ผลการนำความรู้เรื่องการปฏิบัติตัวหลังคลอดมาประยุกต์ใช้กับการอยู่ไฟในสตรีหลังคลอด เขตอำเภอเมืองจังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ศิรินทิพย์ คำมีอ่อน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • ทิพวรรณ สมจิตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี
  • ลักขณา พุทธรักษ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

คำสำคัญ:

การอยู่ไฟ,, สตรีหลังคลอด, ความรู้การปฏิบัติตัวหลังคลอด

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการนำความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวหลังคลอด

กับการอยู่ไฟหลังคลอดไปใช้จริงของสตรีหลังคลอดในระยะ 1 เดือนแรก ศึกษาภาวะสุขภาพ และการปฏิบัติตัวของสตรีหลังคลอดขณะอยู่ไฟหลังคลอด กลุ่มตัวอย่างคือสตรีหลังคลอดปกติที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอเมือง

จังหวัดอุดรธานี คัดเลือกโดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 20 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ ข้อมูลทั่วไป เครื่องมือในการวิจัยตรวจสอบค่าความเที่ยงของแบบสอบถาม แบบประเมินและบันทึกภาวะสุขภาพของสตรีหลังคลอด ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา เท่ากับ 0.89 แบบสัมภาษณ์ โครงสร้างการปฏิบัติตัวหลังคลอดของสตรีหลังคลอดที่อยู่ไฟหลังคลอด ดัชนีความสอดคล้อง ค่า IOC เท่ากับ 0.75 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามด้วยตัวเอง และ สัมภาษณ์โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างระหว่างเดือน เมษายน 2560 ถึงเดือนตุลาคม 2560 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ร้อยละ และวิเคราะห์ ตามเนื้อหา

ผลการศึกษา พบว่าในระยะ 1 เดือนแรกสตรีหลังคลอดได้นำความรู้ในการปฏิบัติตัวหลังคลอดไปประยุกต์ใช้ในการอยู่ไฟหลังคลอด ดังนี้ แคร่ไฟอยู่ในที่โล่งแจ้ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่นำแผลฝีเย็บไปอังไฟ ลุกจากแคร่ไฟมาให้นมบุตร ดื่มน้ำอุ่นและน้ำสมุนไพรเพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือดและเพิ่มปริมาณน้ำนม อาบน้ำอุ่นวันละ 3 – 4 ครั้ง และไม่งดรับประทานอาหารแสลง ใช้ถ่านในการอยู่ไฟ และอยู่ไฟนาน 7 – 9 วัน รวมทั้งใช้สมุนไพรในการปูพื้นรองนอนบนแคร่ไฟ จากการประเมินภาวะสุขภาพในขณะอยู่ไฟ และหลังอยู่ไฟพบว่า สตรีหลังคลอดมีภาวะสุขภาพดี สัญญาณชีพปกติ ไม่มีภาวะตกเลือดหลังคลอด แผลฝีเย็บติดดีไม่แยกไม่มีภาวะติดเชื้อ ไม่ปวดแผลฝีเย็บ อีกทั้งยังพบว่าสตรีหลังคลอดมีความสุขสบายไม่ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ น้ำนมมามากเพียงพอต่อความต้องการของทารก มดลูกเข้าอู่เร็วในช่วงวันที่ 7 – 14 วัน น้ำคาวปลาหมดภายใน 14 วันหลังคลอดบุตร

จากผลการวิจัยครั้งนี้การให้ความรู้ในการปฏิบัติตัวหลังคลอดต่อการอยู่ไฟหลังคลอด ที่เหมาะสม

เป็นการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการอยู่คลอด อีกทั้งยังเป็นการให้การพยาบาลที่สอดคล้องกับบริบทความเชื่อด้านสุขภาพของชุมชน

References

1. วรรณรัตน์ จงเจริญยานนท์. การพยาบาลสูติศาสตร์ เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 12. นนทบุรี: โครงการ
สวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข; 2557.
2. Anderson F.W.J and Johnson C.T. Complementary and alternative medicine in
obstetrics. International Journal of Gynecology and Obstetrics 2005; 91: 116-124.
3. ปิยะนุช พรหมสาขา ณ สกลนคร. พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพและการพยาบาลเพื่อการส่งเสริมสุข
ภาพหลังคลอด. ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2. อุดรธานี: ศักดิ์ศรี อักษรการพิมพ์; 2551.
4. ศิริพันธุ์ ศิริพันธุ์. การพยาบาลมารดาหลังคลอดที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม. นราธิวาส:
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์; 2557.
5. สมหญิง พุ่มทอง, ลลิตา วีระเสถียร, วรพรรณ สิทธิถาวร, อภิชาต รุ่งเมฆารัตน์, อรลักษณา แพรัตกุล. การดูแลสุขภาพหญิงหลังคลอดด้วยการแพทย์แผนไทย ในจังหวัดอำนาจเจริญ. ว.วิจัยระบบสาธารณสุข 2553; 4(2), 281-295.
6. ศิริพันธุ์ ศิริพันธุ์, สุกัญญา เทพโช๊ะ, ดาริน โต๊ะกานิ. ประสบการณ์ของหมอตำแยในการดูแลสุขภาพ
มารดาหลังคลอดในจังหวัดนราธิวาส. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ครั้งที่ 1 การวิจัยเพื่อพัฒนาสามจังหวัดชายแดนใต้และประเทศไทย; 7-8 สิงหาคม 2555; ณ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์และโรงแรมอิมพิเรียลนราธิวาส. นราธิวาส: บรรลือการพิมพ์; 2553.
7. นภาภรณ์ เพลียสันเทียะ, สุทธิรัตน์ บุษดี. การพัฒนารูปแบบกระบวนการบริการพยาบาลการดูแล
สุขภาพหญิงหลังคลอด โรงพยาบาลพยัคฆ์ภูมิพิสัยจังหวัดมหาสารคาม. ว.โรงพยาบาลมหาสารคาม 2558;
12 (1). 55-62.
8. วิไลพรรณ สวัสดิ์พาณิชย์. การพยาบาลมารดาหลังคลอด. พิมพ์ครั้งที่ 7. ชลบุรี: ศรีศิลปะการ พิมพ์;
2554.
9. ศิริพันธุ์ ศิริพันธุ์, ปรางทิพย์ ท.เอลเทอร์.บทบาทพยาบาลในการดูแลมารดาและทารกที่มีความ
ต่างทางวัฒนธรรม. ว.เครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2559; 3(3): 220 - 232.
10. ละเอียด แจ่มจันทร์, สุรี ขันธรักษ์วงค์, สุนทรหงส์ทอง, นพรัตน์ จำปาเทศ. การแพทย์ แผนไทยกับ
การบริบาลมารดาหลังคลอดในชุมชนภาคกลาง. ว.พยาบาลทหารบก. 2557; 15(2): 195-202.
11. วีริสา ทองสง. บทบาทและภูมิปัญญาพื้นบ้านของหมอตำแยในจังหวัดพัทลุง. การแพทย์แผนไทย
มหาบัณฑิต แพทย์แผนไทย. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2559.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-31