ทัศนคติต่อผลิตภัณฑ์และการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมของผู้สูงอายุบ้านหนองบุ ตำบลสามพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการบริโภค, ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาแบบไปข้างหน้านี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติและการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมของผู้สูงอายุบ้านหนองบุ ตำบลสามพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่ใช้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมได้มาอย่างเฉพาะเจาะจงจำนวน 30 คน เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์หาคุณภาพของเครื่องมือโดยให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ เท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ข้อมูลส่วนบุคคลผู้สูงอายุที่ใช้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย การศึกษาระดับประถมศึกษา อายุเฉลี่ย 75.56 ปี สถานภาพสมรสคู่ร้อยละ 56.67 ไม่ได้ประกอบอาชีพร้อยละ 63.33 มีรายได้ระหว่าง 3,000-5,000 บาทต่อเดือนร้อยละ60มีโรคประจำตัวร้อยละ 73.33 โดยเป็นโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานมากที่สุด 2)ทัศนคติเกี่ยวกับอาหารเสริมด้านการรับรู้ต่อการใช้ผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับปานกลาง (x̄=3.15, S.D. 0.36) ความรู้สึกหรืออารมณ์ต่อการบริโภคอาหารเสริมผู้สูงอายุมีความคิดเห็นว่าการบริโภคอาหารเสริมทำให้มีกำลังในการดำเนินชีวิตในระดับมาก (x̄=3.40, S.D. 0.56) มีความตั้งใจและมีแนวโน้มที่จะบริโภคอาหารเสริมต่อไปในระดับมาก (x̄=3.35, S.D. 0.48) และ 3) การบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมพบว่าเหตุผลของการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพราะต้องการรักษาอาการเจ็บป่วยและบำรุงร่างกายชนิดของผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่ผู้สูงอายุใช้มากเรียงตามลำดับคือสาหร่ายแดงแคปซูลสาหร่ายทะเลแคปซูล น้ำมันตับปลา ผลิตภัณฑ์เห็ดหลินจือ น้ำจมูกข้าว เครื่องดื่มสมุนไพรกำลังช้างสาร ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมโปรตีนสกัดนิวทริไลท์น้ำผลไม้รวม กาแฟสมุนไพรและเครื่องดื่มเนสวีต้าราคาของอาหารเสริมต่อชิ้นที่ใช้ต่ำสุด 75 บาท สูงสุด 3,500 บาท แรงจูงใจที่ทำให้ใช้ผู้สูงอายุใช้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมมาจากสมาชิกครอบครัวซื้อให้ การโฆษณาจากวิทยุ บุคลากรด้านสุขภาพ โทรทัศน์และเพื่อนบ้านตามลำดับความถี่ของการใช้ผลิตภัณฑ์ ร้อยละ 56.7 ใช้ 5-6 ครั้ง/สัปดาห์ โดยก่อนใช้มีการสังเกตการเปลี่ยนแปลงของสีหรือรูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์มากที่สุดส่วนการปฏิบัติที่น้อยที่สุดคือการสังเกตวันหมดอายุบนฉลากผลิตภัณฑ์ก่อนรับประทานความรู้เกี่ยวกับอาหารเสริมผู้สูงอายุประเมินตนเองว่ามีความรู้ระดับปานกลางและการประเมินผลหลังใช้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมร้อยละ 83.3 เห็นว่ามีอาการดีขึ้นจากผลการวิจัยหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องจึงควรหาแนวทางหรือมาตรการในการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อป้องกันและลดผลกระทบที่จะเกิดจากการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริม
References
2. ศิรสา เรืองฤทธิชาญกุล.การใช้ยาร่วมกันหลายขนานในผู้สูงอายุ.RamathibodiMedical Journal 2558; 41(1):95-104.
3. ปานเนตร ปางพุฒิพงษ์. การใช้ยาในผู้สูงอายุ. [อินเทอร์เน็ต].สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. [เข้าถึงเมื่อ10พฤษภาคม2562].เข้าถึงได้จาก: https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/
4. สมจิต อสิพงษ์. พฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่มีข้อบ่งใช้ทางการแพทย์ของผู้ป่วยโรคเรื้อรังอำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ.Thai Journal of PhamacyPractice 2558;7(2):105-113.
5. สำนักงานสถิติแห่งชาติ.การสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากร. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม;2560.
6. สมใจ ผ่านภูวงษ์, กรแก้ว จันทภาษา. พฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผู้ป่วยเบาหวานในเขตเทศบาลตำบลวาริชภูมิ อำเภอวาริชภูมิจังหวัดสกลนคร. ว.กลุ่มงานเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภคโรงพยาบาลวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร 2557;1(1):155-159.
7. เสกสรรค์ วีระสุข, วรางคณา อดิศรประเสริฐ.การศึกษาพฤติกรรมบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมประเภทวิตามินในกรุงเทพมหานคร. ว.บริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ 2557; 5(1):65-78.
8. ชวัล วินิจชัยนันท์, ปรีชา วิจิตรธรรมรส. ปัจจัยที่มีผลต่อการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อควบคุมน้ำหนักของประชาชนในกรุงเทพมหานคร.Journal of Management Walailak University 2561;6(1) :84-90.
9. ศิริรัตน์ ศรีภัทรางกูร, จันทนา ลี้สวัสดิ์. ผลการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมในชุมชนเทศบาลนครลำปาง. ว.การพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2557;2(3):277-284.
10. ปิยะวัน วงศ์บุญหนัก, ปวีณา ว่องตระกูล, หรรษา มหามงคล, วรัญญา เนียมขำ.การสำรวจปัญหาและพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมและสมุนไพรของผู้สูงอายุกรณีศึกษาชุมชนศีรษะจระเข้น้อยสมุทรปราการ.ว.มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 2559;20(39):97-108.
11. หิรัญญา นาคนาคา, ประพิมพรรณลื่มสุวรรณ์, ทรงพร หาญสันติ. ความสัมพันธ์ระหว่าง ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมประเภทวิตามินของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. ว.วไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ 2561; 8(2): 105-112.
12. ศิริพร ทิมาบุตร. พฤติกรรมการบริโภคอาหารเสริมของกลุ่มคนวัยทํางานในเขตกรุงเทพมหานคร. [อินเทอร์เน็ต].การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 8 “Research 4.0 Innovation and Development SSRU’s 80th Anniversary” . [เข้าถึงเมื่อ10พฤษภาคม2562].เข้าถึงได้จาก: file:///C:/Users/Administrator/Downloads/Documents/1032-2191-1-SM.pdf
13. อำภา เจิ่งฤทธิ์. ทัศนคติที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมนิวทริไลท์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร.[วิทยานิพนธ์]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี; 2557.
14. เยาวภา จันทร์พวง. ลักษณะรูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุและการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมประเภทวิตามินในประเทศไทย.[วิทยานิพนธ์]. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2557.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารไปเผยแพร่ทางการค้าก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร