การศึกษาผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานบริการการพยาบาลและการผดุงครรภ์ของพยาบาลวิชาชีพ ที่ดูแลผู้รับบริการต่างด้าว

ผู้แต่ง

  • ธวัชชัย ยืนยาว วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
  • จุฬารัตน์ ห้าวหาญ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์

คำสำคัญ:

มาตรฐานบริการการพยาบาลและการผดุงครรภ์, ผู้รับบริการต่างด้าว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานบริการการพยาบาลและการผดุงครรภ์ของพยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้รับบริการต่างด้าว ตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานด้านการดูแลผู้รับบริการต่างด้าวที่ปฏิบัติงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 152 คน คัดเลือกตัวอย่างสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) และกำหนดสัดส่วนตัวอย่างตามร้อยละของจำนวนตัวอย่างทั้งหมดตามสถานบริการสุขภาพที่พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติงาน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและแบบสอบถามเกี่ยวผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานบริการการพยาบาลและการผดุงครรภ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานบริการการพยาบาลและการผดุงครรภ์กับปัจจัยด้านบุคคลของพยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้รับบริการต่างด้าวด้วยสถิติไคสแควร์ (Pearson's chi-squared test)

  ผลการศึกษา พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 91.40) มีอายุระหว่าง 22-59 ปี (M=37.34, SD=10.71) สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 55.30 การศึกษาระดับปริญญาตรีเป็นส่วนมาก (ร้อยละ 95.40) รายได้ระหว่าง 14,000–55,000 บาท (M=28,848.88, SD=17.01)  มีอายุงานระหว่าง 1-37 ปี (M=15.16, SD=10.93) ระยะเวลาที่ดูแลผู้รับบริการต่างด้าวระหว่าง 1-25 ปี (M=7.50, SD=5.69) สถานที่ทำงานส่วนใหญ่เป็นโรงพยาบาลศูนย์ร้อยละ 50 โดยอยู่กลุ่มงานศัลยกรรมส่วนใหญ่ร้อยละ 19.70 ด้านผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานบริการการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พบว่า คะแนนส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากโดยมีค่าคะแนนอยู่ระหว่าง 45.00–74.00 คะแนน (M=59.32, SD=5.14) ผลการศึกษาความสัมพันธ์ของผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานบริการการพยาบาลและการผดุงครรภ์กับปัจจัยด้านบุคคลของพยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้รับบริการต่างด้าว พบว่า สถานที่ทำงานและระยะเวลาดูแลผู้รับบริการต่างด้าวมีความสัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานบริการการพยาบาลและการผดุงครรภ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (gif.latex?^{X^{2}}=22.195, p<.001) และ (gif.latex?^{X^{2}}=13.533, p=.001) ตามลำดับ

การศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะสำหรับพยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้รับบริการต่างด้าวต้องสามารถสื่อสารได้อย่างถูกต้องครบถ้วนและให้การบริการสุขภาพตามมาตรฐานบริการการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ยึดหลักความเอื้ออาทรและเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

 

References

1. สุกัญญา เพิ่มบุญ. ความคาดหวังและความเป็นจริงในการปฏิบัติงานกับผลการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลศรีสะเกษ. [วิทยานิพนธ์]. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิ ราช; 2556.
2. Sally, W. Oxford Advanced Learner's Dictionary. Oxford: Oxford University Press; 2000.
3. อรุณรัตน์ คันธา. ผลกระทบและทางออกของการขาดแคลนกำลังคนทางการพยาบาลในประเทศไทย. Journal of Nursing Science 2557; 32(1), 81-90.
4. สำนักการส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์. ข้อมูลจังหวัดสุรินทร์. [อินเทอร์เน็ต]. 2560. เข้าถึงได้จาก: http://surinlocal.go.th/public/history/data/index/menu/22
5. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์. ข้อมูลหน่วยงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์. [อินเทอร์เน็ต]. 2559. เข้าถึงได้จาก: http://www.surinpho.go.th/SPHO/
6. สุวารี เจริญมุขยนันท, ถาวร สกุลพาณิชย์, พัชนี ธรรมวันนา, อนุชิต สว่างแจ้ง, ณัฐธิดา สุขเรืองรอง. การศึกษาสถานการณ์การให้บริการสุขภาพกับชาวกัมพูชาที่ชายแดนไทย-กัมพูชา : กรณีศึกษาจังหวัดสระแก้ว จันทบุรี และตราด กระทรวงสาธารณสุข ปี 2556. สํานักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข; 2556.
7. พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541. การปฏิบัติงานตามมาตรฐานบริการการพยาบาลและการผดุงครรภ์; 2541.
8. Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A.-G., & Buchner, A. G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods 2007; 39: 175-191.
9. Faul, F., Erdfelder, E., Buchner, A., & Lang, A.-G. Statistical power analyses using G*Power 3.1: Tests for correlation and regression analyses. Behavior Research Methods 2009; 41: 1149-1160.
10. นงลักษณ์ วิรัชชัย. วิธีการที่ถูกต้องและทันสมัยในการกำหนดขนาดตัวอย่าง. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ; 2555.
11. บุญชม ศรีสะอาด.วิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุรีวิยาสาส์น; 2545.
12. บุญชม ศรีสะอาด. วีธีการสถิติสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สุรีวิยาสาส์น; 2542.
13. สุรีพร ดวงสุวรรณ์. ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะในการปฏิบัติงานกับคุณภาพการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิและตติยภูมิ เขตตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุขที่ 17. ว.พยาบาลและสุขภาพ 2554; 5(2): 67-77.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-29