การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุ
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ, พฤติกรรมสุขภาพ, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สภาวะสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ 2) พัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุ และ 3) เปรียบเทียบพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุก่อนและหลังการจัดรูปแบบการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ดำเนินการวิจัยเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2561 เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) และการสนทนากลุ่ม (Focus group discussion) ประชุมเชิงปฏิบัติการโดยใช้เทคนิคกระบวนการประชุมแบบมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ (AIC) และเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีการให้ผู้ป่วยตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพ โดยมีขอบเขตเนื้อหาที่เป็นประเด็นในการศึกษา 7 ด้าน คือ พฤติกรรมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย ความรับผิดชอบต่อสุขภาพตนเอง การจัดการกับความเครียด การเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และด้านสิ่งแวดล้อม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และ Paired t-test
ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่า 1) พฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุด้านการบริโภคอาหาร ส่วนใหญ่ทำอาหารรับประทานเอง 2) กิจกรรมการออกกำลังกายในกลุ่มผู้สูงอายุยังไม่เหมาะสม และ 3) ปัญหาผู้สูงอายุไม่ตระหนักเรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และภาวะแทรกซ้อนที่ตามมา
ผลการวิจัยเชิงปริมาณ จากการสำรวจ และวิเคราะห์ระดับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุตำบลนาเสียว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 315 คน ภายหลังการจัดรูปแบบการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ค่าเฉลี่ยระดับพฤติกรรม (=3.92, S.D.=0.48) สูงกว่าก่อนการจัดรูปแบบการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (=3.90, S.D.=0.50) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
จากการศึกษาได้พัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม 1 รูปแบบ คือ รูปแบบการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน โดยพัฒนากิจกรรมดังนี้ 1) กิจกรรมการให้ความรู้ การสาธิต และการให้ข้อมูลเพื่อสร้างความตระหนักต่อพฤติกรรมสุขภาพ 2) กิจกรรมเยี่ยมบ้าน เพื่อติดตามดูแลและประเมินพฤติกรรมสุขภาพ 3) สร้างเครือข่ายในชุมชนโดยตั้งแกนนำผู้สูงอายุเพื่อให้ชุมชนและผู้สูงอายุเกิดความตระหนักต่อการรักษาสุขภาพ
References
2. สำนักงานวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน.รายงานการประชุมโครงการประชุมวิชาการบริการปฐมภูมิ.เรื่องการพัฒนาระบบดูแลผู้สูงอายุ: ระหว่างวันที่ 22 - 23 มกราคม 2552 กรุงเทพมหานคร;2552.
. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ.ระบบตรวจสอบคุณภาพข้อมูล 43 แฟ้ม (Health Data Center) [homepage on the Internet] สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2559 ; 2559.
4. Daniel,V.W. Biostatistic: A foundation for analysis in the health sciences. 4th ed. New York:John Wiley & Sons;1987.
5. Pender, N.J. Health Promotion in Nursing Practice. 3nd ed. California: Appleton and Lange;1996.
6. ชูศักดิ์ เวชแพศย์. การปฏิบัติตัวของ
ผู้สูงอายุเพื่อให้มีอายุยืน. กรุงเทพฯ:ศุภวนิชการพิมพ์;2532.
7. ปานชีวา ณ หนองคาย.การพัฒนา
รูปแบบการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุ ในจังหวัดอุดรธานี. [วิทยานิพนธ์]. มหาสารคาม:มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2551.
8. ชัยณรงค์ สระชัยปัญญา และคณะ.รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนากระบวนการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน : กรณีศึกษาบ้านวังไหตำบลหนองหญ้าปล้อง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย. เลย:สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดเลย;2545.
9. ชนิตา สุ่มมาตย์.การพัฒนารูปแบบการจัดการการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยองค์กรชุมชนในภาคอีสาน. [วิทยานิพนธ์]. มหาสารคาม;มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2551.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารไปเผยแพร่ทางการค้าก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร