การศึกษาความคิดเห็นของประชาชนต่อการเปิดหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรใหม่) และคุณลักษณะบัณฑิตพยาบาลวิทยาลัยการพยาบาล มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

ผู้แต่ง

  • อณัญญา ลาลุน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • ศิปภา ภุมมารักษ์ วิทยาลัยการพยาบาล มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • เกรียงวรา เข็มทอง วิทยาลัยการพยาบาล มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ธรณินทร์ คุณแขวน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • มัณฑนา เป็งยาวงค์ วิทยาลัยการพยาบาล มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

คุณลักษณะบัณฑิตพยาบาลที่พึงประสงค์, พยาบาลศาสตรบัณฑิต

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนต่อการเปิดหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรใหม่) และคุณลักษณะบัณฑิตพยาบาล วิทยาลัยการพยาบาล มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนในเขตสุขภาพที่ 2 จำนวน 500 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นต่อการเปิดหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต และแบบสอบถามคุณลักษณะบัณฑิตพยาบาลโดยเก็บข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายน–สิงหาคม 2561 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

                ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 16-20 ปีมากที่สุด มีความคิดเห็นต่อการเปิดหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต(หลักสูตรใหม่) โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี และเห็นสมควรที่จะมีสถาบันใหม่เพื่อเปิดสอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต และคุณลักษณะบัณฑิตพยาบาล คือควรเป็นผู้ที่เป็นพลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตย มีสมรรถนะทางวัฒนธรรมสามารถปฏิบัติงานในสภาพการณ์ของความแตกต่างทางวัฒนธรรมได้

References

1. อรุณรัตน์ คันธา. ผลกระทบและทางออกของการขาดแคลนกำลังคนทางการพยาบาลในประเทศไทย. ว.พยาบาลศาสตร์ 2555; 32: 81-90.
2. สมจิตร ศรีสุพรรณ, กฤษดา แสวงดี.ข้อเสนอเชิงนโยบายในการแก้ปัญหาการขาดแคลนพยาบาล วิชาชีพในประเทศไทย. ว.สภาการพยาบาล 2555; 27: 5-12.
3. อณัญญา ลาลุน, ศิปภา ภุมมารักษ์, นารีรัตน์ ภักดีศิริวงษ์, พิมพ์รดา ธรรมมีภักดี, สุวรรณี มณีศรี. ความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลต่อคุณภาพหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. ว.วิชาการศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. 2561; 5: 94-103.
4. กฤษดา แสวงดี. วิกฤตขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพในหน่วยบริการสุขภาพของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข: ข้อเสนอเชิงนโยบาย.ว.วิชาการสาธารณสุข 2560; 26: 456-467.
5. สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาแห่งชาติ.คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ :ภาพพิมพ์; 2558.
6. พัฒนา เศรษฐวัชราวณิช, ธารารัตน์ดวงแข, กมลรัตน์ เทอร์เนอร์. ความต้องการการศึกษาต่อเนื่องของพยาบาลวิชาชีพในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. ว.วิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2554; 5: 25-31.
7. พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์, ศรเนตร อารีโสภณพิเชฐ, สิริฉันท์ สถิรกุล เตชพาหพงษ์, อรุณี หงส์ศิริวัฒน์. การศึกษาความเป็นไปได้และแนวทางการจัดการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาพยาบาลศาสตร์ของสถาบันพระบรมราชชนก. ว.พยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2554; 21: 4-17.
8. ศุจิกา ภูมิโคกรักษ์, อัจฉรา สุคนธสรรพ์, อัญญารัตน์ ว่องวิริยะพันธุ์, ธันบาภรณ์ เหลี่ยวตระกูล, วัชรี นาคะป่า. คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามมุมมองของผู้ใช้บัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. พยาบาลสาร. 2559; 43: 151-191.
9. อัญชลี แก้วสระศรี, รัตนา นิลเลื่อม,ชุลีพร หีตอักษร. การเปลี่ยนแปลงของสังคมและวัฒนธรรมไทยกับแนวโน้มวิชาชีพการพยาบาล.ว.พยาบาลสงขลานครินทร์ 2560; 37: 160-169.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-30