พฤติกรรมการใช้ยาของผู้สูงอายุที่ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชนจอมศรีอำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • กาญจนา ปัญญาธร มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • ณัฎฐากุล บึงมุม มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี

คำสำคัญ:

โรคเรื้อรัง, พฤติกรรมการใช้ยาผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณานี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาสุขภาพและพฤติกรรมการใช้ยาของผู้สูงอายุในชุมชนจอมศรี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน 93 คน เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์แบบ Rating scale 5 ระดับ หาคุณภาพของเครื่องมือความตรงเชิงเนื้อหาให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบและความเชื่อมั่นค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาสุขภาพ ผู้สูงอายุป่วยเป็นโรคเรื้อรังโดยเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากที่สุด (ร้อยละ 23.13) การเจ็บป่วยที่มีประจำได้แก่ ปวดเอว เหนื่อยเพลียและวิงเวียน เบื่ออาหาร ท้องผูกและเป็นลมการใช้ยาร้อยละ 91.40 ใช้ยาแผนปัจจุบัน และรับรู้ว่าตนเองมีความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาระดับปานกลาง 2) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้ยา ผู้สงอายุมีความคิดเห็นที่ถูกต้องในเรื่องบอกอาการแพ้ยาทุกครั้งที่ไปรับบริการสุขภาพ (X¯ 4.55,S.D. 0.60) และมีปัญหาเรื่องยาปรึกษาเภสัชกร (X¯ 4.44, S.D. 0.60) ส่วนความคิดเห็นที่ไม่ถูกต้องคือสามารถ

นำยาของผู้อื่นมาใช้ (X¯ 4.20, S.D. 1.07) การแกะยาเม็ดแคปซูลออกรับประทานทำให้ยาออกฤทธิ์เร็วขึ้น (X¯ 4.00,S.D. 1.22) และสามารถตัดสินใจหยุดยาเอง (X¯ 3.62, S.D. 1.27) 3) พฤติกรรมการใช้ยา ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมที่เหมาะสมตามลำดับ คือพบแพทย์ตามนัด (X¯ 4.52, S.D. 0.65) แจ้งประวัติการแพ้ยาก่อนรับยา (X¯ 4.45, S.D. 0.62)ใช้ยาตามที่กำหนด (X¯ 4.33, S.D. 0.58) ส่วนพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมคือ เพิ่มหรือลดยาเอง (X¯ 4.47, S.D. 097).ใช้ยาของผู้อื่นเมื่อมีอาการคล้ายคลึงกัน (X¯ 4.41, S.D. 0.76) และแลกเปลี่ยนประสบการณ์การใช้ยาร่วมกับคนอื่นน้อย (X¯ 2.67, S.D. 2.56) ภาพรวมผู้สูงอายุมีพฤติกรรมที่เหมาะสมระดับมาก (X¯ 4.05, S.D. 0.55) จากผลการวิจัยจึงควรให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุเพื่อปรับทัศนคติและส่งเสริมพฤติกรรมการใช้ยาที่ถูกต้อง

References

1. บรรลุ ศิริพานิช. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ 2557. [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัย
และพัฒนาผู้สูงอายุไทย. [เข้าถึงเมื่อ 10 พฤษภาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dop.go.th/
download/knowledge/knowledge_th
2. ศิรสา เรืองฤทธิ์ชาญกุล. การใช้ยาร่วมกันหลายขนานในผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: ภาควิชาอายุรศาสตร์คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558.
3. ปานเนตร ปางพุฒิพงษ์. การใช้ยาในผู้สูงอายุ. [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัด
กระทรวงสาธารณสุข. [เข้าถึงเมื่อ 10 พฤษภาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://pr.moph.go.th/?url=pr/
detail/2/02/116605/
4. ณัฐวุฒิ สิบหมู่. เภสัชวิทยาเนื้อหาสำคัญและแบบฝึกหัด. ภาควิชาเภสัชวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล
พิมพ์ครั้งที่ 1 โฮลิสติกพลับบลิชชิ่ง; 2559.
5. วาสนา นัยพัฒน์. ปัญหาสุขภาพปัญหาการใช้ยาและพฤติกรรมการใช้ยาของผู้สูงอายุในชุมชนบ้าน
พักข้าราชการโรงพยาบาลมงกุฏเกล้า. ว.การพยาบาลและการศึกษา 2553; 3(1): 2-14.
6. อุไรวรรณ ชัยชนะ วิโรจน์และนิรนาทวิทยโชคกิติคุณ. พฤติกรรมการใช้ยาในผู้สูงอายุไทย.
ว.การพยาบาลและสุขภาพ 2558 ; 9(1): 2-14.
7. วิษณุ ธรรมลิขิตกุล. กระบวนการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์. สำนักงานกองทุนสนับสนุน
การวิจัย (สกว.) โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์; 2540.
8. วิพิน กาญจนการุน.พฤติกรรมการใช้ยาที่ไม่ปลอดภัยที่พบบ่อยในคนไทย. สมาคมเภสัชกรรม
โรงพยาบาล (ประเทศไทย). [อินเตอร์เน็ต] [เข้าถึงเมื่อ 10 พฤษภาคม2562]. เข้าถึงได้จาก http://
www1.si.mahidol.ac.th/km/node/403
9. ชื่นจิตร กองแก้วและคณะ. การใช้ยาในผู้สูงอายุ ไทยเขตภาคเหนือตอนล่างประเทศไทย. สถาบันวิจัย
ระบบสาธารณสุข 2557. [อินเตอร์เน็ต] [เข้าถึงเมื่อ10พฤษภาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก http://kb.hsri.or.th/
dspace/handle/11228/4306?locale- attribute=th
10. ดวงพร กตัญญุตานนท์และคณะ. พฤติกรรมป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวานที่มารับ
บริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแห่งหนึ่งในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. วารสาร
มหาวิทยาลัยเฉลิมพระเกียรติวิชาการ 2559; 20 (39):15-29.
11. อ้อมใจ แต้เจริญวิริยกุลและกิตติยา ศิลาวงค์สุวรรณกูฏ. การรับรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเอง
ของผู้ป่วยเบาหวานตำบลทุ่งมน อ.ปราสาท จังหวัดสุรินทร์. ว.วิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2559; 9 (2):
331-334.
12. ประทุม สุภชัยพานิชพงษ์และคณะ .ความรู้และความเชื่อเกี่ยวกับการใช้ยาของผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่
รับประทานยาตามคำแนะนำอย่างต่อเนื่อง. Veridian E Journal Science and Technology Silpakorn University 2557. [อินเตอร์เน็ต] [เข้าถึงเมื่อ 10 พฤษภาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก https://tci-thaijo.org/index.php/VESTSU/article/view
13. คงฤทธิ์ วันจรูญและคณะ. ความรู้ การรับรู้ความสามารถตนเอง พฤติกรรมและสภาวะสุขภาพ
ของผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 ตำบลลำปาว อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์. ว.วิจัยสาธารณสุขศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2556; 6(3): 130-138.
14. ประภาสวัชร์ งามคณะ. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของคนไทยในเขตปริมณฑล. ว.วิชาการ
มหาวิทยาลัย วิทยาเขตปทุมธานี 2557; 6(2): 21-30.
15. ลือชัย ศรีเงินยวง. มิติทางสังคมและวัฒนธรรมของการใช้ยาในชุมชน.สถาบันวิจัยระบบ
สาธารณสุข 2550. [อินเตอร์เน็ต] [เข้าถึงเมื่อ 10 พฤษภาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก http://kb.hsri.or.th/
dspace/handle/11228/1688.
16. พิมพิสุทธิ์ บัวแก้วและรติพร ถึงฝั่ง. การดูแลสุขภาพและภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุไทย. ว.สมาคมนักวิจัย 2559; 21(2) : 94-109.
17. ปิยะวัน วงศ์บุญหนักและคณะ. การสำรวจปัญหาและพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมและ
สมุนไพรของผู้สูงอายุ กรณีศึกษาชุมชนศีรษะจระเข้น้อยสมุทรปราการ. ว.มหาวิทยาลัยหัวเฉียว เฉลิมพระเกียรติ 2559 ; 20(39) : 97-108.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-31