การศึกษาเปรียบเทียบความแม่นยำวิธีการวิเคราะห์คาร์ดิแอคโทรโปรนินระหว่าง High-Sensitivity Cardiac Troponin I และ High-Sensitivity Cardiac Troponin T ในการวินิจฉัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด NSTEMI
คำสำคัญ:
ไฮเซนซิทีฟคาร์ดิแอคโทรโปรนินไอ, ไฮเซนซิทีฟคาดิแอคโทรโปรนินที, กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน, กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดนันเอสทีอีเอ็มไอบทคัดย่อ
ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน(AMI) ชนิดที่คลื่นหัวใจไม่มี ST segment elevation (NSTEMI) มีการเพิ่มขึ้นของคาร์ดิแอคโทรโปนิน (cTn) อย่างน้อย 1 ชนิด การตรวจหาระดับคาร์ดิแอคโทรโปนิน (cTn) ในเลือด โดยวิธีการตรวจวิเคราะห์ที่นิยมใช้และมีความไวสูง ได้แก่ไฮเซนซิทีฟคาร์ดิแอคโทรโปนินไอ (hs-cTnI) และไฮเซนซิทีฟคาร์ดิแอคโทรโปนินที (hs-cTnT) แต่การศึกษาเปรียบเทียบการตรวจวิเคราะห์ทั้ง 2 วิธีในกลุ่มผู้ป่วยไทยยังมีข้อมูลน้อย การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความแม่นยำของการตรวจวิเคราะห์วิธี hs-cTnI และ hs-cTnT ในการวินิจฉัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด NSTEMI โดยตรวจหาระดับคาร์ดิแอคโทรโปรนินไอ (cTnI) และคาร์ดิแอคโทรโปรนินที (cTnT) ในเลือดของผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอกจำนวน 130 คน ที่ได้รับการวินิจฉัยด้วยผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) และตรวจวิเคราะห์ cTnI และ cTnT ในเลือด ในชั่วโมงที่ 0, 1, และ3 หลังเข้ารับการรักษา
ผลการศึกษาพบว่า ชั่วโมงที่ 0 มีผู้ป่วยจำนวน 95 คนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด NSTEMI ผู้ป่วยที่มีระดับของ cTnIมากกว่าค่า cut-off (0.04 ng/mL) มีจำนวน 124คนในขณะที่ผู้ป่วยที่มีระดับของ cTnT มากกว่าค่า cut-off (0.10 ng/mL) มีจำนวน88คนผลการตรวจวิเคราะห์ cTnI มีค่าความไว (Sensitivity) สูงกว่าการตรวจวิเคราะห์ cTnT9 (5.79% และ 65.26%ตามลำดับ)ส่วนความจำเพาะ(Specificity)การตรวจวิเคราะห์ cTnT สูงกว่า cTnI (57.14% และ 14.29% ตามลำดับ) และเมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการทดสอบทั้ง 2 วิธี โดยใช้ ROC area (AUC ที่ 95%Cl) พบว่าประสิทธิภาพการทดสอบชั่วโมงที่ 0 ของวิธี hs-cTnI (AUC=0.73, 95%Cl: 0.66-0.80) สูงกว่า hs-cTnT (AUC=0.70, 95%Cl: 0.63-0.78) อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) และพบว่า ในชั่วโมงที่ 1 และ 3 ประสิทธิภาพการทดสอบ cTnT (AUC=0.71, 95%Cl: 0.64-0.78 และ AUC= 0.74, 95%Cl: 0.68-0.80 ตามลำดับ) สูงกว่า hs-cTnI (AUC= 0.52, 95%Cl: 0.45-0.60 และ AUC= 0.59, 95%Cl: 0.51-0.66 ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05)
การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าวิธี hs-cTnI มีความไวที่ดีกว่าเหมาะสมนำไปใช้ในการตรวจคัดกรองการวินิจฉัยผู้ป่วย NSTEMI แต่วิธี hs-cTnT มีประสิทธิภาพของการวิเคราะห์ที่ดีกว่าเหมาะสมสำหรับใช้ในการวินิจฉัยผู้ป่วยNSTEMIหลังจากที่เข้ารับการรักษา 1-3 ชั่วโมง
References
2. Alpert JS, Thygesen K, Antman E, etal.Myocardial infarction redefined-a Consensus document of The Joint European Society of Cardiology/American College of Cardiology Committee for the redefinition of myocardial infarction. Journal of the American College of Cardiology 2000;36(3):959-969.
3. Amsterdam EA, Wenger NK, Brindis RG, et al. AHA/ACC Guideline for the Management of Patients with Non–ST-Elevation Acute Coronary Syndromes: a report of the American College of Cardiology/American Heart Association Task Force on Practice Guidelines. Journal of the American College of Cardiology 2014;64(24):139-228.
4. Srimahachota S, Kanjanavanit R, Boonyaratavej S. Demographic, Management Practices and In-Hospital Outcomes of Thai Acute Coronary Syndrome Registry (TACSR) : The Difference from the Western World. Journal Medical Association Thailand 2007; 90 (Suppl 1):1-11.
5. Hamm CW, Goldmann BU, Heeschen C, et al. Emergency room triage of Patients with acute chest pain by means of rapid testing for cardiac troponin T or troponin I. The New England Journal of Medicine 1997;337:1648–1653.
6. Zhu J, Su X, Li G, et al. The incidence of acute myocardial infarction in relation to overweight and obesity: a meta-analysis. Archives of Medical Science2014;10:855–862.
7. Schargrodsky H, Rozlosnik J, Ciruzzi M, et al. Body weight and nonfatal Myocardial infarction in a case-control study from Argentina. Sozial-Und Praventivmedizin 1994; 39:126–133.
8. Zhang H, Sun S, Tong L, et al. Effect of cigarette smoking on clinical outcomes of hospitalized Chinese male smokers with acute myocardial infarction. Chinese Medical Journal Engl2010;123:2807–2811.
9. Alemu R, Fuller EE, Harper JF,et al.Influence of smoking on the location of acute Myocardial infarctions. ISRN Cardiology2011:174358.
10. Yusuf S, Hawken S, Ounpuu S, et al. Effect of potentially modifiable risk factors associated with myocardial infarction in 52 countries (the INTERHEART study): case-control study. Lancet2004;364:937–952.
11. Friedlander Y, Arbogast P, Schwartz SM, et al. Family history as a risk factor for early onset myocardial infarction in youngwomen. Atherosclerosis2001;156:201–207.
12. Huma S, Tariq R, Amin F, et al. Modifiable and non-modifiable predisposing risk factors of myocardial infarction-A review.Journal of Pharmaceutical Sciences and Research 2012; 4:1649–1653.
13. Tantithum J. Guideline of ministration acute myocardial infraction for developed efficiency of takecare yourself. [Master’s Thesis], Mahidol University, Thailand 1993.
14. Martinez LG, House-FancherMA. Nursing management coronary artery Disease. Medical-surgical nursing: Assessment and management clinical problems. 5th ed. St.Louis:Mosby;2000.
15. Falk E, Shah PK, Fuster V. Coronary plaque disruption.Circulation1995;92:657-671.
16. Charoenpanichkit C, MD, Sritara P, MD, Yamwong S, MD, et al. Comparison between Cardiac Troponin I and Troponin T in the Diagnosis of Acute Myocardial Infarction. Thai Heart Journal 2008;21(1):001-007.
17. Labugger R, Organ L, Collier C, et al. Extensive troponin I and T modification detected in serum from patients with acute myocardial infarction. Circulation 2000;102: 1221–1226.
18. Eriksson S, Halenius H, Pulkki K, et al.Negative interference in cardiac troponin I Immunoassays by circulating troponin autoantibodies.Clinical Chemistry 2005;51: 839–847.
19. Eriksson S, Ilva T, Becker C, et al.Comparison of cardiac troponin I Immunoassays variably affected by circulating autoantibodies.Clinical Chemistry2005;51: 848–855.
20. Reichlin T, Hochholzer W, Stelzig C, et al. Incremental value of copeptin for Rapid rule out of acute myocardial infarction.Journal of the American College of Cardiology 2009;54: 60–68.
21. Reiter M, Twerenbold R, Reichlin T, et al. Early diagnosis of acute myocardial Infarction in patients with pre-existing coronary artery disease using more sensitive cardiac troponin assays. European Heart Journal 2012; 33: 988–997.
22. Thygesen K, Mair J, KatusH, et al. Recommendations for the use of cardiac Troponin measurement in acute cardiac care.European Heart Journal 2010; 31: 2197-2204.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารไปเผยแพร่ทางการค้าก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร