ผลของการใช้รูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุ โรคเบาหวานชนิดที่ 2
คำสำคัญ:
รูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปาก, ผู้สูงอายุ, โรคเบาหวานชนิดที่ 2บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่อง ปาก ทัศนคติการดูแลสุขภาพช่องปาก พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากและดัชนีคราบจุลินทรีย์ของผู้สูงอายุ ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปาก กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับการรักษาในคลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลหันคา อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท โดยคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 60 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 30 ราย รูปแบบการ ดูแลสุขภาพช่องปากที่พัฒนาขึ้นซึ่งประกอบด้วยการให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวานและสุขภาพช่องปาก โรคฟัน ผุและโรคปริทันต์ การดูแลสุขภาพช่องปาก การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม การสาธิต การฝึกปฏิบัติ ทำความสะอาดช่องปากที่ถูกวิธีการตรวจช่องปากด้วยตนเอง การให้ความรู้แก่บุคคลในครอบครัวเพื่อสนับสนุน ช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และการกระตุ้นเตือน ติดตาม เยี่ยมบ้าน เครื่องมือที่ใช้ใน การเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามความรู้ทัศนคติ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก และแบบ บันทึกดัชนีคราบจุลินทรีย์สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และการทดสอบที (T-test)
ผลการศึกษาพบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการดูแลดูแลสุขภาพช่องปากขอ งกลุ่มทดลอง หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ค่าเฉลี่ยดัชนีคราบจุลินทรีย์ของกลุ่มทดลอง หลังการทดลองน้อยกว่าก่อนการทดลอง และน้อยกว่ากลุ่ม ควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
References
2. วัชรภรณ์ เสนสอน,สุภาภรณ์ ฉัตรชัยวิวัฒนา, เสาวนันท์ บำเรอราช. โรคเบาหวานกับสุขภาพช่องปาก. ว.ทันตขอนแก่น 2553; 13(2): 132-47.
3. Kadir T, Pisiriciler R, Akyuz S, YaratA, Emekli N, Ipbuker A. Mycological and cytological examinationof oral candida carriage in diabetic patients and non- diabetic control subjects: through analysis of local aetiologic and systemic factors.J Oral Rehabil 2002; 29:452-7.
4. Kay EJ. How often should we go to the dentis?.BMJ 1999; 319: 204-205.
5. Karikoski A, Murtomaa H, IlanneParikka P. Assess of periodontal treatment needsamong adults with diabetes in Finland.Int Dent J 2011; 52(2): 75-80.
6. โรงพยาบาลหันคา. การสำรวจสุขภาพฟันของผู้สูงอายุในอำเภอหันคาในปี 2560. ชัยนาท:โรงพยาบาลหันคา; 2561.
7. สร้างสุขภาพผู้สูงอายุ [Internet]. นนทบุรี:กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2018[cited 2018 Apr 9]. Available from: https://today.line.me/th/pc/article/
8. อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3.ขอนแก่น: ภาควิชาชีวสถิติและประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.
9. ศุภศิลป์ ดีรักษา, จตุพร เหลืองอุบล, ศุภวดีแถวเพีย. ผลของโปรแกรมดูแลสุขภาพช่องปากด้วยกระบวนการเรียนรู้เชิงสนทนากลุ่มต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองทางทันตสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน ในเขตพื้นที่ให้บริการศุขศาลา เทศบาลตำบลท่าคันโท อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์. ว.ทันตาภิบาล 2557;25(2): 45-58.
10. Loana F, Dan O, Doina O. The plurivalence of the interpretation of correlation between plaque score and bleeding score. Journal of Romanian Medical Dentistry 2009; 13(1): 45-48.
11. Kolb DA. Experiential learning: experience as the source of learning and development. New Jersey: Prentice-Hall; 1984.
12. Bloom BS. Human characteristic and school learning. New York: McGraw-Hill;1979.
13. ขวัญเรือน ชัยนันท์, สุรีย์ จันทรโมลี,ประภาเพ็ญ สุวรรณ, มยุนา ศรีสุภนันต์. การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุโรคเรื้อรังเทศบาลนครรังสิต จังหวัดปทุมธานี. ว.เครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2561;5(1): 91-107.
14. อิสริยาภรณ์ สุรสีหเสนา. ผลของโปรแกรมการดูแลสุขภาพช่องปากเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากในผู้ป่วยเบาหวานหมู่บ้านโสก อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ [วิทยานิพนธ์].ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2553.
15. กฤษฏชาติ ภาชนะวรรณ. ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคปริทันต์ของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตอำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ [วิทยานิพนธ์].ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2559.
16. อนันต์ พีระนันท์รังสี. ผลของโปรแกรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ใส่ฟันเทียมและรับบริการที่คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยาสารทันตสาธารณสุข 2559; 21(1): 41-50.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารไปเผยแพร่ทางการค้าก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร