ผลการใช้โปรแกรมครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ ต่อพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวด ในระยะเจ็บครรภ์และระยะเวลาการเบ่งคลอด โรงพยาบาลอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ผดาวดี สาฆะ โรงพยาบาลอุดรธานี
  • ปทุมมา กังวานตระกูล โรงพยาบาลอุดรธานี
  • สุดาพร สุทธิพันธุ์ตระกูล โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

โปรแกรมครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลหญิงตั้งครรภ์, พฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวด ในระยะเจ็บครรภ์, ระยะเวลาในการเบ่งคลอด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง โดยศึกษาผลการใช้โปรแกรมครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแล
หญิงตั้งครรภ์ ต่อพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในระยะเจ็บครรภ์และระยะเวลาการเบ่งคลอด ตัวอย่างที่ใช้คือ หญิงตั้งครรภ์จำนวน 80 คน ที่มารับบริการฝากครรภ์และคลอดที่ห้องคลอด โรงพยาบาลอุดรธานี คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ที่กำหนด แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 40 คน ที่ได้รับโปรแกรมครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ และกลุ่มควบคุม 40 คน ที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ ต่อพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในระยะเจ็บครรภ์และระยะเวลาการเบ่งคลอด ข้อมูลส่วนบุคคลของหญิงตั้งครรภ์และผู้ดูแล แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล แบบสังเกตพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวด ระยะเวลาการเบ่งคลอด และความพึงพอใจของหญิงตั้งครรภ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบที แบบอิสระต่อกัน (independent t-test)
ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Mean difference = 1.22; 95% CI: 0.54 to 1.90; p<0.01) มีค่าเฉลี่ยของระยะเวลาการคลอดสั้นกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Mean difference = -9.90; 95% CI: -13.07 to -6.74; p<0.01) และมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความพึงพอใจของการคลอดมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Mean difference = 2.48; 95% CI: 0.40 to 4.55; p<0.01) ซึ่งจากผลการวิจัย มีข้อเสนอแนะว่า โปรแกรมครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลหญิงตั้งครรภ์นี้มีประโยชน์ในการนำไปใช่ดูแลผู้คลอดเพื่อช่วยลดความเจ็บปวดลดระยะเวลาการเบ่งคลอด และเพิ่มความพึงพอใจต่อการคลอดได้

References

1. จิตตานันท์ ศรีสุวรรณ. ผลของการเตรียมคลอดโดยให้ครอบครัวมีส่วนร่วมต่อความรู้ความวิตกกังวลระดับความเจ็บปวดและพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดของมารดาวัยรุ่นครรภ์แรก [วิทยานิพนธ์].ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2550.
2. สุภาพรรณ ทิพย์สัจจะธรรม, ไกรสร อัมมวรรธน์. ผลของโปรแกรมนวดบำบัดด้วยนํ้ามันหอมระเหยต่อความเจ็บปวดในการเจ็บครรภ์คลอดที่โรงพยาบาลสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี [วิทยานิพนธ์].กรุงเทพ:มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
3. หญิง แท่นรัตน์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการเผชิญการเจ็บครรภ์คลอดต่อคะแนนความเจ็บปวด
และการรับรู้ประสบการณ์การคลอดของผู้คลอดครั้งแรก [วิทยานิพนธ์]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2559.
4. ดารุณี จันฤาไชย, กริยากร ธิวะโต, จันทร์เพ็ญ แพงดวงแก้ว. ผลของการพยาบาลแบบสนับสนุนประคับประคองในระยะคลอด ต่อความเครียดและการรับรู้ประสบการณ์การคลอดของมารดาครรภ์แรกโรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร. ว.สภาการพยาบาล 2556; 28: 100-110.
5. กุลธิดา หัตถกิจพาณิชกุล, วรรณา พาหุวัฒนกร, เยาวลักษณ์ เสรีเสถียร, ดิฐกานต์ บริบูรณ์หิรัญสาร.
ผลของโปรแกรมการสอนร่วมกับการมีส่วนร่วมของสามีต่อการปรับตัวด้านบทบาทการเป็นมารดาของมารดาวัยรุ่น ในระยะหลังคลอด. ว.สภาการพยาบาล 2555; 27(4) :84-95.
6. ศิริวรรณ ยืนยง, นันท์นภัส รักไทย. ผลของการสนับสนุนในระยะคลอดจากญาติใกล้ชิดต่อความเจ็บ
ปวด ความวิตกกังวลและความพึงพอใจต่อประสบการณ์การคลอดของมารดาครรภ์แรก. ว.คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2554; 19: 68-82.
7. นภา ศรีทองใบ. ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของหญิงตั้งครรภ์แรก [วิทยานิพนธ์]. ชลบุรี:มหาวิทยาลัยบูรพา; 2559.
8. เวณุกา พรกุณา, สร้อย อนุสรณ์ธีรกุล. ผลของโปรแกรมต่อความรู้ การควบคุมระดับน้ำตาลและการกลับมารับการรักษาซํ้าของหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน. ศรีนครินทร์เวชสาร 2560; 32(2):135-142.
9. อ้อมใจ พลกายา. การพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยใช้การมีส่วนร่วมของครอบครัวในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น. ว.พยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2558; 55-67.
10. สุดกัญญา ปานเจริญ. ผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพร่วมกับการสนับสนุนจากครอบครัวต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก. ว.การพยาบาลและการศึกษา 2557: 7(3);113-123.
11. โรงพยาบาลอุดรธานี. สถิติผู้มารับบริการคลอดโรงพยาบาลอุดรธานี ปีงบประมาณ 2558-2559.
12. อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น:
คลังนานาวิทยา; 2548.
13. ปาริฉัตร อารยะจารุ, เยาวลักษณ์ เสรีเสถียร,ฉวีวรรณ อยู่สำ ราญ, วรรณา พาหุวัฒนากร.ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ ต่อความวิตกกังวล ระดับความเจ็บปวดและพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอด ของมารดาวัยรุ่นครรภ์แรก. ว.สภาการพยาบาล 2555; 27(4): 96-108.
14. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการมีส่วนร่วมของสามีหรือญาติในการเฝ้าคลอด.นนทบุรี: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก;2554.
15. จันทร์เพ็ญ ดุษิยามี. ผลของเทคนิคการผ่อนคลายด้วยจิตคลุมกายต่อพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดและผลลัพธ์ของการคลอดในผู้คลอดครรภ์แรกที่มีผู้ช่วยเหลือในระยะแรก [วิทยานิพนธ์].ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2543.
16. ฐิติพร อิงคถาวรวงศ์, อำนวย ลอยกุลนันท์,เสงี่ยม เตชะภัทรกุล, นันทิยา สุวรรณรัตน์. ผลการให้คำแนะนำในการปฏิบัติตนอย่างมีแบบแผนต่อการเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอดของหญิงตั้งครรภ์แรก[รายงานการวิจัย]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์;2542.
17. เบญจมาภรณ์ ชูช่วย. ผลของโปรแกรมการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องในระยะคลอดโดยพยาบาลต่อระดับความเจ็บปวดและพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในหญิงวัยรุ่นครรภ์แรก [วิทยานิพนธ์]. สงขลา:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2558..
18. เกษร ไชยพรรณนา, จิราภรณ์ จำปี. การศึกษาพฤติกรรมการเผชิญความปวดในระยะคลอดของมารดาวัยรุ่นครรภ์แรกที่มาคลอดในโรงพยาบาลราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ [รายงานการวิจัย]. สงขลา:
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2557.
19. ศศิธร เตชะมวลไววิทย์.ความปวดและการจัดการความปวดของมารดาในระยะที่หนึ่งของการคลอด. ว.วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพฯ 2558; 31 :114-24.
20. ธัญญารัตน์ กุลณีจิตต์เมธี. ความปวดและการจัดการความปวดในระยะเจ็บครรภ์คลอด. สมาคมสถาบันอุดม ศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย 2560; 6:158-165.
21. นราภรณ์ ฤทธิเรือง. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอดและการรับรู้ประสบการณ์ของผู้คลอด [วิทยานิพนธ์]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2559.
22. ปิยรัตน์ โสมศรีแพง,โสมภัทร ศรไชย.เปรียบเทียบการเตรียมคลอดและวิธีการเบ่งต่อผลการคลอดของมารดาที่คลอดครั้งแรก. ว.พยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2558; 26: 35-45.
23. วันณภา สุขยิ่ง, ศศิธร พุมดวง, เบญญาภา ธิติมาพงษ์. ผลของการเบ่งคลอดแบบธรรมชาติร่วมกับการควบคุมลมหายใจเบื้องต้นของโยคะต่อระยะเวลาในระยะที่ 2 ของการคลอดและความเหนื่อยล้าหลังคลอดในหญิงครรภ์แรก. ว.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2561; 10: 1-12.
24. สุรีย์พร กฤษเจริญ, ปราณี พงศ์ไพบูลย์,กัญจนี พลอินทร์,วรางคณา ชัชเวช,สุภาพ มากสุวรรณ.ผลของโปรแกรมการเตรียมญาติเพื่อสนับสนุนการคลอดอย่างต่อเนื่อง ต่อความเจ็บปวดและความพึงพอใจของผู้คลอดวิถีธรรมชาติ และความพึงพอใจของพยาบาล. ว.พยาบาลสงขลานครินทร์ 2559; 36:210-21.
25. กมลทิพย์ ตั้งหลักมั่นคง. ความไม่สอดคล้องระหว่างความคาดหวังกับประสบการณ์จริงในการคลอดบุตรของผู้หญิงไทย. ว.วิชาการสาธารณสุข 2560; 26:525-32

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-31