ผลของการพัฒนาแนวปฏิบัติการวางแผนจำ หน่ายผู้ป่วย โรคเรื้อรังตามรูปแบบ PP-METHOD ในโรงพยาบาลส่องดาว

ผู้แต่ง

  • ลุนนี ราชไชย โรงพยาบาลส่องดาว
  • พรรณวรดา สุวัน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • จุฑารัตน์ เสาวพันธ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี

คำสำคัญ:

การพัฒนาแนวปฏิบัติการวางแผนจำหน่าย, โรคเรื้อรัง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนาแนวปฏิบัติการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคเรื้อรังตามรูปแบบ PP-METHOD การพัฒนาแนวปฏิบัติครั้งนี้ประยุกต์ตามกรอบแนวคิดการพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกของสภาวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขแห่งชาติของประเทศออสเตรเลีย (National Health and Medical Research Council: NHMRC) โดยทีมสหสาขาวิชา เก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2560 กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพประจำการหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลส่องดาว จำนวน 23 คน และผู้ป่วยที่ได้รับการวางแผนจำหน่ายตามแนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้นจำนวน 40 คนที่ได้จากการสุ่มตามสะดวก (Convenience sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้รับการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ทดลองใช้แนวปฏิบัติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เขียนรายงานสรุปและประเมินผลการพัฒนาแนวปฏิบัติ แบ่งช่วงเวลาการพัฒนาเป็น 3 ระยะ คือ ขั้นเตรียมการ ขั้นปฏิบัติ และขั้นประเมินผล มีสาระครอบคลุม 8 ประเด็น ดังนี้ 1) P=Person คือขั้นกำหนดตัวบุคคลที่จะร่วมวางแผนจำหน่าย 2) P=Perceptionประเมินความพร้อมในการรับรู้ข้อมูลของผู้ป่วยหรือผู้ดูแลที่เป็นผู้ร่วมวางแผนจำหน่าย 3) M=Medicine คือการให้คำแนะนำเกี่ยวกับยาทั้งที่ได้รับที่โรงพยาบาลและยาก่อนกลับบ้าน 4)E=Environment คือ การจัดการสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับโรคทั้งในขณะอยู่โรงพยาบาลและสิ่งแวดล้อมที่บ้าน 5) T=Treatment/Diagnosis คือ การให้ความรู้เกี่ยวกับเป้าหมายของการรักษาและเฝ้าระวังอาการที่ต้องกลับมาพบแพทย์วิธีการจัดการภาวะฉุกเฉิน 6) H=Heath คือ การให้ความรู้เกี่ยวกับข้อจำกัด,วิธีการดำเนินชีวิตประจำวัน ส่งเสริมฟื้นฟูป้องกันโรค 7) O=Out Patient Referral คือการให้คำแนะนำกรณีเกิดอาการฉุกเฉินการติดต่อช่วยเหลือและแผนการดูแลต่อเนื่อง และ 8) D=Diet คือการให้คำแนะนำเรื่องอาหาร,ความเหมาะสมข้อจำกัดด้านอาหาร

                พยาบาลปฏิบัติการผู้ทดลองใช้แนวปฏิบัติฯ และผู้ป่วยที่ได้รับการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคเรื้อรังตามรูปแบบ PP-METHOD มีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการวางแผนจำหน่ายอยู่ในระดับมากทั้งสองกลุ่มคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.28 และ 3.21 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.33 และ 0.19 ตามลำดับ

                จึงมีข้อเสนอแนะนำแนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้นไปใช้ในการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยทุกราย โดยติดตามผลการนำแนวปฏิบัติไปใช้และนำผลมากำหนดนโยบายในการพัฒนาในรูปแบบการวางแผนจำหน่ายนำร่องสู่การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายโรคอื่นๆ และควรติดตามประสิทธิผลที่เกิดจากการใช้แนวปฏิบัติการวางแผนจำหน่ายโรคเรื้อรังในลำดับต่อไป

References

1. Mosby’s dictionary of medicine, nursing & health professions. 9thed. 2013.
2. Joan M. Nelson, and Laura Rosenthal. How Nurses can help reduce hospital readmissions. From https://americannursetoday.com/wp-content/uploads/2015/05/EssenceSupplement_page-18.pdf
3. Shepperd S, McClaran J, Phillips CO, et al. Discharge planning from hospital to home. Cochrane Database Syst Rev.2010;20;(1):CD000313
4. กองการพยาบาล สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการจัดบริการพยาบาลในคลินิกหมอครอบครัว. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข;2560.
5. สถิติการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลส่องดาว
6. สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพฉบับที่ 4. นนทบุรี:สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล(องค์การมหาชน) ฉบับร่าง; 2558.
7. National Health and Medical Research Council [NHMRC]. A Guideline to the Development, Implementation and Evaluation of Clinical Practice Guidelines. Retrieved January 1999;9, 2013, from http://www.nhmrc.gov.au
8. ฉวีวรรณ ธงชัย.การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิก. ว.สภาการพยาบาล 2548; 20(2): 63-76.
9. Gallagher M, Hares T, Spencer J,Bradshaw C and Webb I. The nominal group technique: a research tool for general practice? Family Practice 1993; 10: 76-81
10. ดวงทรัพย์ วรรณประเวศ, สหัทยา รัตน จรณะ, สุวดี สกุลคู. ผลของการใช้รูปแบบการวางแผนจำหน่ายตามทฤษฎีการตั้งเป้าหมายร่วมกันของคิงที่มีต่ออัตราการกลับเข้ารับการรักษาซ้ำ ความพึงพอใจในการบริการพยาบาลของผู้ป่วยเบาหวานและความพึงพอใจของพยาบาลในการปฏิบัติการวางแผนจำหน่าย.วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา2556; 21(4): 1-13.
11. พิมพา เทพวัลย์, ฉัตรกนก ทุมวิภาต, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศและคะนึงนิจ พงศ์ถาวรกมล.ประสิทธิผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายแบบมีโครงสร้างในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลันต่อความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ความพึงพอใจและการกลับมารับการรักษาซ้ำ. ว.คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 2554; 29(2): 121-127.
12. อ่อนน้อม ธูปะวิโรจน์. ผลการใช้การวางแผนจำหน่ายและการติดตามทางโทรศัพท์ต่ออัตราการกลับมารับการรักษาซ้ำและความพึงพอใจในการบริการพยาบาลของผู้ป่วยโรคเบาหวาน [วิทยานิพนธ์].กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-30