ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ที่มาฝากครรภ์ โรงพยาบาลหนองวัวซอ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ปารรัตน์ วุฒิเจริญวงศ์ องค์กรแพทย์ โรงพยาบาลหนองวัวซอ

คำสำคัญ:

หญิงตั้งครรภ์, ภาวะซีด, การฝากครรภ์

บทคัดย่อ

ภาวะโลหิตจาง เป็นปัญหาสาธารณสุขระดับโลกทั้งในประเทศที่กำลังพัฒนาและประเทศที่พัฒนาแล้ว รวมทั้งเป็นภาวะแทรกซ้อนทางโลหิตวิทยาที่พบบ่อยที่สุดของการตั้งครรภ์ ซึ่งส่งผลกระทบทั้งต่อหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ การวิจัยนี้เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ที่มาเจาะเลือดครั้งที่ 1 คลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลหนองวัวซอ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี โดยเก็บข้อมูลจากเวชระเบียน และทะเบียนฝากครรภ์ ของหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ ที่คลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลหนองวัวซอ จำนวน 75 ราย ใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล ประวัติการฝากครรภ์ และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย 1. ข้อมูลทั่วไป กลุ่มตัวอย่างที่มีภาวะโลหิตจางส่วนใหญ่ สัญชาติไทย คิดเป็นร้อยละ 93.33 และอีกร้อยละ 6.67 สัญชาติลาว พบมากที่สุดที่ตำบลหมากหญ้า ร้อยละ 20 ช่วงอายุที่พบภาวะโลหิตจางมากที่สุดคือ ช่วงอายุ 20-34 ปี คิดเป็นร้อยละ 66.66 ที่น่าสนใจคือ ช่วงอายุ อายุน้อยกว่า 20 ปี พบภาวะซีดถึงร้อยละ 22.66 ด้านอาชีพ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพแม่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 37.33 การศึกษาสูงสุดระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย คิดเป็นร้อยละ 41.33 และร้อยละ 98.66 ปฏิเสธโรคประจำตัว 2. ข้อมูลการตั้งครรภ์ พบว่า ร้อยละ 53.34 เป็นการตั้งครรภ์ที่ 2 ขึ้นไป ส่วนใหญ่มาเจาะเลือดครั้งที่ 1 ในช่วงไตรมาสที่ 1 ร้อยละ 56 และมีถึงร้อยละ 44 ที่มาเจาะเลือดไตรมาสที่ 2 ด้านดัชนีมวลกายก่อนการตั้งครรภ์ พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 48 อยู่ในเกณฑ์ปกติ (18.5-22.9 กก./ม2) และมีถึงร้อยละ 22.66 อยู่ในเกณฑ์ผอม (<18.5 กก./ม2) 3. ข้อมูลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ พบว่า ร้อยละ 90.66 มีภาวะซีดในระดับ 1 ปริมาตรเม็ดเลือดแดงอัดแน่น (27.0-32.9%) ปริมาตรเฉลี่ยของเซลล์เม็ดเลือดแดง พบว่า ร้อยละ 73.34 มีค่าน้อยกว่า 80 เฟมโตลิตร ด้านปริมาตรเฉลี่ยของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ร้อยละ 86.67 มีค่าน้อยกว่า 27 พิโคกรัม ส่วนการทดสอบฮีโมโกลบินไม่เสถียรโดยการตกตะกอนสี พบว่า ส่วนใหญ่มีผลบวก คิดเป็นร้อยละ 64 และผลการตรวจวิเคราะห์ชนิดและปริมาณฮีโมโกลบิน จากกลุ่มตัวอย่าง 28 คนที่ได้รับการตรวจ พบว่า ส่วนใหญ่ เป็นพาหะฮีโมโกลบินอี (Hb E trait) คิดเป็นร้อยละ 53.57 รองลงมาคือ Homozygous Hb E With or without Alpha-thalassemia, Alpha-thalassemia trait จำนวนเท่ากัน คิดเป็นร้อยละ 21.43

การทำวิจัยครั้งต่อไป ควรมีการศึกษาเพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ที่มาเจาะเลือดครั้งที่ 1 รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประวัติการฝากครรภ์กับภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์

 

References

1. World Health Organisation. Haemoglobin concentrations for the diagnosis of anaemia and assessment of severity. Vitamin and Mineral Nutrition Information System[Internet] Geneva: World Health Organization; 2011 [cited 2015 Nov 2]. Available from: http://www.who.int/vmnis/indicators/haemoglobin.pdf
2. World Health Organisation. Worldwide prevalence of anaemia 1993-2005: WHO global database on anaemia; 2008.
3. ลธิชา ตานา, ชเนนทร์ วนาภิรักษ์. ภาวะโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์ [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 20 เมษายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://www.med.cmu.ac.th/dept/obgyn/2011/index. php?option=com_content&view=article&id= 1372:2017-10-25-02-02-51&catid=45&Itemid=561
4. สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางการควบคุมและป้องกันโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก. นนทบุรี: สํานักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2554.
5. รายงาน ก2 จังหวัดอุดรธานี. อุดรธานี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี; 2562.
6. รายงาน ก2 อำเภอหนองวัวซอ: อุดรธานี: โรงพยาบาลหนองวัวซอ; 2561.
7. Allen, L. H. 2000. Anemia and iron deficiency: effects on pregnancy outcome. The American journal of clinical nutrition 2000; 71(5): 1280S-1284S.
8. Cunningham, F., Leveno, K., Bloom, S., Spong, C. Y., Dashe, J. Williams obstetrics. 24 th ed. New York: Mcgraw-hill; 2014.
9. Lowdermilk, D. L., Perry, S. E., Cashion, M. C. Maternity Nursing-Revised Reprint-E-Book. Elsevier Health Sciences; 2014.
10. ลลิตวดี เตชะกัมพลสารกิจ, กรรณิการ์ กันธะรักษา, นันทพร แสนศิริพันธ์. วิธีการส่งเสริมการป้องกันภาวะโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์: การทบทวนอย่างเป็นระบบ. Nursing Journal 2561; 5(1): 62-74.
11. สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560-2569). [อินเทอร์เน็ต] [เข้าถึงเมื่อ 21 เมษายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://plan.psru.ac.th/index.php?module=policy&id=225.
12. Wylie, L., & Bryce, H. G. The Midwives' Guide to Key Medical Conditions-E-Book: Pregnancy and Childbirth. Elsevier Health Sciences; 2016.
13. อารยา องค์เอี่ยม, พงศ์ธารา วิจิตเวชไพศาล. การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย. วิสัญญีสาร 2561; 44(1): 36-42.
14. Cannon, S., and Boswell, C. Quantitative research design. Introduction to Nursing Research: Incorporating Evidence–Based Practice. Boston: Jone and Bartlett Publisher; 2007.
15. ศิริฉัตร รองศักดิ์, ประนอม พูลพัฒน์, มยุรัตน์ รักเกียรติ์. ภาวะโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ และคลอดในโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี. Journal of Nursing and Health Care 2017; 35(3): 39-47.
16. ผาสุข กัลย์จารึก. ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ที่คลอดในโรงพยาบาลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. Nursing Journal of The Ministry of Public Health 2017; 27(1): 22-33.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-29