ผลของการใช้เครื่องมือ TEDA4I ในเด็ก 0-5 ปี ที่มีพัฒนาการล่าช้า จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • เอกชัย ลีลาวงศ์กิจ โรงพยาบาลไชยวาน

คำสำคัญ:

DSPM, TEDA4I, พัฒนาการเด็ก

บทคัดย่อ

ปัจจุบันพบว่ามีเด็ก 0-5 ปี ประมาณร้อยละ 30 ที่มีพัฒนาการล่าช้าและไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสมด้วยสถานการณ์ดังกล่าวในปีงบประมาณ 2561 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี จึงได้เริ่มมีนโยบายกระตุ้นพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี ที่มีพัฒนาการล่าช้าด้วยเครื่องมือคู่มือประเมินเพื่อช่วยเหลือเด็กปฐมวัยที่มีปัญหาพัฒนาการ (Thai Early Developmental Assessment for Intervention: TEDA4I) เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการในเด็ก 0-5 ปี ที่มีพัฒนาการล่าช้าในจังหวัดอุดรธานีให้ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการที่เหมาะสมและเกิดพัฒนาการที่สมวัยในที่สุด จึงเป็นที่มาของการศึกษานี้ เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบเก็บข้อมูลย้อนหลัง โดยมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการใช้เครื่องมือ TEDA4I ต่อพัฒนาการของเด็กพัฒนาการล่าช้า อายุ 0-5 ปี ในจังหวัดอุดรธานี 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของผลลัพธ์ของการกระตุ้นพัฒนาการเด็กอายุ 0-5 ปีที่มีพัฒนาการล่าช้า กับปัจจัยด้านเพศ ช่วงอายุ และพัฒนาการรายด้าน 5 ด้าน วิธีการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เด็กอายุ 0-5 ปี ใน 4 กลุ่มอายุ ได้แก่ 9-17 เดือน, 18-29 เดือน, 30-41 เดือน และ 42-59 เดือน จัดเป็นกลุ่ม 9, 18, 30 และ 42 เดือน ที่ได้รับการคัดกรองด้วยคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (Developmental Surveillance and Promotion Manual: DSPM) แล้วพบว่าพัฒนาการล่าช้า จำนวนทั้งหมด 178 คน เก็บข้อมูลย้อนหลังจากระบบ Health Data Center (HDC) ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2560-30 กันยายน 2562 วิเคราะห์ผลลัพธ์การกระตุ้นพัฒนาการด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติวิเคราะห์ ได้แก่ Binomial test, Fisher’s exact test และ Chi-square

ผลการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเด็ก 0-5 ปี ที่มีพัฒนาการล่าช้าและได้รับการกระตุ้นพัฒนาการ จำนวน 178 คน เป็นเพศชาย 116 คน เพศหญิง 62 คน จำแนกเป็น 4 ช่วงอายุ ได้แก่ 9,18, 30 และ 42 เดือน ตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า เด็กส่วนใหญ่มีพัฒนาการดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในปีงบประมาณ 2562 ซึ่งมีการใช้ TEDA4I อย่างกว้างขวาง (P≤0.05) ร้อยละ 68.52 เมื่อทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านเพศ ช่วงอายุ และพัฒนาการรายด้านกับผลลัพธ์การกระตุ้นพัฒนาการ พบว่า ผลลัพธ์การกระตุ้นไม่แตกต่างกันในทุกเพศ ทุกช่วงวัย และทุกด้านพัฒนาการ

สรุป เครื่องมือกระตุ้นพัฒนาการ TEDA4I ให้ผลลัพธ์การกระตุ้นพัฒนาการที่ดีขึ้นในเด็ก 0–5 ปี ที่มีพัฒนาการล่าช้า

 

References

1. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. สถานการณ์เด็กปฐมวัย [อินเทอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 28 สิงหาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaihealth.or.th/Content/19353-เปิดสถานการณ์เด็กปฐมวัย%20พบ%201%20ใน%203%20พัฒนาการล่าช้า.html
2.กระทรวงสาธารณสุข. สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต.คู่มือการดำเนินงานโครงการการพัฒนาเครื่องมือประเมินเพื่อช่วยเหลือเด็กปฐมวัยที่มีปัญหาพัฒนาการ (TEDA4I) [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 28 สิงหาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://thaichilddevelopment.com/2.คู่มือการดำเนิน-รวมล่าสุด%20รวมปก.pdf
3. กระทรวงสาธารณสุข. สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต. ผลการใช้โปรแกรมTEDA4I ในเด็กบกพร่องทางพัฒนาการสติปัญญา สถาบันราชานุกูล [อินเทอร์เน็ต].2559 [เข้าถึงเมื่อ29 สิงหาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://th.rajanukul.go.th/_admin/file-download/5-5481-1481165291.pdf.
4. กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (Developmental Surveillance and Promotion Manual (DSPM)). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2562.
5. อัมพร เบญจพลพิทักษ์, สมัย ศิริทองถาวร, นพวรรณ ศรีวงค์พานิช, บรรณาธิการ. คู่มือประเมินเพื่อช่วยเหลือเด็กปฐมวัยที่มีปัญหาพัฒนาการ(ThaiEarlyDevelopmentalAssessmentforIntervention:TEDA4I). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด; 2558.
6. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี. ระบบ HDC กลุ่มรายงานมาตรฐาน อนามัยแม่และเด็ก เด็กพัฒนาการล่าช้าที่ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการด้วย TEDA4I และได้รับการวินิจฉัยจำแนกรายโรค [computer program]. [เข้าถึงเมื่อ 16 ตุลาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://udn.hdc.moph.go.th/hdc
7. นิรมัย คุ้มรักษา, รัชดาวรรณ์ แดงสุข, ธัญหทัย จันทะโยธา, เลิศสิริ ราชเดิม, ปรารถนา พรมวัง, ดวงเดือน เสาร์เทพ. ผลของโปรแกรม TEDA4I ในเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการล่าช้า ในจังหวัดกาญจนบุรี [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 29 สิงหาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://th.rajanukul.go.th/_admin/file-download/5-6879-1551954600.pdf
8. นวียา บุญสงค์, ระนอง เกตุดาว, บรรณาธิการ. ติดตามความก้าวหน้างานเด็กปฐมวัย.ระเบียบวาระการประชุมคณะกรรมการวางแผนและประเมินผลสาธารณสุข จังหวัดอุดรธานี (กวป.); วันที่ 30 เมษายน 2561; ณ ห้องประชุมร่มโพธิ์ทอง 1 ชั้น 2 หอประชุมร่มโพธิ์ทอง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี. อุดรธานี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี; 2561.
9. นวียา บุญสงค์, ระนอง เกตุดาว, บรรณาธิการ. ติดตามความก้าวหน้างานเด็กปฐมวัย.ระเบียบวาระการประชุมคณะกรรมการวางแผนและประเมินผลสาธารณสุข จังหวัดอุดรธานี (กวป.); วันที่ 31 มกราคม 2562; ณ ห้องประชุมร่มโพธิ์ทอง 1 ชั้น 2 หอประชุมร่มโพธิ์ทอง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี. อุดรธานี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี; 2562.
10. Benjamin Zablotsky, Lindsey I. Black, Stephen J. Blumberg. Estimated Prevalence of Children With Diagnosed Developmental Disabilities in the United States, 2014–2016 [Internet]. NCHS Data Brief No. 291, November 2017 [cited 2020 March 12]. Available from: https://www.cdc.gov/nchs/products/databriefs/db291.htm

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-29