยาฆ่าเชื้อลดลง 398 รายการ (58.27%)
  2. หลังการพัฒนาค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับวัสดุการแพทย์ลดลง 377,852 บาท (55.72%) น้ำเกลือลดลง355,734 บาท (57.21%) และน้ำยาฆ่าเชื้อลดลง 15,474 บาท (56.90%)
  3. จำนวนวัสดุคงคลังก่อนและหลังการพัฒนา พบว่าหลังการพัฒนามีจำนวนวัสดุคงคลังน้อยกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=3.110, p=.014)
  4. จำนวนค่าใช้จ่ายก่อนและหลังการพัฒนา พบว่าหลังการพัฒนามีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=2.494, p=.037)

ผลการศึกษาสะท้อนให้เห็นว่าการใช้แนวคิดการจัดการแบบลีนต่อการบริหารจัดการวัสดุการแพทย์น้ำาเกลือและน้ำยาฆ่าเชื้อ สามารถลดจำนวนวัสดุคงคลังและค่าใช้จ่ายของกลุ่มงานศัลยกรรม ดังนั้นจึงควรนำการจัดการแบบลีนไปใช้ในการลดค่าใช้จ่ายและปรับจำนวนคงคลังให้เหมาะสมในหน่วยงานอื่นต่อไป

References

1. สุเมธ พีรวุฒิ. การบริหารจัดการองค์กรเพื่อขจัดความสูญเปล่าในระบบงานโรงพยาบาล; Lean Management. 21 ธันวาคม 2553; ห้องประชุมชั้น 2 อาคารเรียนรวม คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัย เชียงใหม่. เชียงใหม่: ม.ป.ท.; 2553.

2. เพ็ญจันทร์ แสนประสาน. การบริหารจัดการบริการสุขภาพ. กรุงเทพฯ: สุขุมวิทวิชาการพิมพ์; 2552.

3. คนึงนิจ อนุโรจน์. การประยุกต์ใช้ LEAN ในงานบริการสุขภาพ. Royal Thai Air Force Medical Gazette2558; 61:19-21.

4. พัชรินทร์ ดำรงพิพัฒน์กุล, เสาวลักษณ์ ทวีนุช, เปมิกา เตียววิจิตรสกุล, แสงรุ้ง คุ้มคลองโยง. การพัฒนากระบวนการให้บริการผู้ป่วยนอก ฝ่ายเวชศาสตร์ฟื้นฟู [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล; 2557. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 1 มี.ค. 2559]. เข้าถึงได้จาก:http://www.gj.mahidol.ac.th/th/Proceeding/57/su/Rehabilitation%20Outpatient%20Process%20Re-design.pdf

5. กรณิภา คงยืน. ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการแบบลีนกับประสิทธิผลของระบบนัดหมายผู้รับบริการของแผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2557.

6. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย. ความเป็นเลิศในการปรับปรุงบริการด้วยแนวคิดลีน.Idol & Model for Quality 2553; 17:114-9.

7. วิทยา สุหฤทดำรง. มุ่งสู่ลีนด้วยการจัดการสารธารคุณค่า: Value Stream Management.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์ อี.ไอ.สแควร์พับลิสซิ่งจำกัด; 2552.

8. พฤทธิพงศ์ โพธิวราพรรณ. การประยุกต์ใช้การผลิตแบบลีนในอุตสาหกรรมแบบผสม (แบบต่อเนื่อง-แบบช่วง): กรณีศึกษาโรงงานผลิตเหล็กรูปพรรณ [วิทยานิพนธ์ปริญญา วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ; 2548.

9. ศิริพร ตั้งวิบูลย์พาณิชย์. การปรับปรุงการควบคุมวัสดุคงคลัง:กรณีศึกษาอุตสาหกรรมการผลิตคอยล์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ; 2548.

10. อติชา วัชรานุรักษ์. การประยุกต์ใช้ระบบลีนในกระบวนการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป กรณีศึกษา การผลิตเสื้อโปโลเชิ้ต [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี; 2552.

11. ศิรศักย เทพจิต. การประเมินการนำ Lean Six Sigma ไปใช้งานด้วยการสร้างแบบจำลองพลวัต ของระบบ กรณีศึกษา:โรงพยาบาล [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ; 2549.

12. Adam, M., et.al. Simulation as a tool for continuous process improvement. Proceedings of the 1999 Winter Simulation Conference; 1999; University of Alabama in Huntsville Huntsville, U.S.A; 1999. p. 766-73.

13. วิจิตร์ โทนศิริ. การปรับเปลี่ยนขั้นตอนการตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะด้วยระบบ iQ200 เพื่อลดระยะเวลารอคอยผลและลดค่าใช้จ่าย. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2557; 31.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-05