ประสิทธิผลของการใช้นวัตกรรมเซียมซีทายทักรักษ์สุขภาพในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง โรงพยาบาลอุดรธานี 2 อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • จอมฤทัย อินทรพาณิช กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลอุดรธานี
  • อรกัญญา บัวพัฒน์ กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

ความรู้, เจตคติ, การปฏิบัติตัว, นวัตกรรม, โรคเบาหวาน

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบ Pre-experimental design ครั้งนี้เป็นการศึกษากลุ่มเดียววัดสองครั้ง (One group pretest- posttest design) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลการใช้นวัตกรรมเซียมซีทายทักรักษ์สุขภาพในกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีระดับน้ำตาลในเลือด ≥200 mg% ที่มารับบริการที่ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองโรงพยาบาลอุดรธานี 2 อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานีจำนวน 30 คน ได้รับโปรแกรมให้ความรู้จากการใช้นวัตกรรมเซียมซีทายทักรักษ์สุขภาพใช้เวลาดำเนินการ 8 สัปดาห์ประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆได้แก่ การบรรยายการสาธิตการฝึกปฏิบัติ การจัดกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การออกกำลังกาย การนวดเท้า เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการแจกแจงความถี่ และเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยด้วยสถิติเชิงอนุมานคือ Paired t-test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

ผลการวิจัยพบว่าโปรแกรมความรู้ที่จัดขึ้นทำให้ผู้ป่วยเบาหวานเกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านความรู้ ทัศนคติการปฏิบัติตัว และระดับน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยเบาหวานต่ำกว่าก่อนการทดลองค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ทัศนคติการปฏิบัติตัวเพิ่มขึ้นเท่ากับ 2.63 เป็น 8.37, 1.78 เป็น 2.65, 1.09 เป็น 1.66 ตามลำดับ ค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดลดลงเท่ากับ 214.67 ลดเหลือ 135.40 mg% ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) การใช้นวัตกรรมเซียมซีทายทักรักษ์สุขภาพส่งผลให้ผู้ป่วยเบาหวานทุกคนมีความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตัวดีขึ้นและระดับน้ำตาลในเลือดลดลง จึงควรพัฒนาโปรแกรมก่อนประยุกต์ใช้ในหน่วยบริการปฐมภูมิในเครือข่ายต่อไป

References

เอกสารอ้างอิง
1. World HealthOganization. Diabetes. [internet].[เข้าถึงเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2561].เข้าถึงได้จาก http: //www. who.int/ncd/dia/databases4.htm. 2006.
2. World HealthOganization. Revised Draft of the Global NCD Action Plan 2013-2020.[internet].Available from: http://www.ncdalliance.org/revised-draft-global-ncd-actionplan-
2013-2020. October2013.
3. กลุ่มงานยุทธศาสตร์ ด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานีข้อมูลการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ.[อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2561]. เข้าถึงได้จาก https://www.udo.moph.go.th/
4. ฐานข้อมูล HDC สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่10 พฤศจิกายน2561]. เข้าถึงได้จาก https://www.udo.moph.go.th/
5. หทัยกานต์ ห้องกระจก.อิทธิพลของความแตกฉานด้านสุขภาพการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและการสื่อสารระหว่างผู้ป่วยกับบุคลากรสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ[วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต] การพยาบาลผู้ใหญ่. มหาวิทยาลัยบูรพา : 2559
6. แนวเวชปฏิบัติเบาหวานและครอบครัว.[อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่8 พฤศจิกายน 2561].เข้าถึงได้จาก https://www.dmthai.org/attachments/article/443/guideline-diabetes-care-2017.pdf
7. Woolson, R.F. Statistical Methods for the Analysis of Biomedical Data. Toronto : John Wiley & Sons; 1987.
8. Bloom, Benjamin. Taxonomy of education obectives the classification of educational Goals handbook I: Cognative domain. New York : David Mckay; 1970.
9. วิเชียร เกตุสิงห์. คู่มือการวิจัย: การวิจัยเชิงปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์และทำปกเจริญผล; 2543.
10. ณฐมน สืบชุยและคณะ.ประสิทธิผลของนวัตกรรมลูกปัดไม้นวดกดจุดลดอาการชาที่เท้าในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน. ก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์ 2560;17:87-98, สืบค้นเมื่อวันที่9 พฤศจิกายน 2561. http://sci.bsru.ac.th/sciweb/e-magazine/17-1/chapter-6.pdf.
11. วรรณี นิธิยานันท. เบาหวานกับการออกกำลังกาย. ในสุทินศรี อัษฎาพรและวรรณี นิธิยานันท์ บรรณาธิการ. โรคเบาหวาน (หน้า 129-144). กรุงเทพฯ:เรือนแก้วการพิมพ์ ; 2548.
12. Bloom B S. 'Learning For Mastery', The Evaluation Comment. In All Our Children Learning, McGraw-Hill; 1968.
13. พรวิจิตร ปานนาคและคณะ.ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาความฉลาดทางสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ตำบลบางวัวอำเภอบางปะกงจังหวัดฉะเชิงเทรา[วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต] มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช: 2558.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-31