ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพบริการของโรงพยาบาลชุมชน ที่ผ่านการรับรองคุณภาพบริการ จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ทักษิณ ชาวดร นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารโรงพยาบาล)
  • รศ.ดร.พาณี สีตกะลิน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ศ.ดร.สมจิตต์ สุพรรณทัสน์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

การพัฒนาคุณภาพ, คุณภาพบริการ, โรงพยาบาลชุมชน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคลของบุคลากร ปัจจัยโครงสร้าง ปัจจัยกระบวนการบริการของโรงพยาบาลชุมชนที่ผ่านการรับรองคุณภาพบริการจังหวัดอุดรธานี (2) ระดับผลลัพธ์การพัฒนาคุณภาพบริการของโรงพยาบาลชุมชนที่ผ่านการรับรองคุณภาพบริการจังหวัดอุดรธานีและ (3) ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพบริการของโรงพยาบาลชุมชนที่ผ่านการรับรองคุณภาพบริการจังหวัดอุดรธานี

ประชากรที่ศึกษา คือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดอุดรธานี ที่ผ่านการรับรองคุณภาพบริการโรงพยาบาล จำนวน 4 แห่ง จำนวนบุคลากรทั้งหมด 579 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบสัดส่วน คำนวณได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 234 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม ประกอบไปด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล โครงสร้าง กระบวนการบริการและผลลัพธ์การพัฒนาคุณภาพบริการโรงพยาบาล สถิติที่ใช้คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ

ผลการศึกษาวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยส่วนบุคคลของบุคลากรส่วนมาก อายุ ระหว่าง 31-50 ปี จำนวน 125 คน เป็นวิชาชีพที่ให้การดูแลรักษาพยาบาล 132 คน มีประสบการณ์ในการทำงานระหว่าง 6-20 ปี จำนวน 81 คน และมีประสบการณ์ในงานพัฒนาคุณภาพ 172 คน ปัจจัยโครงสร้างในภาพรวมอยู่ในระดับสูง ยกเว้นด้านการสนับสนุนทรัพยากร การฝึกอบรมตามหน้าที่ที่รับผิดชอบ และการมีส่วนร่วมในการประเมินผลอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยกระบวนการในภาพรวม อยู่ในระดับสูงยกเว้นการวางแผนและฝึกซ้อมอัคคีภัยอยู่ในระดับปานกลาง (2) ระดับผลลัพธ์การพัฒนาคุณภาพบริการของโรงพยาบาลชุมชนที่ผ่านการรับรองคุณภาพบริการ ในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับสูง ยกเว้นด้านประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานสำคัญอยู่ในระดับปานกลาง (3) ปัจจัยโครงสร้าง ด้านกำลังคนมีผลและมีอิทธิพลต่อการพัฒนาคุณภาพบริการมากที่สุด ปัจจัยด้านกระบวนการด้านการบริหารความเสี่ยง ความปลอดภัยและคุณภาพมีผลและมีอิทธิพลต่อการพัฒนาคุณภาพบริการมากที่สุด

References

1. อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล. มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 4. กรุงเทพฯ:หนังสือดีวัน; 2561.
2. ฐิติมา ทุ่งเกรียงไกร. HA. [อินเตอร์เน็ต]. 2561. [เข้าถึงเมื่อ 20 มกราคม 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://hospital-accreditation.blogspot.com.
3. สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล(องค์การมหาชน). บันได 3 ขั้น สู่ HA.กรุงเทพฯ;2545.
4. วาที ดิเรกศรี. ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดชัยภูมิ [วิทยานิพนธ์].นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2561.
5. ณัฐกฤษณ์ ธรรมกวินวงศ์, และศิวิไลซ์ วนรัตน์วิจิตร.ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องของโรงพยาบาลชุมชน เขตสุขภาพที่ 3.
[วิทยานิพนธ์].พิษณุโลก:มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2539.
6. คณะตรวจราชการ. รายงานการตรวจราชการระดับจังหวัด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. การประชุมสรุปการตรวจราชการระดับจังหวัด; 6 กรกฎาคม 2561; ห้องประชุมชั้น 7 โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี.อุดรธานี;2561.
7. กลุ่มงานทรัพยากรบุคคล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี. ข้อมูลบุคลากร. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี;2561.
8. Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. Determining sample size for research activities Educational and psychological measurement; 1970.
9. Donabedian, A. Basic approaches to assessment: structure, process and outcome. The definition of quality and approaches to its assessment: explorations in quality assessment and monitoring; 1980.
10. Conbach, L. Joseph. Essential of Psychology and Education. New York:Mc–Graw Hill;1984.
11. นงนุช หลอมประโคน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานตามการดำเนินกิจกรรมพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดบุรีรัมย์. [วิทยานิพนธ์]. ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2546.
12. องอาจ วิพุธสิริ, จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์, มยุรี จิระวิศิษฎ์. รายงานการศึกษาวิจัยประเมินผลโครงการนำร่องการพัฒนาคุณภาพในโรงพยาบาลของรัฐด้วย TQM. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย;2540.
13. Anderson, C. A. Cassidy, B. &Rivenburgh, P. IMPLEMENTING CONTINUOUS
QUALITY IMPROVEMENT (CQI) IN HOSPITALS: Lessons: learned from the International Quality Study International Journal for Quality in Health Care;1991.
14. วิชาญ เกิดวิชัย. หน่วยที่ 14 การบริหารคุณภาพในสถานพยาบาล. ใน: เอกสารแนวการศึกษาชุดวิชาการวางแผนกลยุทธ์และการพัฒนาคุณภาพบริการของโรงพยาบาล. นนทบุรี:มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช;2548.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-29