ศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลอุดรธานี ระหว่างก่อนและหลังการใช้โปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจ
คำสำคัญ:
การเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจ, พฤติกรรมการสูบบุหรี่, การลดและเลิกสูบบุหรี่บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบ One group pretes-posttest design มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลอุดรธานี จำแนกตามตัวแปรพื้นฐานส่วนบุคคลและเปรียบเทียบพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลอุดรธานี ระหว่างก่อนและหลังการใช้โปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจ 1 สัปดาห์ และ 4 เดือน กลุ่มตัวอย่างเป็นเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลอุดรธานีที่สูบบุหรี่เป็นประจำ จำนวน 32 คน ในการทดลองกลุ่มตัวอย่างได้เข้าร่วมกิจกรรมในโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจ 7 สัปดาห์ โดยก่อนใช้โปรแกรมฯ และหลังการใช้โปรแกรมฯ 1 สัปดาห์ และ 4 เดือน กลุ่มตัวอย่างได้รับการวัดพฤติกรรมการสูบบุหรี่ด้วยแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired samples t-test
ผลการศึกษา 1) โดยภาพรวมและจำแนกตามตัวแปรพื้นฐานส่วนบุคคล พบว่า ก่อนการใช้โปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลอุดรธานีที่เข้าร่วมโครงการ ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในระดับมาก แต่หลังจากเข้าร่วมโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจ 1 สัปดาห์ และ 4 เดือน ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ลดลงเป็นระดับน้อย 2) หลังเข้าร่วมโปรแกรมการเสริมร้างพลังอำนาจด้านจิตใจ 1 สัปดาห์ และ 4 เดือน เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลอุดรธานีที่เข้าร่วมโครงการ มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่น้อยกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ผลที่พบนี้ชี้ให้เห็นว่าโปรแกรมการเสริมร้างพลังอำนาจด้านจิตใจ ส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ลดน้อยลง และพฤติกรรมดังกล่าวยังคงทนอยู่ แม้ว่าระยะเวลาจะผ่านไปแล้ว 4 เดือน
References
2. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส). ผลเสียที่เกิดจากบุหรี่ [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 17 ธันวาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: thaihealth.or.th/Content/42955-ผลเสียที่เกิดจากบุหรี่%20.html
3. โครงการสำรวจการบริโภคยาสูบในผู้ใหญ่ระดับโลกปี2554. ข้อค้นพบสำคัญจากผลการสำรวจการบริโภคยาสูบในผู้ป่วยระดับโลก ปี 2554 [อินเทอร์เน็ต]. 2554 [เข้าถึงเมื่อ 5 พฤศจิกายน2560]. เข้าถึงได้จาก: btc.ddc.moph.go.th/th/upload. datacenter.data25.dpf.25544
4. รัชนา ศานติยานนท์, บุษบา มาตระกูล, กาญจนา สุริยพรหม. สถานการณ์การบริโภคยาสูบ ใน: ตำราวิชาการสุขภาพ การควบคุมและการบริโภคยาสูบ สำหรับบุคลากรและนักศึกษาวิชาชีพด้านสุขภาพ. กรุงเทพฯ: เครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่; 2550.
5. ประสิทธิ์ กี่สุขพันธ์. การเลิกสูบบุหรี่ (smoking cessation). เอกสารประกอบการสอนรายวิชาเวชศาสตร์ครอบครัวและชุมชน 3 หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี; ม.ป.ป.
6. ศุภกิจ วงส์วิวัฒนนุกิจ. เภสัชบำบัดในการเลิกสูบบุหรี่. ใน: ตำราวิชาการสุขภาพการควบคุมการบริโภคยาสูบสำหรับบุคลากรและนักศึกษาวิชาชีพด้านสุขภาพ. กรุงเทพฯ: เครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่; 2550.
7. รัชนีกร เคียนทอง. ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ของผู้มารับบริการที่คลินิกอดบุหรี่ โรงพยาบาลบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2546.
8. ธิดา จับจิตต์. ผลของโปรแกรมการปรับพฤติกรรมทางปัญญาที่มีต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของผู้มารับบริการคลินิกอดบุหรี่ โรงพยาบาลธัญบุรี [วิทยานิพนธ์]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2547.
9. อังคณา วนาอุปถัมภ์กุล, มณฑา เก่งพานิช, ธราดล เก่งพานิช, ลักขณา เติมศิริกุลชัย. ผลของโปรแกรมช่วยเลิกบุหรี่ที่ประยุกต์ใช้ทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลง. ว.ควบคุมยาสูบ 2551; 2(2): 41–55.
10. เดือนทิพย์ เขษมโอภาส, พรทิพย์ ชีวะพัฒน์. การศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษาเพื่อครอบครัวปลอดบุหรี่. กรุงเทพฯ: พิทักษ์การพิมพ์; 2553.
11. อารีย์วรรณ อ่วมตานี. การเสริมสร้างพลังอำนาจในระบบบริการพยาบาล. ในเอกสารการสอนชุดการพัฒนาศักยภาพระบบบริการพยาบาล วิชาการพัฒนาศักยภาพระบบบริการพยาบาล หน่วยที่ 14. นนทบุรี: สาขาพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรร-มาธิราช; 2549.
12. Gibson, C.H. The process of empowerment in others of chronically ill Children. Journal of Advanced Nursing 1995; 21: 1201–1210.
13. สมศักดิ์ โทจำปา. ศึกษาผลของการสร้างเสริมพลังอำนาจ การรับรู้อำนาจ และพฤติกรรมการควบคุมการสูบบุหรี่ในพระภิกษุสงฆ์ [วิทยานิพนธ์]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2552.
14. Dunphy, P.M. Using an empowerment and education interventionto prevent smoking replace in the early postpartum period [Dissertation]. 2000 [cited 2018 July 16]. Available from: ProQuest.AA19976415http://Repositoryupennedu/dissertations/AA19976415.
15. Herbert, R.J, Gagnon, A.J., O’Loughlin, JenniferL, Lennick, J. Testing an Empowerment Intervention to Help Parents Make Homes Smoke–free: A Randomized Controlled Trial. Journal of Community Health 2011; 36(4): 650–657.
16. สุวิมล ว่องวานิช, นงลักษณ์วิรัชชัย. แนวทางการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.
17. รินดา เจวประเสริฐพันธุ์. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจและการให้คำปรึกษาต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ และระดับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในลมหายใจของผู้สูบบุหรี่. [วิทยานิพนธ์]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2555.
18. กัลยา วานิชย์บัญชา. การใช้ spss for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2549
19. พิราสินี แซ่จ่อง. พฤติกรรม เงื่อนไข ผลกระทบของผู้ที่สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้และผู้ที่ไม่สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้ในตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. [วิทยานิพนธ์]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2551.
20. นงนุช บุญอยู่. ปัจจัยที่มีผลต่อการเลิกหรือกลับมาสูบของผู้รับบริการอดบุหรี่. [วิทยานิพนธ์]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2541.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารไปเผยแพร่ทางการค้าก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร