ประสิทธิผลของยาคีโตโลแลคเปรียบเทียบกับมอร์ฟีนในการระงับอาการปวดแผลหลังผ่าตัดคลอดด้วยวิธีดมยาสลบ

ผู้แต่ง

  • วัชราภรณ์ อนวัชชกุล กลุ่มงานสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลหนองบัวลำภู

คำสำคัญ:

Ketorolac, Morphine, General Anesthesia, Cesarean Section, Pain

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของยาคีโตโลแลคกับมอร์ฟีน ในการระงับอาการปวดแผลหลังผ่าตัดคลอดด้วยวิธีดมยาสลบ ภายใน24 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัดผลข้างเคียงของยา และจำนวนครั้งที่ขอยา

วัสดุและวิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาโดยการสุ่ม เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของยาคีโตโลแลคกับมอร์ฟีน ในมารดาที่ผ่าตัดคลอดด้วยวิธีดมยาสลบ โดยจัดมารดาเข้ากลุ่ม แบ่งเป็นกลุ่มมอร์ฟีนจะได้รับยามอร์ฟีน 10 มิลลิกรัม จำนวน 66 ราย และกลุ่มคีโตโลแลคจะได้รับยาคีโตโลแลค 30 มิลลิกรัม จำนวน 66 ราย โดยทั้งสองกลุ่มจะได้รับยาฉีดเข้าทางกล้ามเนื้อเมื่อคะแนนความเจ็บปวด ≥6 ทุก 6 ชั่วโมง ประเมินคะแนนความเจ็บปวดหลังผ่าตัดคลอดชั่วโมงที่ 3, 6, 12 และ 24 โดยมีการบันทึกผลข้างเคียงของยาและจำนวนครั้งที่ขอยา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย และทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วย t-test และ exact probability test

ผลการศึกษา: ทั้งสองกลุ่มไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในด้านอายุ น้ำหนัก ส่วนสูง โรคประจำตัว อายุครรภ์ ปริมาณเลือดที่เสียขณะผ่าตัด และจำนวนบุตร แต่พบความแตกต่างในด้านอาชีพ ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด น้ำหนักทารกแรกเกิด และระยะเวลาผ่าตัด ไม่พบความแตกต่างของคะแนนความเจ็บปวดหลังผ่าตัดชั่วโมงที่ 3, 6, 12 และ 24 (MD = -0.21, 0.15, 0.33, 0.02, 95%CI = -0.91-0.48, -0.49-0.80, -0.31-0.97, -0.34-0.37) และพบว่ากลุ่มที่ได้ยาคีโตโลแลคมีอาการคลื่นไส้อาเจียนและวิงเวียนน้อยกว่า (p<0.001) กลุ่มที่ได้มอร์ฟีนอย่างมีนัยสำคัญ

สรุป: ยาคีโตโลแลคมีประสิทธิผลในการลดอาการปวดแผลหลังผ่าตัดคลอดได้เทียบเท่ามอร์ฟีน และให้ผลข้างเคียงน้อยกว่า ยาคีโตโลแลคสามารถใช้เป็นทางเลือกในการระงับอาการปวดหลังผ่าตัดคลอดได้

References

1. Cunningham FG, Leveno KJ, Bloom SL, Dashe JS, Spong CY, Haffman BL, et al. Obstetrical analgesia and anesthesia. Williams obstetrics. 25th ed. New York: McGraw Hill Education;2018:719-45.
2. McGlennan A, Mustafa A. General anaesthesia for caesarean section. Continuing education in anaesthesia critical care & pain 2009;9:148-51.
3. Ismail S. What is new in postoperative analgesia after caesarean sections?Anaesth, pain & intensive care 2012;16(2):123-6.
4. Zeng AM, Nami NF, Wu CL, Murphy JD. The Analgesic Efficacy of Nonsteroidal Anti inflammatory Agents (NSAIDs) in Patients Undergoing Cesarean Deliveries: A Meta-Analysis. Reg Anesth Pain Med 2016;41:763-72.
5. Noori s. Efficacy and safety of repeated postoperative administration of intramuscular diclofenac sodium in the treatment of post cesarean section pain. Arch Med Res 2001;32(2):148-54.
6. Inthigood N, Lertbunnaphong T, Jaishuen A. Efficacy of a single 40-mg intravenous dose of parecoxib for postoperative pain control after elective cesarean delivery: A double-blind randomized placebo-controlled trial. J Obstet Gynaecol Res. 2017;43(1): 92-99.
7. Miller KE.Use of Ketorolac for Pain Control After Cesarean Section. Am Fam Physician. 2004;70(1):191-192.
8. Pailin K, Komsun S, Densak P, Athita C, Supapen L, Junya P, Kornkarn B. Effect of Intravenous Ketorolac on Postoperative Pain after Cesarean Section:A Randomized Double-Blinded Controlled Trial. J Med Assoc Thai 2017;100 (Suppl. 5):S168-S174.
9. ชยันตร์ธร ปทุมานนท์.การวิเคราะห์ผลลัพธ์วัดซ้ำ.สถิติศาสตร์คลินิกการวิเคราะห์ถดถอยมาตรฐาน:2556:23-5.
10. Haefeli M, Elfering A. Pain assessment. Eur Spine J. 2006;15 (Suppl 1): S17–S24.
11. American Pain Society. Pain management and dosing guide [อินเตอร์เนต]. 2016 [เข้าถึงเมื่อ 22 ก.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://pami.emergency.med.jax.ufl.edu/.
12. Davis’s Drug Guide. Morphine [อินเตอร์เนต]. 2019 [เข้าถึงเมื่อ 22 ก.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.drugguide.com/ddo/
view/Davis-Drug-Guide/51518/all/morphine.
13. Melvin A. New Drug Approvals
[อินเทอร์เน็ต]. 2018 [เข้าถึงเมื่อ 15 ก.ค. 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://newdrugapprovals.org.
14. Committee on Drugs. American Academy of Pediatrics. The transfer of drugs and other chemicals into human milk. Pediatrics 2001;108:776-89.
15. Stremtan SR, Campos M, Kokajko L. ABM clinical protocol #15:Analgesia and anesthesia for the breastfeeding mother, Revised 2017. Breastfeeding medicine 2017;12:1-7.
16. Drugs and Lactation Database
(LacMed). Ketorolac [อินเตอร์เนต]. 2019 [เข้าถึงเมื่อ 22 ก.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.
ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK500998/.
17. Epocrates. Ketololac pregnancy/
Lactation [อินเตอร์เนต]. 2019 [เข้าถึงเมื่อ 22 ก.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก https://online.epocrates.com
/drugs/33613/ketorolac/Pregnancy-Lactation.
18. Brocks DR, Jamali F. Clinical pharmacokinetics of ketorolac tromethamine. Clin Pharmacokinet 1992;23:415-27.
19. Wischnik A, Manth SM, Lloyd J, Bullingham R, Thompson JS. The excretion of ketorolac tromethamine into breast milk after multiple oral dosing. Eur J ClinPharmacol 1989;36:521-4.
20. El Tahan MR, Warda OM, Yasseen AM, Attallah MM, Matter MK. A randomized study of the effects of preoperative ketorolac on general anaesthesia for caesarean section. Int J Obstet Anesth 2007;16:214-20.
21. Pavy TJ, Paech MJ, Evans SF. The effect of intravenous ketorolac on opioid requirement and pain after cesarean delivery. Anesth Analg 2001;92:1010-4.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-29