ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลข่าวสาร การสร้างแรงจูงใจและพัฒนาทักษะการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นตอนต้น จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • ชลดา กิ่งมาลา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุรินทร์
  • เอื้อจิต สุขพูล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุรินทร์
  • วัชรีวงค์ หวังมั่น วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์

คำสำคัญ:

วัยรุ่นตอนต้น, มัธยมศึกษาปีที่ 1, พฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลข่าวสารการสร้างแรงจูงใจ และพัฒนาทักษะต่อความรู้ทัศนคติ การรับรู้ความสามารถ และพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นตอนต้น โดยประยุกต์ใช้รูปแบบ IMB model มีระยะเวลาในการจัดกิจกรรม 7 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็นกลุ่มได้รับโปรแกรม 40 คน และกลุ่มไม่ได้รับโปรแกรม 40 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามความรู้ ทัศนคติ การรับรู้วามสามารถ และพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นตอนต้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยแบบสองกลุ่ม และการวัดความแปรปรวนแบบวัดซํ้า

ผลการศึกษาพบว่า เมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่มได้รับโปรแกรม กลุ่มได้รับโปรแกรมมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นตอนต้น หลังการทดลอง และระยะติดตามผลสูงกว่าก่อนการทดลอง (p<0.001 และ p<0.001 ตามลำดับ) และมีคะแนนเฉลี่ยทัศนคติในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นตอนต้น หลังการทดลอง สูงกว่าก่อนการทดลอง (p<0.001) การเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม พบว่า กลุ่มได้รับโปรแกรมมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นตอนต้น สูงกว่ากลุ่มไม่ได้รับโปรแกรม ทั้งหลังการทดลองและระยะติดตามผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001, p=0.009 และ p<0.001 ตามลำดับ) ส่วนคะแนนเฉลี่ยทัศนคติต่อการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นตอนต้นทั้งหลังการทดลองและระยะติดตามผลไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) ซึ่งผลการศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นได้ว่า ผลของโปรแกรมสามารถช่วยให้วัยรุ่นมีความรู้ และการรับรู้ความสามารถในการป้องกันการตั้งครรภ์เพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม หลังสิ้นสุดโปรแกรมวัยรุ่นมีการปรับเปลี่ยนทัศนคติเพียงเล็กน้อย ดังนั้นการจัดโปรแกรมใหม่ ควรกระตุ้นให้กลุ่มเพื่อนและครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมจะนำไปสู่การให้คำแนะนำ ป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นตอนต้นได้

References

1. Wold Health Organization. Adolescent Health. 2014 [cited 2016 August 7] Available
From: https://who.int/e
2. สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์. สถานการณ์การคลอดบุตรของ
วัยรุ่นไทย ปี 2555. [อินเทอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 7 สิงหาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก: https://www.
m-society.go.th/article_attach/10430/15330.pdf.
3. นิธิรัตน์ บุญตานนท์, ภัสสรา นรารักษ์. การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เรื่องยากที่ต้องช่วยกัน. [อินเทอร์เน็ต].
2555 [ เข้าถึงเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก: https:// hpc5.anamai.moph.ac.th/images/
Factsheet
4. วิชาญา เวชยัตศฤงคาร. ผลของการตั้งครรภ์ในมารดาวัยรุ่นที่มาคลอดครรภ์แรกในโรงพยาบาลบางใหญ่. ว.ศูนย์ศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลประปกเกล้า 2555; 29(2): 28–92.
5. พอเพ็ญ ไกรนรา, ยุพาวดี เกริกกุลธร, ภูวสิทธิ์ สิงห์ประไพ. ผลของโปรแกรมการป้องกันการตั้งครรภ์
ไม่พึงประสงค์ ต่อความรู้ ทัศนคติ และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียน สังกัดเทศบาลเมืองสระบุรี. ว.พยาบาล 2556; 62(2): 1-9.
6. ชัชนัย ติยะไทธาดา, พรรณี บัญชรหัตถกิจ.ผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้ทฤษฏีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศและป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. ศรีนครินทร์เวชสาร 2556; 28(2): 146-154.
7. Fisher, J.D., & Fisher, W.A. Information-Motivation-Behavioral Skills Model. In R.J.
Diclemente, R.A. Crosby, M.C. Kegler, editors. Emerging theories in health promotion practice
and research. San Fancisco: Jossey-Bass; 2002: 40-70.
8. ศรีพรรษ์ ถาวรรัตน์. ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลข่าวสาร การสร้างแรงจูงใจ และการพัฒนา
ทักษะต่อพฤติกรรมสุขภาพทางเพศของนักเรียนชายมัธยมศึกษาตอนต้น. [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยมหิดล; 2555.
9. องค์การแพธ. คู่มือการจัดกิจกรรมรณรงค์ประกอบหนังสั้น “ทางเลือก”. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:
โครงการเพศศึกษารอบด้าน; 2554.
10. ชลดา กิ่งมาลา. ผลของโปรแกรมการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นหญิง. [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558
11. ชลดา กิ่งมาลา, ทัศนีย์ รวิวรกุล, อาภาพรเผ่าวัฒนา. ผลของโปรแกรมการป้องกันการตั้งครรภ์
ในวัยรุ่นหญิง. ว.วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ 2558; 31(3): 25-34.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-31