ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาศักยภาพสมองในผู้สูงอายุที่มีความจำบกพร่องระยะแรก ของศูนย์สุขภาพชุมชนเครือข่ายโรงพยาบาลอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ศศินี อภิชนกิจ โรงพยาบาลอุดรธานี
  • อาภาพรรณ นเรนทร์พิทักษ์ โรงพยาบาลอุดรธานี
  • อุไรลักษณ์ หมัดคง โรงพยาบาลอุดรธานี
  • ปิลันธนา อเวรา โรงพยาบาลอุดรธานี
  • ภัคณัฏฐ์ ผลประเสริฐ โรพยาบาลอุดรธานี
  • อริศรา พิชัยภูษิต โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

ศักยภาพสมอง, ผู้สูงอายุ, ความจำบกพรองระยะแรก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาศักยภาพสมองในผู้สูงอายุที่มีความจำบกพร่องระยะแรก (Mild Cognitive Impairment: MCI) ของศูนย์สุขภาพชุมชน เครือข่ายโรงพยาบาลอุดรธานี เป็นการวิจัยเชิงทดลองโดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในศูนย์สุขภาพชุมชนเขต อำเภอเมืองอุดรธานี จำนวน 90 คน คัดเลือกโดยเจาะจงผู้สูงอายุที่มีความจำบกพร่องระยะแรกและสามารถทำกิจกรรมได้ด้วยตนเอง ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 45 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบสังเกตความก้าวหน้าในการเข้าร่วมกิจกรรมตามโปรแกรมเพิ่มศักยภาพสมอง (TEAM-V: Training of Executive function, Attention, Memory and Visuospatial function) 2) แบบทดสอบความสามารถสมอง MoCA (Montreal Cognitive Assessment-Test) ศึกษาระหว่างเดือนมีนาคม 2560-มีนาคม 2561 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบศักยภาพสมองระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม ก่อน-หลัง การใช้โปรแกรม TEAM-V โดยใช้ Paired T-test

ผลการศึกษาพบว่า ประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเพิ่มศักยภาพสมองโปรแกรม TEAM-V ทั้งหมด 6 ครั้งจะเชื่อมโยงความสามารถของสมองหลายๆ ด้าน ในกลุ่มทดลองจากการเปรียบเทียบศักยภาพสมอง ก่อน-หลังการใช้โปรแกรม มีคะแนนเฉลี่ย MoCA เพิ่มขึ้นกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001; 95%CI: 2.88-4.04) กลุ่มควบคุมหลังดำเนินการ คะแนน MoCA เพิ่มขึ้นกว่าก่อนดำเนินการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001; 95%CI: 1.17-2.60) และพบว่าหลังดำเนินการกลุ่มทดลองมีคะแนนศักยภาพสมอง (MoCA) สูงกว่ากลุ่มควบคุม เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีคะแนนสูงกว่ากลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ<0.05 พบว่า ด้านความตั้งใจ, การใช้ภาษา และการทวนซ้ำด้านที่ไม่ต่างกัน ได้แก่มิติสัมพัทธ์, ความจำ, ความคิดเชิงนามธรรม และ การรับรู้สภาวะรอบตัว ติดตามครั้งที่ 1 (3 เดือน) หลังการใช้โปรแกรมของกลุ่มทดลองมีคะแนนศักยภาพสมองสูงกว่ากลุ่มควบคุม ไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้านพบด้านที่มีคะแนน MoCA สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <0.05 ได้แก่ ความตั้งใจ, การใช้ภาษา, ความคิดเชิงนามธรรม และการรับรู้สภาวะรอบตัว ด้านที่ไม่แตกต่างกัน ได้แก่ มิติสัมพัทธ์, ความจำ, การทวนซ้ำ ติดตามครั้งที่ 2 (6 เดือน) หลังการใช้โปรแกรมของกลุ่มทดลองมีคะแนนศักยภาพสมองสูงกว่ากลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ<0.05 เมื่อพิจารณารายด้านที่กลุ่มทดลองมีคะแนนสูงกว่ากลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ มิติสัมพัทธ์, ความจำ, ความตั้งใจ, ความคิดเชิงนามธรรม, การทวนซํ้า, การรับรู้สภาวะรอบตัว ด้านที่ไม่แตกต่างกัน คือ ด้านการใช้ภาษา

สรุป: กลุ่มทดลองหลังการใช้โปรแกรม TEAM-V มีผลทำให้คะแนนศักยภาพสมองสูงกว่ากลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

1. ผ่องพรรณ อรุณแสง. การพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2552.
2. อรวรรณ แผนคง. การพยาบาลผู้สูงอายุ.กรุงเทพฯ: ธนาเพรส; 2554.
3. โรงพยาบาลอุดรธานี. รายงานผลการดำเนินงานการคัดกรองภาวะสุขภาพผู้สูงอายุจังหวัดอุดรธานี Program aging survey V.2. อุดรธานี: โรงพยาบาลอุดรธานี; 2559.
4. สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ. คู่มือการพัฒนาศักยภาพสมอง
ของผู้ที่มีสมรรถภาพสมองบกพร่องในระยะต้น (Cognitive Stimulation in People with Mild Cognitive Impairment). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2559.
5. สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ. รายงานการวิจัยการพัฒนาศักยภาพสมองของผู้ที่มีสมรรถภาพสมองบกพร่องในระยะต้น. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2558.
6. โสฬพัทธ์ เหมรัญช์โรจน์. Cognitive impairment in Medicine Basic and Clinical
Neuroscience. MoCA Thai Version. (In Thai). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553.
53-65.
7. ณัชชา แรมกิ่ง. ผลของโปรแกรมพัฒนาศักยภาพสมองต่อการทำหน้าที่ด้านการรู้คิดในผู้สูงอายุ
ที่มีการรู้คิดบกพร่อง. [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2559: 55.
8. ปิ่นมณี สุวรรณโมสิ, จิราพร เกศพิชญวัฒนา.ผลของโปรแกรมกระตุ้นการรู้คิดต่อความจำของผู้สูงอายุในชุมชนที่มีการรู้คิดบกพร่อง. ว.พยาบาลตำรวจ 2559; 8(2): 45-57.
9. วัลลภา อันดารา, อุบลรัตน์ สิงหเสนี, ปัทมาวงค์นิธิกุล. การศึกษาภาวะสมองเสื่อม ความรู้เรื่องโรค และการป้องกันโรคสมองเสื่อมและข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ. ว.พยาบาลตำรวจ 2559; 8: 23-33.
10. Tzeyu L. Michaud TL, Dejun Su D, Siahpush M, Murman DL. The Risk of Incident
Mild Cognitive Impairment and Progression to Dementia Considering Mild Cognitive Impairment Subtypes. Dement Geriatr Cogn Disord Extra 2017; 7: 15–29.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-31