ผลของการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในผู้ป่วยที่ได้รับการสวนล้างกระเพาะปัสสาวะอย่างต่อเนื่อง (Continuous bladder irrigation: CBI) ภายหลังผ่าตัดต่อมลูกหมากโตผ่านท่อปัสสาวะ (TURP) โรงพยาบาลอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • กรรณิการ์ ศุภกิจอนันต์คุณ กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติทางการพยาบาล, การผ่าตัดต่อมลูกหมากโตผ่านท่อปัสสาวะ, การสวนล้าง กระเพาะปัสสาวะอย่างต่อเนื่อง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในผู้ป่วยหลังผ่าตัดต่อมลูกหมากโตผ่านท่อปัสสาวะที่ได้รับการสวนล้างกระเพาะปัสสาวะอย่างต่อเนื่อง (Continuous bladder irrigation:CBI) โรงพยาบาลอุดรธานี ทำการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคต่อมลูกหมากโตที่ได้รับการรักษาด้วยการสวนล้างกระเพาะปัสสาวะอย่างต่อเนื่องหลังการผ่าตัดเอาต่อมลูกหมากออกทางท่อปัสสาวะ แผนกศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลอุดรธานี จำนวน 30 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม 2562  ถึง มีนาคม 2562 โดยใช้แบบบันทึกข้อมูลการวิจัยซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลทั่วไปและข้อมูลการผ่าตัดของผู้รับบริการและแบบสอบถามข้อคิดเห็นผู้ให้บริการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาเป็นดังนี้

          ผู้ป่วยหลังผ่าตัดต่อมลูกหมากโตผ่านท่อปัสสาวะ (TURP) และได้รับการสวนล้างกระเพาะปัสสาวะต่อเนื่อง (Continuous bladder irrigation : CBI)  ทั้งหมดต่อ CBI ด้วย One container system ส่วนใหญ่มีระยะเวลาในการทำเฉลี่ย  42 ชั่วโมง ระยะเวลาในการ On Traction เฉลี่ย  15 ชั่วโมง มีการใช้ NSS เฉลี่ย  18,833.33  ซีซี  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 5,388.89 มีระดับ Pain score ส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 1-3 คะแนน เวลาที่ได้รับยาแก้ปวดครั้งแรกอยู่ในช่วง 5 ชั่วโมงแรก ความผิดปกติที่พบมีเพียงมีไข้ จำนวน 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 6.7 และไม่พบว่ามีการอุดตันของ CBI ความคิดเห็นของพยาบาลในการใช้แนวปฏิบัติ TURP อยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\fn_phv&space;\bar{x}=4.85)  

          ผลการศึกษาสะท้อนให้เห็นว่าการใช้แนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้นเป็นการสร้างมาตรฐานการให้การบริการพยาบาล และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง สามารถลดการใช้ NSS และป้องกันการอุดตันของ CBI ดังนั้นจึงควรนำแนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้นไปใช้เป็นมาตรฐานการพยาบาล CBI ในผู้ป่วยกลุ่มอื่นๆ ต่อไป

References

1. นันทวัฒน์ ศิริธานันท์, นพพร เชยพันธ์. การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศหลังการผ่าตัดต่อมลูกหมากโตโดยวิธีการส่องกล้อง. ว.ยูโร 2551;29(2):66-70.
2. Safarinejad, M.R. Prevalence of benign prostatic hyperplasia in a population-based study in Iranian men 40 years old or older. International Urology and Nephrology 2008;40 (4):921-31.
3. Kim, S., Jeong, J.Y., Choi, Y.J. Kim, D.H., Lee, W.K., & Lee, S.H. Association between lower urinary tract symptoms and vascular risk factors in aging men: The hallym aging study. Korean Journal Urology 2010;51(7):477-82.
4. กองยุทธศาสตร์ละแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สรุปรายงานการป่วย 2557-2559[อินเทอร์เน็ต] 2560 [เข้าถึงเมื่อ พฤศจิกายน2561]. เข้าถึงได้จาก: http://bps.moph.go.th/new_bps/
sites/default/files/ill_2559_full_edit.pdf.
5. ภาณุ อดกลั้น, วัจนา สุคนธวัฒน์, ยุคลธร ทองตระกูล, กรรณิการ์ ศุภกิจอนันต์คุณ. การปฏิบัติที่ดีที่สุดในการล้างกระเพาะปัสสาวะอย่างต่อเนื่อง (CBI) ภายหลังการผ่าตัดต่อมลูกหมากโตผ่านทางท่อปัสสาวะ (TUR-P) ในโรงพยาบาลอุดรธานี. อุดรธานี:วิทยาลัยพยาบาลอุดรธานี;2553.
6. กิตติณัฐ กิจวิกัย, เจริญ ลีนานุพันธุ์. ต่อมลูกหมากโต Benign prostatic hyperplasia (BPH) ใน: วชิร คชการ ,ไพฑูรย์ คชเสนี, บรรณาธิการ. ตำราศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธ์ชาย. กรุงเทพฯ: บียอน เอ็นเทอร์ไพรซ์; 2547.
7.สมบุญ เหลืองวัฒนากิจ, บรรณาธิการ.ตำราสุขภาพเพศชาย: Text Book of Men’s Health.กรุงเทพฯ:เอ็นเทอไพรซ์;2546.
8. O’Sullivan, M.J., Murphy, C., Daisy, C., Iohom, G., Kiely, E.A., & Shorten, G. Effects of transurethral resection of prostate on the quality of life of the patients with benign prostatic hyperplasia. J Am CollSurg 2004;198 (3):394-403.
9. เกรียงศักดิ์ ประสพสันติ. การศึกษาเปรียบเทียบผลการรักษาภาวะต่อมลูกหมากโต ซึ่งมีขนาดต่อมลูกหมากไม่กิน 50 กรัม โดยวิธีกรีดต่อมลูกหมากผ่านกล้องและวิธีตัดต่อมลูกหมากผ่านกล้อง โดยการทดลองทางคลินิกแบบสุ่มทดลอง. [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล;2544.
10. วรพงษ์ เลิศวีระศิริกุล, สุพจน์ วุฒิการณ์, สุริธร สุนทรพันธ์, บรรณกิจ โรจนภิวัฒน์, ศิวัฒน์ ภูริยะพันธ์. ปัญหาแทรกซ้อนจากการผ่าตัดต่อมลูกหมากโตชนิดธรรมดาโดยการส่องกล้องผ่านทางท่อปัสสาวะ. ว.ยูโร2541;19(2):107-13.
11. อรทัย พินสุวรรณ์. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายปัสสาวะปกติในผู้ป่วยหลังผ่าตัดต่อมลูกหมากโตผ่านทางท่อปัสสาวะ. [วิทยานิพนธ์]. นครศรีธรรมราช:มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์; 2550.
12. กรรณิการ์ ศุภกิจอนันต์คุณ, กล้าเผชิญ โชคบำรุง. ประสิทธิผลของการใช้อัตราการไหลของสารละลายเฉลี่ย 200 มิลลิลิตรต่อชั่วโมงต่อการเกิดลิ่มเลือดในปัสสาวะของผู้ป่วยที่ได้รับการสวนล้างกระเพาะปัสสาวะต่อเนื่องหลังการผ่าตัดเอาต่อมลูกหมากออกทางท่อปัสสาวะ.ว.โรงพยาบาลสกลนคร 2559;19(3):151-61.
13. Supakitanankun, K. and Methakanjanasak, N. Clinical Nursing Practice Guideline Prostate (TURP). Proceedings of the International Nursing Students’ Forum & UNIMAS Nursing Students’ Conference. Malaysia 2015, 7-8 March 2016. pp.47.
14. Soukup, M. The center for advanced nursing practice evidence - based practice model . Nurs Clin North America 2000;35:301-9.
15. Melnyk, B. M.Evidence-based practice in nursing &healthcare : A guide to best practice. 2nd ed. Philadelphia: LippincottWilliams& Wilkins;2011.
16. Polit,D.F., & Beck, C.T. The content validity index: Are you sure you know what’s being reported? Critique and recommendations. Research in Nursing & Health 2006;29:489-97.
17. บุญมี สันโดษ. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลการสวนล้างกระเพาะปัสสาวะแบบต่อเนื่องในผู้ป่วยผ่าตัดต่อมลูกหมากทางท่อปัสสาวะโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์. ว.โรงพยาบาลมหาสารคาม 2559;13(1):72-87.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-29