การศึกษาแบบย้อนหลังในผู้ป่วยอุบัติเหตุทางตาโรงพยาบาลกุมภวาปี

ผู้แต่ง

  • เสาวภาคย์ ประธานธุรารักษ์ กลุ่มงานจักษุวิทยา โรงพยาบาลกุมภวาปี

คำสำคัญ:

Ocular trauma, Bermingham Eye Trauma Terminology (BETT), Eye protection

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลังมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระบาดวิทยาของผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุทางตาที่มารักษาในโรงพยาบาลกุมภวาปี เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์สาเหตุและแนวทางการป้องกันอุบัติเหตุทางตาในอำเภอกุมภวาปี ทำการศึกษาข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าได้รับบาดเจ็บทางตา ประเภทผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในของโรงพยาบาลกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานีตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2561 ถึง 31 กรกฎาคม 2562 จำนวน 206 คน โดยศึกษาถึงอายุ เพศ สาเหตุของอุบัติเหตุ ค่าระดับสายตาก่อนและหลังการรักษา ภาวะแทรกซ้อน

ผลการศึกษา จากการเก็บข้อมูลมีผู้ป่วยอุบัติเหตุทางตาในโรงพยาบาลกุมภวาปี ตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2561 ถึง 31 กรกฎาคม 2562 ทั้งสิ้น 206 คน เป็นเพศชาย 145 คน (70.39%) เพศหญิง 61 คน (29.61%) ช่วงอายุที่ เกิดอุบัติเหตุทางตามากที่สุดคือช่วงอายุ 41-60 ปี มี 88 คน (42.72%) แบ่งเป็นสาเหตุจากการทำงานมากที่สุด 103 คน (50%) เมื่อพิจารณาสาเหตุที่พบมากที่สุดคือกิ่งไม้หรือใบไม้บาดตา 49 คน (47.57%) รองลงมาเศษเหล็กกระเด็นเข้าตา 47 คน (45.63%) การวินิจฉัยที่พบบ่อยที่สุดคือการได้รับบาดเจ็บที่ตาส่วนหน้า (Eye contusion) 84 ราย (40.78%) โดยส่วนมากผู้ป่วยที่เกิดอุบัติเหตุทางตามีภาวะแทรกซ้อนซึ่งพบบ่อยที่สุดคือกระจกตาติดเชื้อ 68 ราย (43.03%)

สรุป ผู้ป่วยอุบัติเหตุทางตาในโรงพยาบาลกุมภวาปี พบมากที่สุดในเพศชาย สาเหตุจากการทำงานมากที่สุด ส่วนใหญ่ระดับการมองเห็นสุดท้ายดี แต่มีบางรายที่การพยากรณ์โรคสุดท้ายไม่ดี ซึ่งพบว่าสัมพันธ์กับไม่ใส่อุปกรณ์ป้องกันตา ไม่มีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่ถูกต้อง

 

References

1. Aakriti Garg, Grant A. Justin, Kourtney Houser, Deniel B. Moore. Ocular Trauma: Acute Evaluation, Cataract, Glaucoma. American Academy of Ophthalmology 2019;
2. Cao H., Li L., ZhangM. Epidemiology of Patients Hospitalized for Ocular Trauma in the Chaoshan Region of China, 2001–2010. [Internet]. 2012 [Cited 2012 Oct 31]. Available from: http://journals.plos.org/plosone/article?id=10.1371/journal.pone.0048377
3. Misra S., Nandwani R., Gogri P, Misra N. Clinical profile and visual outcome of ocular injuries in a rural area of western. India. Australasian Medical Journal 2013; 6(11): 560-564.
4. B.Sidda Naik1, Sushma2, Shankar Reddy Dudala. A study on socio demographic profile of patients attending government hospital tirupati with mechanical ocular injuries. International Journal of Research in Health Sciences 2013; 1:1.
5. นิฤนันท์ บุญนิธี. อุบัติเหตุทางตาในห้องตรวจจักษุผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. เวชสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา 2552; 33(1): 27-32.
6. สุณิสา สินธุวงศ์, สิริธีรา ศรีจันทพงศ์, วันทนา นรินทร์ไพจิตร. การศึกษาผู้ป่วยบาดเจ็บทางตาที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง). Thai J Ophthalmol 2008; 22(2): 112-117.
7. ณัฐชัย วงษ์ไขยคุณากร, อนุชิต กิจธารทอง. การประเมินภาวะอุบัติเหตุทางตาโดยใช้ ocular trauma score ในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. สงขลานครินทร์เวชสาร 2548; 23(2): 99-109.
8. Mingming Cai, Jie Zhang. Epidemiological Characteristics of Work-Realated Ocular Trauma in Southwest Region of China. International Journal of Environmental Research and Pubic Health 2015 Aug; 12(8): 9864-9875.
9. Lubis RR, Limanto V, Putri R, Lubis AN, Arrasyid NK. Epidemiological Characteristics of work-Related Ocular Trauma among the Carpenters in Medan, Indonesia. J Med Sci 2018 Nov 24; 6(11): 2119-2122.
10. Ma J, Wang Y, Zhang L, Chen M, Ai J, Fang X. Clinical characteristics and prognostic factors of posterior segment intraocular foreign body in tertiary hospital. BMC Ophthalmology 2019 Jan 14; 19(1): 17.
11. Okamoto Y, Morikawa S, Okamoto F, Mitamura Y, Ishikawa H, Ueda T, et al. Traffic accident-related open globe injuries. Retina 2019 Apr; 39(4): 779-785.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-29