แบบแผนการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยเบาหวาน: การศึกษาเปรียบเทียบกลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีและกลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเชียงยืน อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • กาญจนา ปัญญาธร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • เสาวลักษณ์ ทาแจ้ง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • วัลภา ศรีบุญพิมพ์สวย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • ชลการ ทรงศรี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี

คำสำคัญ:

แบบแผนการดำเนินชีวิต, ผู้ป่วยเบาหวาน, ระดับน้ำตาลในเลือด

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบ Mixed  Methodology นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบแบบแผนการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเชียงยืน อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างได้มาแบบเฉพาะเจาะจงแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี คือมีระดับน้ำตาลในเลือดระหว่าง 80-130 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรนานติดต่อกัน 6 เดือนขึ้นไปจำนวน 13 คนและกลุ่มควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ คือมีระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 180 mg% นานติดต่อกัน 6 เดือนขึ้นไป จำนวน 21 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้ป่วยเบาหวานที่บ้านโดยใช้เครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยให้ผู้ เชี่ยวชาญตรวจสอบได้ค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถาม เท่ากับ 0.68 และทดลองใช้กับผู้ป่วยเบาหวาน 5 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคม      พ.ศ. 2561 วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า (1) คุณลักษณะส่วนบุคคลและภาวะสุขภาพ ทั้งสองกลุ่มมีคุณลักษณะแตกต่างกันโดยกลุ่มควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 61-70 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ส่วนกลุ่มควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 51-60 ปี และไม่ได้เรียนหนังสือร้อยละ 14.3  ภาวะสุขภาพ กลุ่มควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีทุกคนช่วยเหลือตัวเองได้ มีระดับน้ำตาลในเลือดในเกณฑ์ปกติและไม่เคยนอนโรงพยาบาลด้วยอาการหมดสติ ส่วนกลุ่มควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ช่วยเหลือตัวเองได้น้อยร้อยละ 14.3 มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงระหว่าง 180-250 mg% ร้อยละ 76.2 และ 250 mg% ขึ้นไปร้อยละ 23.8 เคยนอนโรงพยาบาลด้วยอาการหมดสติร้อยละ 33.3 (2) ลักษณะครอบครัว ทั้งสองกลุ่มอาศัยอยู่ในครอบครัวขยาย มีสมาชิก 4-6 คนส่วน กลุ่มควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้มีสมาชิกครอบครัวป่วยเรื้อรังต้องดูแลร้อยละ 19.1 (3) แรงสนับสนุนจากครอบครัวและสังคม กลุ่มควบคุมระดับ น้ำตาลในเลือดได้ดีร้อยละ 76.9 มีครอบครัวดูแลดี ส่วนกลุ่มควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ได้รับการดูแลที่ดีจากครอบครัวเพียงร้อยละ 66.7 (4) แบบแผนการดำเนินชีวิต กลุ่มควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีมีแบบแผนการดำเนินชีวิตที่ดีกว่าโดยควบคุมอาหารร้อยละ 84.6 ออกกำลังกายประจำร้อยละ 84.6 พักผ่อนเพียงพอร้อยละ 69.2 จัดการความเครียดเหมาะสมร้อยละ 76.9 ดูแลเท้าสม่ำเสมอร้อยละ 69.2 รับประทานยาถูกต้องร้อยละ 84.6 และไปตรวจตามนัดร้อยละ 76.9 ซึ่งมากกว่ากลุ่มที่ควบคุมไม่ได้ที่ดูแลสุขภาพโดยไม่คุมอาหารร้อยละ 71.4 ไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำร้อยละ 85.7 พักผ่อนไม่เพียงพอร้อยละ 42.9 จัดการความเครียดไม่เหมาะสมร้อยละ 30.4 ไม่ดูแลเท้าสม่ำเสมอร้อยละ 66.7 รับประทานยาไม่ถูกต้องร้อยละ90.5 และไม่ไปตรวจตามนัดร้อยละ 23.8 จากผลการวิจัยจึงควรส่งเสริมการตระหนักรู้ในการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานให้มากขึ้นและให้สมาชิกครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น อันมีผลต่อการลดปัญหาจากภาวะแทรกซ้อนของเบาหวานลงเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้ป่วยเบาหวาน

 

References

1. กรมควบคุมโรค.แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ 5 ปี (พ.ศ.2560–2564). [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://www.searo.who.int/thailand/areas/national-ncd-prevention-and-control-plan
2. สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน. พิมพ์ครั้งที่ 3. ปทุมธานี:ร่มเย็นมีเดียจำกัด; 2560.
3. ฤทธิรงค์ บูรพันธ์, นิรมล เมืองโสม. ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี. ว.วิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น 2556; 6(3): 102-109.
4. กุสุมา กังหลี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่สอง โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. ว.พยาบาลทหารบก 2557; 15(3): 256-268.
5. สุปรียา เสียงดัง. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้. ว.เครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2560; (1): 94-106.
6. Pender, N.J, Murdaugh, C.L., Parsons, M.A. Health Promotion in nursing practice. 6thed. New Jersey: Pearson Education; 2011.
7. วรารัตน์ ปาจรียานนท์, ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์, ลุนณี สุวรรณโมรา, สุพรรัตน์ ช่องวารินทร์, นวรัตน์ ภูเหิน. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะโรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้. ว.โรงพยาบาลมหาสารคาม 2561; 15(1): 118-127.
8. ธนวัฒน์ สุวัฒนกุล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. ว.วิจัยระบบสาธารณสุข 2561; 12(3): 515-522.
9. โชติรส คงหอม. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. EAU Heritage Journal Science and Technology 2014; 8(2): 248-258.
10. เอกภพ จันทร์สุคนธ์, วิภาดาศรีเจริญ, กิ่งแก้ว สำรวยรื่น. ปัจจัยพยากรณ์พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2ในเขตอ.เมืองจังหวัดพิษณุโลก. ว.วิชาการมหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชียฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2560; 11(3): 229-239.
11. ปัทมา สุพรรณกุล, สุทธิชัย ศิรินวล, เจษฎากร โนอินทร์, วิมาลา ชโยดม, อรพินท์ สิงหเดช. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดสุโขทัย. ว.วิชาการมหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2560; 11(1): 211-223.
12. ผุสดี ด่านกุล, พชรพร สุวิชาเชิดชู, นิภาวรรณ ทองเป็นใหญ่. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านพฤติกรรมการดูแลตนเอง ปัจจัยด้านการสนับสนุนกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของหน่วยบริการปฐมภูมิเครือข่ายเมืองย่า. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 1ธันวาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://journal.knc.ac.th/pdf/17_2_2554_3.pdf
13. กมลพร สิริคุตจตุพร,วิ ราพรรณ วิโรจน์รัตน์, นารีรัตน์ จิตรมนตรี. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2. ว.สภาการพยาบาล 2560; 32(1): 81-93.
14. คะนึงนุช แจ้งพรมมา, พัทธ์นันท์ คงทอง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับHBAIC ของผู้ป่วย เบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลพระยืน จังหวัดขอนแก่น. ว.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2561; 10(19): 1-13.
15. รัชมนภรณ์ เจริญ, น้ำอ้อย ภักดีวงศ์, อำภาพร นามวงศ์พรหม. ผลของโปรแกรมพัฒนาความรู้และการ มีส่วนร่วมของครอบครัวต่อพฤติกรรมสุขภาพและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2. Rama nurse journal 2010; 16(2): 279-292.
16. ธารินทร์ สุขอนันต์, ณัฐพร มีสุข, อาภิสรา วงศ์สละ. ปัจจัยที่มลต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวน อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี.ว.วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2559; 27(1): 93-102.
17. อุสา พุทธรักษ, เสาวนันท์ บําเรอราช. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลก้างปลา จังหวัดเลย. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม 2562 ]. เข้าถึงได้จาก: https://gsbooks.gs.kku.ac.th/58/the34th/pdf/MMP
18. จุไรรัตน์ ดือขุนทด, สิริลักษณ์ โสมานุสรณ์, วารี กังใจ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการผ่อนคลายโดยการฟังดนตรีธรรมะร่วมกับสุวคนธบำบัดต่อคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ. ว.วิทยาลัยพยาบาลกรุงเทพ 2559; 32(1): 15-30.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-29