ระยะเวลารอดชีวิตในผู้ป่วยแบบประคับประคองที่เป็นมะเร็งเปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่ใช่มะเร็ง โดยใช้ Palliative Performance Scale (PPS)

ผู้แต่ง

  • มาลินี พิสุทธิโกศล โรงพยาบาลขอนแก่น

คำสำคัญ:

การดูแลแบบประคับประคอง, Palliative Performance Scale, ระยะเวลารอดชีวิต

บทคัดย่อ

ที่มาและความสำคัญการดูแลแบบประคับประคองมีผลให้การอยู่รอดและมีคุณภาพชีวิตดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการดูแลแบบมาตรฐาน การทำนายระยะเวลารอดชีวิตที่เหมาะสมจึงมีความสำคัญซึ่งเครื่องมือที่สามารถใช้ได้ดีและได้รับความนิยมมีหลายเครื่องมือ Palliative Performance Scale (PPS) เป็นเครื่องมือที่มีความน่าเชื่อถือในการนำมาทำนายระยะเวลารอดชีวิตสามารถประเมินได้อย่างไม่ซับซ้อน การศึกษานี้จึงได้นำ PPS version 2 มาใช้ฉบับภาษาไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำนายระยะเวลารอดชีวิตในผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองกลุ่มมะเร็งเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ใช่ผู้ป่วยมะเร็งว่ามีความแตกต่างกันหรือไม่

วิธีการศึกษา: เป็นงานวิจัยแบบ Retrospective cohort study ประชากรคือผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแบบประคับประคองกับศูนย์พลังใจ โรงพยาบาลขอนแก่น จำนวน  2,299 คน เกณฑ์คัดเข้าคือเพศหญิงและเพศชายอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป มีข้อมูลครบถ้วนทั้งคะแนน PPS แรกรับน้อยกว่า 60 และระยะเวลารอดเป็นวัน เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนระหว่าง 1 มกราคม 2558 ถึง 31 มีนาคม 2561 ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 774 คนสถิติที่ใช้ประกอบไปด้วยความถี่ ร้อยละ Kaplan-Meier (KM) survival curves median 95% CI Log-rank tests Specificity และ Sensitivity

ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่าง 774 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย 443 คน (ร้อยละ 57.2) แบ่งตามการวินิจฉัยโรค เป็นผู้ป่วยมะเร็ง 497 คน (ร้อยละ 64.2) กลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ใช่มะเร็ง  277 คน (ร้อยละ 35.8) ผลการศึกษาระยะเวลารอดชีวิตเปรียบเทียบระหว่างผู้ป่วยมะเร็งกับผู้ป่วยที่ไม่ใช่มะเร็ง พบว่าที่ระดับ PPS 30 คะแนน มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยผู้ป่วยมะเร็งมีระยะเวลารอดชีวิตมากกว่า Log Rank (p-value 0.001) แต่ที่ระดับคะแนนอื่นๆกลับพบว่าผู้ป่วยมะเร็งและผู้ป่วยที่ไม่ใช่ผู้ป่วยมะเร็งมีระยะเวลารอดชีวิตไม่แตกต่างกัน ส่วนการนำคะแนนแต่ละ PPS มาทำนายระยะเวลารอดชีวิตทั้งในกลุ่มมะเร็งและไม่ใช่มะเร็ง มีค่า Specificity ค่อนข้างสูงคือร้อยละ 71.4-100  แต่มีค่า Sensitivity ต่ำคือร้อยละ 2.9-59.8

สรุปผลการศึกษา: สามารถใช้คะแนน PPS ทำนายระยะเวลารอดชีวิตได้ไม่แตกต่างกันทั้งในผู้ป่วยมะเร็งและไม่ใช่มะเร็งและสามารถใช้ค่าคะแนน PPS มาใช้ทำนายระยะเวลารอดชีวิตได้แต่ไม่สามารถใช้ในการคัดกรองผู้ป่วยได้

References

1. Temel JS, Greer JA, Muzikansky A, Gallagher ER, Admane S, Jackson VA, et al. Early palliative care for patients with metastatic non-small-cell lung cancer. N Engl J Med. 2010;363(8):733–42.
2. Yoong J, Park ER, Greer JA, Jackson VA, Gallagher ER, Pirl WF, et al. Early palliative care in advanced lung cancer: a qualitative study. JAMA Intern Med 2013;173(4):283–90.
3. Gwilliam B, Keeley V, Todd C, Gittins M, Roberts C, Kelly L, et al. Development of Prognosis in Palliative care Study (PiPS) predictor models to improve prognostication in advanced cancer: prospective cohort study. BMJ 2011;343:d4920.
4. Glare P, Virik K, Jones M, Hudson M, Eychmuller S, Simes J, et al. A systematic review of physicians’ survival predictions in terminally ill cancer patients. BMJ 2003;327(7408):195–8.
5. Chewaskulyong B, Sapinun L, Downing GM, Intaratat P, Lesperance M, Leautrakul S, et al. Reliability and validity of the Thai translation (Thai PPS Adult Suandok) of the Palliative Performance Scale (PPSv2). Palliat Med. 2012 Dec;26(8):1034–41.
6. Head B, Ritchie CS, Smoot TM. Prognostication in hospice care: can the palliative performance scale help? J Palliat Med. 2005 Jun;8(3):492–502.
7. Lau F, Maida V, Downing M, Lesperance M, Karlson N, Kuziemsky C. Use of the Palliative Performance Scale (PPS) for end-of-life prognostication in a palliative medicine consultation service.
J Pain Symptom Manage2009;37(6):965–972.
8. British Columbia. Palliative care for the patient with incurable cancer or advanced disease. Part 2: pain and symptom management [Internet]. 2017 [cited 2018 Apr 26]. Available from : https://bit.ly/2r0ZBkh
9. Anderson F, Downing GM, Hill J, Casorso L, Lerch N. Palliative performance scale (PPS): a new tool. J Palliat Care. 1996;12(1):5–11.
10. Morita T, Tsunoda J, Inoue S, Chihara S. The Palliative Prognostic Index: a scoring system for survival prediction of terminally ill cancer patients. Support Care Cancer 1999;7(3):128–33.
11. Tarumi Y, Watanabe SM, Lau F, Yang J, Quan H, Sawchuk L, et al. Evaluation of the Palliative Prognostic Score (PaP) and routinely collected clinical data in prognostication of survival for patients referred to a palliative care consultation service in an acute care hospital. J Pain Symptom Manage 2011;42(3):419–31.
12. Victoria Hospice Society. Palliative Performance Scale (PPSv2) version 2 [Internet]. 2006 [cited 2018 Apr 26]. Available from: https://bit.ly/2HskWhV
13. White N, Reid F, Harris A, Harries P, Stone P. A Systematic Review of Predictions of Survival in Palliative Care: How Accurate Are Clinicians and Who Are the Experts? PloS One. 2016;11(8): e0161407.
14. Lau F, Downing GM, Lesperance M, Shaw J, Kuziemsky C. Use of Palliative Performance Scale in end-of-life prognostication. J Palliat Med 2006;9(5): 1066–75.
15. Harrold J, Rickerson E, Carroll JT, McGrath J, Morales K, Kapo J, et al. Is the palliative performance scale a useful predictor of mortality in a heterogeneous hospice population? J Palliat Med 2005 ; 8(3):503–9.
16. VanbutseleG ,Pardon K ,Van Belle S, et al. Effect of early and systematic integration of palliative care in patients with advanced cancer: a randomised controlled trial. Lancet Oncol [Interner]. 2018 [cited 2018 Feb 2]. Available from: http://dx.doi.org/
10.1016/S1470-2045(18)30060-3.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-29