ปัจจัยที่มีผลกระทบในการจัดทำระบบบัญชีเกณฑ์คงค้างของโรงพยาบาลอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ปัญญารักษ์ แสงเจริญ โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

ปัจจัยด้านบริหาร, , การจัดทำระบบบัญชีเกณฑ์คงค้าง

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับของปัจจัยด้านการบริหารที่มีผลกระทบในการจัดทำบัญชีของผู้ทำบัญชีระบบเกณฑ์คงค้างและข้อเสนอแนะแนวทางในการจัดทำบัญชีของผู้ทำบัญชีเกณฑ์คงค้างในโรงพยาบาลอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างที่ได้ในการศึกษาครั้งนี้ คือบุคลากรที่ประสานงานในการจัดทำบัญชีเกณฑ์คงค้าง จำนวน 75 คน ที่ได้มาจากการเลือกเฉพาะเจาะจง การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา ด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมานด้วย Independent sample t- test และ One –Way ANOVA

                ผลการวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 90.7 ส่วนมากมีอายุระหว่าง 41 – 50 ปี คิดเป็นร้อยละ 34.7 รองลงมา คือมีอายุระหว่าง 20 – 30 ปี คิดเป็นร้อยละ 28.0 มีสถานภาพสมรส โสดคิดเป็นร้อยละ 54.7 โดยมีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 64.0 ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการทำงานน้อยกว่า 5 ปี คิดเป็นร้อยละ 34.7 รองลงมาคือมากกว่า 15 ปี คิดเป็นร้อยละ 32.0 มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 20,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 70.7 ส่วนใหญ่เป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุข คิดเป็นร้อยละ 30.7 รองลงมาคือลูกจ้างชั่วคราว คิดเป็นร้อยละ 28.0 โดยส่วนใหญ่เป็นเจ้าพนักงาน คิดเป็นร้อยละ 84.0และปฏิบัติงานที่กลุ่มงานการเงิน คิดเป็นร้อยละ 37.3 ในส่วนระดับของปัจจัยที่มีผลกระทบกับระบบการจัดทำบัญชีตามเกณฑ์คงค้างด้านต่างๆพบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ปัจจัยที่มีผลกระทบกับระบบการจัดทำบัญชีตามเกณฑ์คงค้างในด้านผู้บริหารสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านวัสดุอุปกรณ์และด้านการจัดการตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของปัจจัยที่มีผลกระทบกับระบบการจัดทำบัญชีตามเกณฑ์คงค้างด้านต่างๆ กับคุณลักษณะทางประชากร พบว่าตัวแปร เพศ ระดับการศึกษา ประเภทตำแหน่งงาน ประเภทและสถานที่ปฏิบัติงานที่แตกต่างกันมีค่าเฉลี่ยของปัจจัยที่มีผลกระทบกับระบบการจัดทำบัญชีเกณฑ์คงค้างด้านงบประมาณแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

                ข้อเสนอแนะด้านนโยบายควรปรับปรุงนโยบายบัญชีให้เป็นปัจจุบัน ด้านผู้บริหารควรสนับสนุนทรัพยากรและพัฒนาบุคลากรด้านบัญชีด้านบุคลากรควรจัดสรรอัตรากำลัง ข้าราชการ พนักงานราชการด้านบัญชีด้านงบประมาณ ควรมีการจัดสรรงบประมาณด้านการพัฒนาบุคลากรให้มากขึ้น และงบประมาณด้านพื้นที่จัดเก็บเอกสาร เร่งให้สายสนับสนุนให้ได้ค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นและให้ขวัญและกำลังใจในการทำงานมากกว่านี้ด้านวัสดุอุปกรณ์การจัดสรรเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยด้านการจัดการควรมีมาตรฐาน การจัดส่งรายงานเป็นปัจจุบันมีผู้นำด้านการจัดการระบบเอกสารมีการเชื่อมระบบเครือข่ายโรงพยาบาลด้านข้อมูลสื่อสาร

References

1. กรมบัญชีกลาง. แนวทางการปฏิบัติทางบัญชีสำหรับหน่วยงานภาครัฐ. กรุงเทพฯ : กระทรวงการคลัง; 2546.
2. กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ. คู่มือบัญชีหน่วยบริการสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข;2561.
3. สำนักงานมาตรฐานการบัญชีภาครัฐ กลุ่มมาตรฐานและนโยบายการบัญชีภาครัฐ. “หลักการและนโยบายบัญชีเกี่ยวกับสินทรัพย์”, หลักการและนโยบายบัญชี สำหรับหน่วยงานภาครัฐ. กรุงเทพ:กรมบัญชีกลาง; 2546.
4. ธานินทร์ ศิลป์จารุ. การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. นนทบุรี :เอส.อาร์.พริ้นติ้งแมสโปรดักส์; 2553.
5. สุรีรัตน์ เถื่อนชัย. ความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติงานสายงานการเงินและบัญชีที่มีต่อการจัดทำระบบบัญชีหน่วยงานภาครัฐรูปแบบใหม่ (ตามเกณฑ์คงค้าง) กรณีศึกษา กระทรวงยุติธรรม. [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้า; 2547.
6. อลีณา เรืองบุญญา. ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจัดทำบัญชีเกณฑ์คงค้างของผู้จัดทำบัญชีสถานบริการภาครัฐในกระทรวงสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี [วิทยานิพนธ์]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี; 2554.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-30