การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการยาของผู้ป่วยไตเรื้อรังในโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • วันชัย พันศรี นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารโรงพยาบาล)
  • รศ.ดร.พาณี สีตกะลิน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ศ.ดร.สมจิตต์ สุพรรณทัสน์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการยา, ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง, ความร่วมมือในการใช้ยา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง หนึ่งกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง ศึกษาระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน ถึง 31 กรกฎาคม 2562โดยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการยาคงเหลือในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มารับยาโรงพยาบาลชุมชน (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการยาคงเหลือในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มารับยาโรงพยาบาลชุมชนโดยโปรแกรมการบริหารจัดการยาคงเหลือในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง (3) เปรียบเทียบผลการบริหารจัดการยาของผู้ป่วยก่อนและหลังการได้รับโปรแกรมการพัฒนารูปแบบบริหารจัดการยาในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง

ประชากรที่ศึกษา คือ  ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะ 3b–5 ที่มารับบริการที่คลินิกโรคไตเรื้อรัง โรงพยาบาลกุดจับ จังหวัดอุดรธานี ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 468 คนคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงได้ 96 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) แบบสอบถามเกี่ยวกับความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตัวในการใช้ยา (2) แบบสอบถามความร่วมมือในการใช้ยา จำนวน  38 ข้อ ตรวจสอบคุณภาพโดยตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาด้วยวิธีหาค่าดัชนีความสอดคล้อง ตรวจสอบความยาก อำนาจการจำแนกและตรวจสอบความเที่ยงด้วยวิธีใช้สัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคและคำนวณสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของคูเดอร์-ริชาร์ดสัน ที่ 20 มีค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.82 และ 0.75 ตามลำดับ (3) โปรแกรมการบริหารจัดการยาคงเหลือในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มารับยาโรงพยาบาลชุมชนตรวจสอบเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญ3 ท่าน สถิติที่ใช้ คือ คือร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

ผลการศึกษาพบว่า (1) ก่อนการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการยาผู้ป่วย ผู้ป่วยมีความรู้ของยาถูกขนาดอยู่ในระดับน้อยมีทัศนคติเกี่ยวกับยาที่ใช้อยู่ในรักษาระดับปานกลาง และมีการปฏิบัติเรื่องรับประทานยาถูกเวลาในระดับปานกลางและมีระดับการให้ความร่วมมือในการรักษาด้วยยาในระดับปานกลาง (2) เมื่อมีการการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการยาผู้ป่วย พบว่าผู้ป่วยมีความรู้ของยาถูกขนาดเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับปานกลาง มีทัศนคติยาที่ใช้รักษาอยู่ในระดับสูง และมีการปฏิบัติเรื่องรับประทานยาถูกเวลาในระดับสูงและมีระดับการให้ความร่วมมือในการรักษาด้วยยาในระดับสูง (3) เมื่อเปรียบเทียบผลของการบริหารจัดการยาของผู้ป่วยก่อนและหลังการได้รับโปรแกรมการพัฒนารูปแบบบริหารจัดการยาในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ในภาพรวมผู้ป่วยมีความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติ และความร่วมมือในการใช้ยาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

1. สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย.คำแนะนำการดูแลรักษาโรคไตเรื้อรังแบบองค์รวมชนิดประคับประคอง พ.ศ.2560. เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น;2560.
2. กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.คู่มือปฏิบัติการเพื่อดำเนินงานลดโรคไตเรื้อรัง CKD ในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง. สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์กรสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์;2559.
3. สุปรียา ตันสกุล.ทฤษฎีทางพฤติกรรมศาสตร์: แนวทางการดำเนินงานในงานสุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพ. Journal of Health Education 2550;30:105.
4. พุทธชาด ฉันทภัทรางกูร, ศิระพร ทองโปร่ง,มนูญทองมี. ผลการสำรวจยาเหลือใช้ของผู้ป่วยโรคเรื้อรังโรงพยาบาลบางสะพาน ประจวบคีรีขันธ์. ว.หัวหินสุขใจไกลกังวล2561;3:119-125.
5. พักตร์วิภา สุวรรณพรหม,นราวดี เนียมหุ่น, ปรารถนา ชามภูนช, ชบาไพร โพธิ์สุยะ, หทัยกาญจน์เชาวนพูนผล, สกนธ์ สุภากุลและคณะ.ปริมาณและมูลค่ายาเหลือใช้โรคเรื้อรังในครัวเรือน ตำบลสันทรายหลวง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่.ว.ไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ 2555;7: 22-8.
6. วรรณพร เจริญโชคทวี. สาเหตุของการไม่ใช้ยาตามคำแนะนำในผู้ป่วยกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด ณ วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล.[วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย;2557.
7. วรรณคล เชื้อมงคล, ปิยวดี สุขอยู่, นลินี เครือทิวา.ผลการให้คำปรึกษาด้านยาแก่ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตด้วยการล้างไตทางช่องท้องต่อความร่วมมือในการใช้ยาที่คลินิกบำบัดทดแทนไต โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กรุงเทพมหานคร.ว.เภสัชศาสตร์อีสาน2557;10(3):339-349.
8. ณธรชัยญาคุณาพฤกษ์, ปิยะรัตน์ นิ่มพิทักษ์พงศ์, นภวรรณ เจียรพีรพงษ์, ปิยะเมธ ดิลกธรสกุล.การศึกษาขนาดและผลกระทบทางการคลังของการครอบครองยาเกินจำเป็นและการแก้ปัญหาเชิงนโยบาย.สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข;2555.
9. เจาะลึกระบบสุขภาพ[อินเตอร์เน็ต].กรุงเทพฯ. [เข้าถึงเมื่อ 21พย.2561].เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/content/
2012/07/877
10. โรงพยาบาลกุดจับฝ่ายเภสัชกรรมชุมชนโรงพยาบาลกุดจับ จังหวัดอุดรธานี. สรุปผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2561.
11. กันนิษฐา มาเห็ม และพัฒนี ศรีโอษฐ์. ประสิทธิผลของการประยุกต์ใช้ กระบวนการสร้างความรู้ สร้างแนวทางการพัฒนาและสร้างแนวทางปฏิบัติ (AIC) ต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครราชสีมา 2555;18(2),5-19
12. พวงผกา คงวัฒนานนท์. การใช้ยาและแนวทางการรักษาในเอกสารประกอบการสอนรายวิชาการพยาบาลพื้นฐาน.คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.ปทุมธานี.2546.
13. พุทธชาติ มากชุมนุม, นลินี พูลทรัพย์ และทิพาพร พงษ์เมษา. ผลของการเยี่ยมบ้าน ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ. Veridian E-journal Science and Technology Silpakorn University. 2559;3(1),13-33
14. MacLaughlin EJ, Raehl CL, Treadway AK, Sterling TL, Zoller DP, Bond CA. Assessing medication adherence in the elderly. Drugs & aging 2005;22(3),231-255.
15. จิราภรณ์ ชูวงศ์, เจียมจิต โสภณสุขสถิตย์. ผลของการให้ความรู้ทางด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. ว.วิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ2554;5(2):41-50.
16. ทศพล ดวงแก้ว, พัชรินทร์สิรสุนทร. การประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพของ Marshall H. Becker ในการศึกษาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในชุมชนเมืองจังหวัดพิษณุโลก. ว.การวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน(มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) 2560;10(3).
17. Yap AF, Thirumoorthy T, Kwan YH. Medication adherence in the elderly. Journal of Clinical Gerontology and Geriatrics 2016;7(2):64-7.
18. ชไมพร กาญจนกิจสกุล. กระบวนการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการเกื้อหนุนด้านการใช้ยาของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. 2557.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-29