ปัจจัยพยากรณ์ภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาในผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง

ผู้แต่ง

  • ปิยรัตน์ โรจน์สง่า กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

การล้างไตทางช่องท้อง, ภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา, ปัจจัยพยากรณ์

บทคัดย่อ

การติดเชื้อในเยื่อบุช่องท้องเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญในผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ต้องเปลี่ยนวิธีการบำบัดทดแทนไตจากการฟอกทางช่องท้องไปเป็นการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ซึ่งหากมีปริมาณเม็ดเลือดขาวในน้ำยาล้างไตมากกว่า 100 เซลล์ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร ภายหลังการรักษาเกิน 5 วัน พบความล้มเหลวต่อการรักษาสูงและเพิ่มอัตราตายในผู้ป่วยเรียกภาวะนี้ว่า ภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา (refractory peritonitis) งานวิจัยนี้ศึกษาหาลักษณะทางคลินิกที่พยากรณ์การเกิดภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่พยากรณ์ถึงภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาในผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องในโรงพยาบาลอุดรธานี รูปแบบการศึกษาเป็นการวิจัยตามแผนแบบย้อนหลัง (retrospective cohort study) ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องในโรงพยาบาลอุดรธานี และได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบ ในช่วง 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ.2560

ผลการศึกษา จำนวนเยื่อบุช่องท้องอักเสบจากการล้างไตทางช่องท้องทั้งหมด 395 ครั้ง พบการเกิดภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาทั้งหมด 78 ครั้ง คิดเป็นอุบัติการณ์การเกิดภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาเป็นร้อยละ 19.75 โดยปัจจัยที่พยากรณ์ถึงการเกิดภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาได้แก่ การมีภาวะทุพโภชนาการ, อาการปวดท้องในวันที่ 3 ของการรักษา, อาการถ่ายเหลวในวันที่ 3 ของการรักษา, ยังมีอาการน้ำยาขุ่นในวันที่ 3 ของการรักษา, จำนวนเม็ดเลือดขาวในน้ำยาฟอกไตในวันที่ 3 ของการรักษา ≥1000 เซลล์ต่อลบ.มม., จำนวนเม็ดเลือดขาวในน้ำยาฟอกไตในวันที่ 3 ของการรักษา ≥50% ของจำนวนเม็ดเลือดขาวในน้ำยาฟอกไตในวันที่ 1 ของการรักษา

สรุป การมีภาวะทุพโภชนาการ, อาการปวดท้องในวันที่ 3 ของการรักษา, อาการถ่ายเหลวในวันที่ 3 ของการรักษา, ยังมีอาการน้ำยาขุ่นในวันที่ 3 ของการรักษา, จำนวนเม็ดเลือดขาวในน้ำยาฟอกไตในวันที่ 3 ของการรักษา  ≥1000 เซลล์ต่อลบ.มม., จำนวนเม็ดเลือดขาวในน้ำยาฟอกไตในวันที่ 3 ของการรักษา ≥50% ของจำนวนเม็ดเลือดขาวในน้ำยาฟอกไตในวันที่ 1 ของการรักษาเป็นปัจจัยที่พยากรณ์ถึงการเกิดภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา ควรมีการติดตามลักษณะเหล่านี้เพื่อเป็นแนวทางให้การรักษาอย่างใกล้ชิดและลดการเกิดภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา

 

References

1. Chuasuwan A, Lumpaopong A. Thailand renal replacement therapy year 2015: Nephrology Society of Thailand; 2015.
2. Kanjanabuch T, Chancharoenthana W, Katavetin P, Sritippayawan S, Praditpornsilpa K, Ariyapitipan S, Eiam-ong S, Dhanakijcharoen P. The incidence of peritoneal dialysis-related infection in Thailand: a nationwide survey. J Med Assoc Thai 2011; Suppl 4: S7-12.
3. Li PK, Szeto CC, Piraino B, Bernardini J, Figueiredo AE, Gupta A, Johnson DW, Kuijper EJ, Lye W. Peritoneal dialysis-related infections recommendations: 2010 update. Perit Dial Int 2010; 30(4):393-423.
4.Krishnan M, Thodis E, Ikonomopoulos D, Vidgen E, Chu M, Bargman JM, et al. Predictors of outcome following bacterial peritonitis in peritoneal dialysis. Perit Dial Int. 2002; 22:573–81.
5. Chow KM, Szeto CC, Cheung KK, Leung CB, Wong SS, Law MC, Ho YW, Li PK. Predictive value of dialysate cell counts in peritonitis complicating peritoneal dialysis. Clinical Journal of the American Society of Nephrology. 2006 Jul 1;1(4):768-73.
6. Ronco C, Crepaldi C, Cruz DN. Peritoneal Dialysis: From Basic Concepts to Clinical Excellence. Contrib Nephrol 2009; 163:161–68.
7. Thammishetti V, Kaul A, Bhadauria DS, Balasubramanian K, Prasad N, Gupta A, et.al. A Retrospective Analysis of Etiology and Outcome of Refractory CAPD Peritonitis in a Tertiary Care Center from North India. Perit Dial Int 2018; 38(6):441-6.
8. de Moraes TP, Olandoski M, Caramori JC, Martin LC, Fernandes N, Divino-Filho JC, Pecoits-Filho R, Barretti P. Novel predictors of peritonitis-related outcomes in the BRAZPD cohort. Peritoneal Dialysis International. 2014 Mar 1;34(2):179-87.
9. Nochaiwong S, Ruengorn C, Koyratkoson K, Thavorn K, Awiphan R, Chaisai C, Phatthanasobhon S, Noppakun K, Suteeka Y, Panyathong S, Dandecha P. A clinical risk prediction tool for peritonitis-associated treatment failure in peritoneal dialysis patients. Scientific reports. 2018 Oct 4;8(1):1-1.
10. Zalunardo NY, Rose CL, Ma IW, Altmann P. Higher serum C-reactive protein predicts short and long-term outcomes in peritoneal dialysis-associated peritonitis. Kidney international. 2007 Apr 1;71(7):687-92.
11. Wang HH, Huang CH, Kuo MC, Lin SY, Hsu CH, Lee CY, Chiu YW, Chen YH, Lu PL. Microbiology of peritoneal dialysis-related infection and factors of refractory peritoneal dialysis related peritonitis: A ten-year single-center study in Taiwan. Journal of Microbiology, Immunology and Infection. 2019 Oct 1;52(5):752-9.
12. Rojsanga P. Risk factors of Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis Associated Peritonitis in Udon Thani Hospital. Udonthani hospital medical journal. 2013; 21:331-38.
13. Kerschbaum J, König P, Rudnicki M. Risk factors associated with peritoneal-dialysis-related peritonitis. International journal of nephrology. 2012;2012.
14. Tian Y, Xie X, Xiang S, Yang X, Zhang X, Shou Z, Chen J. Risk factors and outcomes of high peritonitis rate in continuous ambulatory peritoneal dialysis patients: A retrospective study. Medicine. 2016 Dec;95(49).
15. Chen HL, Tarng DC, Huang LH. Risk factors associated with outcomes of peritoneal dialysis in Taiwan: An analysis using a competing risk model. Medicine. 2019 Feb;98(6).
16. Prasad N, Gupta A, Sharma RK, Sinha A, Kumar R. Impact of nutritional status on peritonitis in CAPD patients. Peritoneal Dialysis International. 2007 Jan 1;27(1):42-7.
17. Li PK, Szeto CC, Piraino B, de Arteaga J, Fan S, Figueiredo AE, Fish DN, Goffin E, Kim YL, Salzer W, Struijk DG. ISPD peritonitis recommendations: 2016 update on prevention and treatment. Peritoneal Dialysis International. 2016 Sep 1;36(5):481-508.
18. Ram R, Swarnalatha G, Rao CS, Naidu GD, Sriram S, Dakshinamurty KV. Risk factors that determine removal of the catheter in bacterial peritonitis in peritoneal dialysis. Peritoneal Dialysis International. 2014 Mar 1;34(2):239-43.
19. Kofteridis DP, Valachis A, Perakis K, Maraki S, Daphnis E, Samonis G. Peritoneal dialysis-associated peritonitis: clinical features and predictors of outcome. International Journal of Infectious Diseases. 2010 Jun 1;14(6):489-93.
20. Shah GM, Sabo A, Winer RL, Ross EA, Kirschenbaum MA. Peritoneal leucocyte response to bacterial peritonitis in patients receiving peritoneal dialysis. The International journal of artificial organs. 1990 Jan;13(1):44-50.
21. Xu R, Chen Y, Luo S, Xu Y, Zheng B, Zheng Y, Dong J. Clinical characteristics and outcomes of peritoneal dialysis-related peritonitis with different trends of change in effluent white cell count: a longitudinal study. Peritoneal Dialysis International. 2013 Jul 1;33(4):436-44.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-29