ความเครียดและความต้องการของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • ชลการ ทรงศรี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรธานี
  • ณรงค์ จันทร์แก้ว โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย

คำสำคัญ:

ความเครียด, โรคเรื้อรัง, ผู้ดูแล, ผู้ป่วยติดเตียง

บทคัดย่อ

การเจ็บป่วยเรื้อรังส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยและครอบครัวหลายประการเช่น เกิดภาวะแทรกซ้อน ความพิการ การสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษารวมทั้งการเสียชีวิตตามมา ซึ่งทำให้ครอบครัวเกิดความเครียดจากปัญหาดังกล่าวได้ การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียดและความต้องการการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยประเภท 3 (ผู้ป่วยติดเตียง) ในพื้นที่อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังจำนวน 107 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบประเมินความเครียดของกรมสุขภาพจิตและแบบประเมินความต้องการการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ซึ่งลักษณะข้อคำถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาพบว่าระดับความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรังส่วนใหญ่มีความเครียดในระดับน้อย 70 คน (ร้อยละ 65.42) รองลงมาระดับปานกลาง 25 คน (ร้อยละ 23.36) และระดับมาก 12 คน (ร้อยละ 11.21) ความต้องการของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในทุกด้านโดยรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X} = 3.64, S.D.= 0.80) เมื่อพิจารณาความต้องการรายด้าน พบว่ามีความต้องการข้อมูลในการดูแลผู้ป่วยในระดับที่มากที่สุด (gif.latex?\bar{X}=3.78, S.D.=0.67) รองลงมาคือความต้องการด้านการเสริมสร้างพลังทางจิตวิญญาณ (gif.latex?\bar{X}=3.72, S.D.= 0.68) ความต้องการด้านการเงิน (gif.latex?\bar{X}=3.54, S.D.=0.89) ความต้องการให้ทีมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหรือ องค์การบริหารส่วนตำบล ผู้นำชุมชนมาเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้าน (=3.53, S.D.=0.87) และความต้องการที่น้อยที่สุด คือความต้องการการพักผ่อน (gif.latex?\bar{X}= 3.09, S.D.=0.84)

สรุป ผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรังเป็นบุคคลที่ไม่ควรละเลย ควรได้รับการดูแลให้มีภาวะสุขภาพดีทั้งด้านร่างกายจิตใจ จิตสังคม และจิตวิญญาณ

References

1. ศูนย์พัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์แผนงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ.[อินเตอร์เน็ต].2561 [เข้าถึงเมื่อ 1 สิงาคม 256] เข้าถึงได้จาก http://k4ds.psu.ac.th/ncd/
2. Bentzen N, editor. WONCA dictionaryof general/family practice. Trondheim, Norway:WONCA International Classifcation Committee; 2003.
3. World Health Organization. Chronic diseases and their common risk factors. Geneva, Switzerland; World Heath Organization; 2005.
4. World Economic Forum. The Global Economic Burden of Non-communicable Diseases. Geneva, Switzerland; World Economic Forum; 2011.
5. Allison S, et al. Active carers: Living with chronic obstructive pulmonary disease. Int J Palliat Nurs: 2008; 14(8): 368-72.
6. Hafsteinsdottir T B, et al. Education needs of patients with stroke and their caregivers: A systematic review of the literature. Patient Ed Counsel: 2010; 12:1-10.
7. Younhmee K, & Ratche LS. Quality of life of family caregivers at 2 years after a relative’s cancer diagnosis. Psycho-Oncol: 2009; 19: 431-40
8. Jean-Philippe, R. Ranjit, N, & Christopher C. Caregiver burden among nocturnal home hemodialysis patients. Hemodialysis Int: 2012; 16(2): 214-9.
9. Berg, D. The hidden client’ women caring for husband with COPD: Their experience of quality of life. J Clin Nurs: 2002; 11(5): 613-21.
10. Smith CE, Piamjariyakul U, Yardrich D M, Ross V M, Gajewski B, William A R. Complex home care: Part3-Economic impact on family caregiver quality of life and patients’ clinical outcome. Nursing Economics: 2012; 28(6): 393-414.
11. Jung-Won L, & Zebrack B. Caring for family members with chronic physical illness: A critical review of caregiver literature. Health Qual life Outcome: 2012; 34: 147-56.
12. Shiouh-Chu S, Hengh-Sin T, & Shu-Yuan L. Social support as influencing primary family caregiver burden in Taiwanese patients with colorectal cancer. J Nurs Schol: 2012; 44(3), 223-31.
13. Nijboer C, Tepelaar R, Triemstra M, & Van den Bos, GA. (2001). The role of social and psychological resources in caregiving of cancer patients. Cancer: 2001; 91:1029-39.
14. Schoenmakers B, Buntinx F, & Delepeleire L. Factor determining the impact of care-giving on caregivers of elderly patients with dementia: A systematic literature review. Maturitas: 2010; 9: 191-200.
15. Larson J, et al. The impact of gender regarding psychological well-being and general life situation among spouses stroke patients during the frst year after the patients stroke events: A longitudinal study. Inter J Nurs Stud: 2008; 45(2): 257-65.
16. Hall, M. J. and Docherty, N.M. Parent coping styles and Schizophrenia patient behavior as predictor of expressed emotion. Family Process: 2000; 39: 435-444.
17. เวทินี สุขมาก, อุไรวรรณ โชครัตน์ หิรัญ, เอมหทัย ศรีจันทร์หล้า. ยุทธวิธีในการดูแลบุคคลที่มีปัญหาทางจิตของญาติ. ว.สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2544; 46(2): 107-117
18. สายใจ ก้าวอนันตคุณ.ความเข้มแข็งอดทนด้านจิตใจและการเผชิญปัญหาของผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วยโรคจิตจากสุรา. [วิทยานิพนธ์]. สงขลา:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2548.
19. Liu Wei-feng, Zhang Wei-min, Huang Run-quan Research on the coping style and its related factors in caregivers of patients with schizophrenia. Journal of Clinical Nursing: 2010; 18: 311-319.
20. อรุณี ชุนหบดี, ธิดารัตน์ สุภานันท์, โรชินี อุปรา, สุนทรีภรณ์ ทองไสย. ความเครียดและความต้องการของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน. ว.วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2556; 24(1): 1-9.
21. วัจนา ลีละ พัฒนะ, สายพิณ หัตถีรัตน์. เมื่อผู้ดูแลทำไม่ไหวแล้ว. [อินเตอร์เน็ต]. 2558. [เข้าถึงเมื่อ 10 พฤษภาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก http:// med.mahidol.ac.th/fammed/th/article/postgrad/article_4
22. สำนักส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต. แนวทางการใช้เครื่องมือด้นสุขภาพจิตสำหรับบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลชุมชน (คลินิกโรคเรื้อรัง): พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต; 2555.
23. สมจิต พรมจันทร์.และคณะ การพัฒนาระบบการดูแลคนพิการอย่างเป็นหุ้นส่วนทางด้านสุขภาพ. ว.เครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2558; 2(1): 37-51.
24. ฤทัย แสนสี. ความต้องการของผู้ดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน อำเภอบ้านธิจังหวัดลำพูน. [วิทยานิพนธ์]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2549.
25. ยศพล เหลืองโสมนภา, สาคร พร้อมเพราะ, สุกัญญา ขันวิเศษ. คุณภาพชีวิต ปัญหาและความต้องการของ ผู้พิการในเขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าช้าง จังหวัดจันทบุรี.ว.ศูนย์การศึกษาแพทย์ศาสตร์คลินิกโรงพยาบาลพระปกเกล้า 2554; 28(2): 98-109.
26. พรทิพย์ เกยุรานนท์. เอกสารการสอนชุดวิชาอนามัยครอบครัวในงานสาธารณสุข หน่วยที่ 1-7. นนทบุรี: นำกังการพิมพ์; 2552.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-30