การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตในงานบริการผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน: กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต, แบบประเมิน qSOFAบทคัดย่อ
ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ (Septic shock) เป็นภาวะเร่งด่วนที่พบได้บ่อยในห้องฉุกเฉินเป็นปัญหา
ทางสาธารณสุขที่สำคัญเนื่องมาจากมีการดำเนินของโรคที่รวดเร็ว รุนแรงและมีอัตราการเสียชีวิตสูง ความล่าช้าในการประเมิน การวินิจฉัยและการรักษาจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน และเพิ่มอัตราตายของผู้ป่วยได้ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาแนวทางการพยาบาลผปู้ ว่ ยติดเชื้อในกระแสโลหิต และกรณีศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อในกระแสเลือดที่มีภาวะช็อกในงานบริการผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลบางพลี ประกอบด้วย การคัดกรอง การรักษา การพยาบาล และการป้องกันภาวะแทรกซ้อน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต โดยการทบทวนวรรณกรรมและบทความงานวิจัยเกี่ยวกับการติดเชื้อในกระแสเลือด ทบทวนรายงานผลิตภาพทางการพยาบาลของงานบริการผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน และรายงานข้อมูลสถิติผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดและผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดที่มีภาวะช็อก ระหว่าง พ.ศ. 2558-2560 รวมถึงทบทวนระบบบริการก่อนและหลังการปรับปรุงแบบประเมินsepsis ในหน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลบางพลี ตั้งแต่จุดคัดกรอง การประเมิน วินิจฉัย และรักษาพยาบาล โดยการใช้แบบประเมิน qSOFA สำหรับคัดกรองผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด
ผลการศึกษาพบว่า หลังปรับปรุงระบบคัดกรองผู้ป่วยโดยใช้แบบประเมิน qSOFA สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด สามารถลดอัตราการตายลงได้ร้อยละ 17.1% ผู้ป่วยที่มาโดยระบบการแพทย์ฉุกเฉินได้รับการประเมินเข้ารับการรักษาต่อในโรงพยาบาลทันที ผู้ป่วยได้รับยาปฏิชีวนะภายใน 1 ชั่วโมง และไม่พบภาวะน้ำเกินจากการได้รับสารละลายทางหลอดเลือดดำ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของ การพัฒนาแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการได้รวดเร็วขึ้น ได้รับการรักษาพยาบาลตาม CPG นอกจากนั้นยังสามารถใช้ต่อเนื่องไปยังทุกหน่วยงานขององค์กรได้เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นมาตรฐานเดียวกันต่อเนื่องครบถ้วนมากขึ้น ทำให้ผู้ป่วยได้รับบริการที่รวดเร็ว ลดอัตราการนอนโรงพยาบาล ลดอัตราการตาย และได้ขยายผลการใช้ไปยังโรงพยาบาลชุมชนและรพสต.เครือข่ายอีกด้วย
References
พ.ศ. 2561. นนทบุรี: กระทรวง; 2561.
2. โรงพยาบาลบางพลี. รายงานข้อมูลสถิติผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดและผู้ป่วยที่มีภาวะติด
เชื้อในกระแสเลือดที่มีภาวะช็อก ระหว่าง พ.ศ. 2558-2560. สมุทรปราการ: โรงพยาบาล; 2560.
3. ทิฎฐิ ศรีวิลัย, วิมล อ่อนเส็ง. ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ: ความท้าทายของพยาบาลฉุกเฉิน.
ว.วิทยาลัยบรมราชชนนีอุตรดิตถ์ 2560; 9(2): 152-62.
4. มณฑิรา มณีรัตนะพร, นัฐพล ฤทธิ์ทยมัย,ศรีสกุล จิรกาญจนากร. อายุรศาสตร์ทันใจ Survival
guide in acute care medicine. พิมพ์ครั้งที่ 4.กรุงเทพฯ: ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์
ศิริราชพยาบาล; 2561.
5. โรงพยาบาลบางพลี. รายงานข้อมูลสถิติผู้ป่วยเสียชีวิต ระหว่าง พ.ศ. 2559-2560. สมุทรปราการ:
โรงพยาบาล; 2560.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารไปเผยแพร่ทางการค้าก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร