การพัฒนารูปแบบการจัดการรายกรณีสำหรับการดูแลผู้ป่วยเด็กมะเร็งเม็ดเลือดขาวเอแอลแอลโรงพยาบาลอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • รัชนีบูลย์ นุชิต โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

รูปแบบการจัดการรายกรณี, ผู้ป่วยเด็กมะเร็งเม็ดเลือดขาวเอแอลแอล, ผู้ดูแลหลัก, สหวิชาชีพ

บทคัดย่อ

มะเร็งเม็ดเลือดขาวเอแอลแอล เป็นมะเร็งที่พบมากในเด็ก ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยและครอบครัวทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และเศรษฐกิจ การนำรูปแบบการพยาบาลรายกรณีมาใช้ในการดูแลผู้ป่วยมีผลทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่มีประสิทธิภาพ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการรายกรณีสำหรับการดูแลผู้ป่วยเด็กมะเร็งเม็ดเลือดขาวเอแอลแอล โรงพยาบาลอุดรธานี ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ และใช้เทปบันทึกเสียง ศึกษาในผู้ป่วยเด็กมะเร็งเม็ดเลือดขาวเอแอลแอลที่มารับการรักษาที่หอผู้ป่วยเด็ก 3 โรงพยาบาลอุดรธานี 15 ราย ผู้ดูแลหลักของผู้ป่วย 15 คน และสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ 13 คน ขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ การวิเคราะห์สถานการณ์ การพัฒนารูปแบบการจัดการรายกรณี การนำรูปแบบการจัดการรายกรณีไปใช้ในการดูแลผู้ป่วย และการประเมินผลเก็บข้อมูลระหว่างเดือนธันวาคม 2560 ถึงมีนาคม 2561 ใช้สถิติเชิงพรรณนาข้อมูลจากการทำสนทนากลุ่ม/การบันทึกเทปจะถูกถอดคำต่อคำแล้วนำมาวิเคราะห์เนื้อหา เพื่อให้ได้รูปแบบการดูแลของผู้ป่วย และผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กมะเร็งเม็ดเลือดขาวเอแอลแอล และรูปแบบการดูแลสำหรับผู้ป่วยเด็กมะเร็งเม็ดเลือดขาวเอแอลแอลของสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง

ผลการวิจัย พบว่า (1.) ในระยะวิเคราะห์สถานการณ์ เดือนธันวาคม 2560 ทีมสหวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยเด็กมะเร็งเม็ดเลือดขาวเอแอลแอล ทั้งหมด 13 คน ให้ข้อมูล และเสนอแนะข้อคิดเห็น ทีมสหวิชาชีพส่วนมากเป็นเพศหญิงร้อยละ 92.30 มีอายุเฉลี่ย 35.38 ปี และมีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยเด็กมะเร็งเม็ดเลือดขาวเอแอลแอลเฉลี่ย 2.90 ปี กลุ่มผู้ป่วยเด็กมะเร็งเอแอลแอล ส่วนมากเป็นเพศชาย ร้อยละ 66.7 อายุอยู่ในช่วง 4-15 ปี กลุ่มผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กมะเร็งเม็ดเลือดขาวเอแอลแอล ส่วนมากเป็นเพศหญิงร้อยละ 80.0 และส่วนมากเป็นมารดาร้อยละ 60.0 (2.) พัฒนาได้รูปแบบการจัดการรายกรณีสำหรับการดูแลผู้ป่วยเด็กมะเร็งเม็ดเลือดขาวเอแอลแอล ซึ่งประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 2.1) ด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ของโรงพยาบาล 2.2) ด้านผู้ให้บริการหรือทีมสหวิชาชีพ 2.3) ด้านผู้รับบริการหรือผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วย และ 2.4) ด้านชุมชน หรือโรงเรียน หรือสถานพยาบาลที่ต้องดูแลผู้ป่วยต่อเนื่อง ซึ่งแต่ละองค์ประกอบมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน โดยมีพยาบาล case manager เป็นผู้ประสานในแต่ละองค์ประกอบ ที่จะส่งผลให้การดูแลผู้ป่วยเด็กมะเร็งเม็ดเลือดขาวเอแอลแอลมีประสิทธิภาพ (3.) การนำรูปแบบไปใช้ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2561 (4.) ปลายเดือนมีนาคม 2562 ดำเนินการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการรายกรณีสำหรับการดูแลผู้ป่วยเด็กมะเร็งเม็ดเลือดขาวเอแอลแอลพบว่ามีความเหมาะสมกับบริบทของโรงพยาบาลอุดรธานี โดยมีค่าคะแนนความเหมาะสมโดยรวม 5 มิติเท่ากับร้อยละ 88.61

References

1. นภดล ศิริธนารัตนกุล. โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว. [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล;2560 [เข้าถึงเมื่อ 6 กรกฎาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก
:http://www.si.mahidol.ac.th.
2. เยาวลักษณ์ มีบุญมาก. การจัดการผู้ป่วยรายกรณี. ว.สุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2547; 12: 50-55.
3. หอผู้ป่วยเด็ก 3 กลุ่มงานกุมารเวชกรรมโรงพยาบาลอุดรธานี. สถิติผู้มารับบริการหอผู้ป่วยเด็ก 3
โรงพยาบาลอุดรธานี. อุดรธานี: 2559.
4. ศิริอร สินธุ, พิเชต วงรอด. การจัดการรายกรณีผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง. พิมพ์ครั้ง
ที่ 2. กรุงเทพฯ: วัฒนาการพิมพ์; 2557.
5. Powell, S. K. Nursing case management:A practical guide to success in Managed
care. Philadelphia: Lippincott-Raven; 1996.
6. ราศี ลีนะกุล. การพัฒนารูปแบบการจัดการรายกรณีทางการพยาบาลในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตาย.
[วิทยานิพนธ์ ]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2548.
7. พิจิตรา เล็กดำรงกุล, คะนึงนิจ พงศ์ถาวรกมล,ธนิษฐา ชมพูบุปผา, นภดล ศิริธนารัตนกุล. ความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการข้อมูล ข้อมูลที่ได้รับพฤติกรรมการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งทางโลหิตวิทยาที่ได้รับยาเคมีบำบัด. ว.พยาบาลศาสตร์ 2555; 30:64-73.
8. ธิดารัตน์ ทองหนุน, วีณา จีระแพทย์. ผลของรูปแบบการให้ข้อมูลทางสุขภาพร่วมกับการฝึกอานาปานสติ ต่อความเครียดในการดูแลเด็ก โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวของผู้ดูแลในครอบครัว. ว.เกื้อการุณย์ 2559; 23:86-103.
9. ธนิดา ทีปะปาล, บุษกร พันธ์เมธาฤทธิ์, มยุรีนภาพรรณสกุล. ผลของการทำกลุ่มช่วยเหลือตนเองต่อ
คุณภาพชีวิตด้านจิตใจของผู้ป่วยเด็กวัยรุ่นโรคมะเร็ง.ว.พยาบาลสงขลานครินทร์ 2558; 35: 111-126.
10. จรรยา พรหมมาลี, สุนันทา ศิระวงษ์ธรรม,กัลยา แก้วธนะสิน. การสร้างมาตรฐานการพยาบาลผู้
ป่วยเด็ก มะเร็งเม็ดเลือดขาว. กุมารเวชสาร 2552; 16:29-33.
11. กฤษดา จวนวันเพ็ญ, บุญทิพย์ สิริธรังศรี,บุญจง แซ่จึง. การพัฒนารูปแบบการจัดการพยาบาล
ผู้ป่วยรายกรณีสำหรับการดูแลผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน. ว.วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี
นครราชสีมา 2557; 20: 80-94.
12. พัชรี กาญจนวัฒน์, ฎายิน กุมภลำ, สัมมนามูลสาร, อโนรี สุระวงศ์. การศึกษาค่าใช้จ่าย และผลการ
รักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน ในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี.
ว.เภสัชศาสตร์อีสาน 2552; 5: 140-148.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-31