อาการปวดหลังภายหลังการให้ยาระงับปวดเข้าถุงน้ำไขสันหลังส่วนเอวในสตรีที่มาผ่าตัดคลอดบุตร: การศึกษาจากเหตุไปหาผลแบบไปข้างหน้า

ผู้แต่ง

  • ธัญญารัตน์ พันธ์ภานุสิทธ์ โรงพยาบาลอุดรธานี
  • อาคม พรมมหาไชย โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

อาการปวดหลัง, หัตถการระงับปวดฉีดยาเข้าถุงน้ำไขสันหลัง, ผ่าตัดคลอดบุตร

บทคัดย่อ

อาการปวดหลังพบได้บ่อยภายหลังผ่าตัดคลอดบุตรโดยได้รับหัตถการระงับปวดด้วยการฉีดยาระงับปวดเข้าถุงน้ำไขสันหลังส่วนเอว ผู้ป่วยหลายรายมีความวิตกกังวลจากอาการปวดหลังดังกล่าว อย่างไรก็ตามข้อมูลเกี่ยวกับความชุกและปัจจัยที่ทำให้เกิดการปวดหลังดังกล่าวในสตรีไทยยังมีการศึกษาค่อนข้างน้อย งานวิจัยนี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อนำเอาข้อมูลดังกล่าวมาใช้ในการให้คำปรึกษาแนะนำสตรีตั้งครรภ์ที่จะมารับการผ่าตัดคลอดต่อไปวิธีการศึกษาโดยเก็บข้อมูลที่โรงพยาบาลอุดรธานีตั้งแต่เดือนเมษายน 2559 ถึงเดือน มิถุนายน 2560 กลุ่มประชากรที่ศึกษา คือ หญิงมาคลอดบุตรโดยวิธีผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องและได้รับการฉีดยาชาเข้าถุงนํ้าไขสันหลังส่วนเอว ทำการเก็บข้อมูลแบบไปข้างหน้าโดยเก็บข้อมูลพื้นฐานและปัจจัยที่คาดว่าจะมีผลต่อการปวดหลัง จากนั้นทำการเก็บข้อมูลอาการปวดหลังทำโดยการสอบถามทางโทรศัพท์ หลังการผ่าตัดคลอดที่เวลา 1, 3 และ 6 เดือน
ผลการศึกษาผู้เข้าร่วมการศึกษาเป็นหญิง จำนวน 330 คน พบความชุกของอาการปวดหลังหลังผ่าคลอดที่เวลา 1 เดือน 121 คน (ร้อยละ 36.7) ที่เวลา 3 เดือน 70 คน (ร้อยละ 21.2) และที่เวลา 6 เดือน 47 คน (ร้อยละ 14.2) เมื่อทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรพบว่าประวัติปวดหลังมาก่อนตั้งครรภ์ และประวัติปวดหลังขณะตั้งครรภ์มีความสัมพันธ์กับการเกิดการปวดหลังเรื้อรังภายหลังการผ่าตัดคลอด (AOR 10.475, 95%CI 4.789-22.912, AOR 5.748, 95%CI 1.879-17.584 ตามลำดับ, p-value <0.01, p-value=0.008) และดัชนีมวลกายที่เพิ่มขึ้นจะเพิ่มโอกาสภาวะปวดหลังเรื้อรัง
โดยสรุปสตรีตั้งครรภ์ประมาณหนึ่งในสามจะเกิดอาการปวดหลังภายหลังการผ่าตัดคลอดโดยส่วนหนึ่งจะเกิดเรื้อรังมากกว่า 6 เดือน หลังการผ่าตัด โดยผู้ที่มีประวัติการปวดหลังมาก่อนตั้งครรภ์และขณะตั้งครรภ์ และดัชนีมวลกายที่เพิ่ม จะเพิ่มโอกาสการปวดหลังภายหลังการผ่าตัดคลอด

References

1. Burns SM, Cowan CM. Spinal anaesthesia for caesarean section: current
clinical practice. Hosp Med 2000; 61(12): 855-8.
2. Tay HB, Low TC, Loke YH: Morbidity from subarachnoid spinal anaesthesiaa
prospective study on the post-operative morbidity from subarachnoid spinal anaesthesia. Singapore Med J 1989; 30(4): 350-5.
3. Mogren IM. Does caesarean section negatively influence the post-partum prognosis
of low back pain and pelvic pain during pregnancy?.Eur Spine J 2007; 16(1): 115-21.
4. SaeidPasban-Noghabi. SaeidPasban -Noghabi. A Hamzei. H Nazemi. H Kamran
Bilandy. Correlative factors of post dural puncture backache in cesarean section. Journal of Jahrom University of Medical sciences. 2014 Jan; 11(4): 17-25.
5. Sng BL, Sia AT, Quek K, Woo D, Lim Y. Incidence and risk factors for chronic pain after caesarean section under spinal anaesthesia. Anaesth Intensive Care 2009; 37(5): 748-52.
6. Wang CH, Cheng KW, Neoh CA, Tang S, Jawan B, Lee JH. Comparison of the incidence of postpartum low back pain in natural childbirth and cesarean section with spinal anesthesia. ActaAnaesthesiol Sin 1994; 32(4): 243-6
7. Shaheen K, Arif T, Shahida S. Backache in Pregnancy. Biomedica 2006; 22(1): 12-5.
8. วิไล กุศลวิศิษฎ์กุล, การชักตัวอย่าง. ใน: สิริกร ชุมทอง,บรรณาธิการ. สถิติและการวิจัยสำหรับ
วิทยาศาสตร์สุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2561. หน้า 5-37.
9. Wu WH, Meijer OG, Uegaki K, Mens JM, van Dieën JH, Wuisman PI, et al. Pregnancyrelated pelvic girdle pain (PPP), I: Terminology, clinical presentation, and prevalence. Eur Spine J. 2004; 13: 575-89.
10. Terzi H, Terzi R, Altinbilek T. Pregnancy-related lumbopelvic pain in early postpartum period andnrisk factor. Int J Res Med Sci 2015; 3(7): 1617-1621.
11. Mogren I.M. Previous physical activity decreases the risk of low back pain and pelvic pain during pregnancy. Scandinavian J Public Health. 2005; 33: 300-6.
12. Merskey H, Bogduk N. Classification of chronic pain. 2nd ed. Seattle: IASP Press; 1994. p. 1
13. Breen TW, Ransil BJ. Factors associated with back pain after childbirth. Anesthesiology 1994; 81(1) :29-34.
14. Chia YY, Lo Y, Chen YB, Liu CP, Huang WC, Wen CH. Risk of Chronic Low Back Pain
Among Parturients Who Undergo Cesarean Delivery With Neuraxial Anesthesia: A Nationwide
Population-Based Retrospective Cohort Study. Medicine (Baltimore) 2016; 95(16): e3468.
15. Dooley N, Tan T.A survey of the prevalence of persistent pain after vaginal
delivery: A pilot study. Ir J Med Sci 2013; 182(1): 69-71.
16. Joshi S, Parikh S. Prevalence of low back pain and its impact on quality of life in
postpartum women.Int J Recent Sci Res 2016; 7(11): 14342-14348.
17. ShuttLE, Valentine SJ. Spinal anaesthesia for caesarean section: comparison
of 22-gauge and 25-gauge Whitacre needles with 26-gauge Quincke needles. Br J Anaesth 1992; 69(6): 589-94.
18. Jin J, Peng L, Chen Q, Zhang D, Ren L, Qin P, et al. Prevalence and risk factors for
chronic pain following cesarean section: a prospective study. BMC Anesthesiol 2016; 16(1):
99.
19. Abbasi S, Hamid M, Ahmed Z, Nawaz FH. Prevalence of low back pain experienced
after delivery with and without epidural and telephonic survey. Indian J Anaesth 2014;5
8(2): 143-8.
20. Agarwal A, Kishore K. Complications and controversies of regional anaesthesia:
a review. Indian J Anaesth2009; 53(5): 543-53.
21. Bowring J, Fraser N, Vause S, Heazell AEP. Is regional anesthesia better than general
anesthesia for caesarian section?, J ObstetGynaecol 2006; 26: 433-4.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-31