การพัฒนารูปแบบการตรวจสอบรายการผ่าตัดปลอดภัย ในห้องผ่าตัดโรงพยาบาลสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • ศิริรัตน์ จึงสมาน ห้องผ่าตัด โรงพยาบาลสุรินทร์
  • ภาวิณี แพงสุข วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์

คำสำคัญ:

รูปแบบการตรวจสอบรายการผ่าตัดปลอดภัย, ห้องผ่าตัด

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลลัพธ์ของการพัฒนารูปแบบการตรวจสอบรายการผ่าตัดปลอดภัย (Surgical safety checklist) ในงานห้องผ่าตัด โรงพยาบาลสุรินทร์ การพัฒนารูปแบบประกอบด้วย 4 ขั้นตอนได้แก่ ขั้นวิเคราะห์สภาพปัญหา ขั้นออกแบบและพัฒนา ขั้นทดลองใช้และขั้นประเมินผล กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพในห้องผ่าตัด จำนวน 47 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือวิจัยคือ เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ แบบตรวจสอบรายการผ่าตัดปลอดภัย (Surgical safety checklist) และแบบบันทึกอุบัติการณ์การเกิดความไม่ปลอดภัยกับผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัด  และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความพึงพอใจแบบสอบถามความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ และแบบสอบถามปัญหาอุปสรรคจากการใช้แบบตรวจสอบรายการผ่าตัดปลอดภัย เก็บข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์และแบบสอบถาม ระหว่างเดือนกันยายน  2560 – มีนาคม 2561 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย อัตราอุบัติการณ์และการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)  

ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 95.7 มีอายุอยู่ในช่วง 31-40 ปี ร้อยละ 36.2  การศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 93.6 ประสบการณ์ในการทำงานน้อยกว่า 10 ปี ร้อยละ 53.2 ความพึงพอใจส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 85.1 ความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบไปใช้อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 70.2 และไม่พบอุบัติการณ์การผ่าตัดผิดคน, ผ่าตัดผิดตำแหน่ง, ผ่าตัดผิดอวัยวะ, การหลงลืมวัสดุไว้ในร่างกายผู้ป่วย, การบาดเจ็บจากการใช้จี้ไฟฟ้า และการติดเชื้อจากการผ่าตัด

การศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าควรพัฒนาทักษะและความมั่นใจให้กับพยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์ในการทำงานน้อยและเน้นให้พยาบาลห้องผ่าตัดให้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับขั้นตอนของรูปแบบรายการผ่าตัดปลอดภัย เพื่อให้ผู้ป่วยมีความปลอดภัยจากการผ่าตัดในทุกครั้งและทุกคนต่อไป

 

References

1. Weiser G, Regenbogen E, Thompson D, Haynes B, Lipsitz R, Berry, William R, et al. An estimate of the global volume of surgery: a modeling strategy based on available data. The Lancet. 2008;372(9633):87-176.
2. Alex H, Thomas W, Wilium B, Stuart L, Abdel-Hadi B, E Patchen Dellinger, et al. Change in safety attitude and relationship to decrease postoperative morbidity and mortality following implementation of a checklist-base surgical safety intervention. BMJ Qual Saf 2011;20(1):102-107.
3. งานเวชระเบียนและสถิติ โรงพยาบาลสุรินทร์. สถิติการผ่าตัด ปี 2559. สุรินทร์: โรงพยาบาลสุรินทร์; 2559.
4. ณัฐพงษ์ โลกธรรมรักษ์. Collective review Surgical Patient Safety. สงขลา: ภาควิชาศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์; 2558.
5. นงเยาว์ เกษตร์ภิบาล, ยอดยิ่ง ปัญจสวัสดิ์วงศ์, จิตตาภรณ์ จิตรีเชื้อ, นเรนทร์ โชติรสนิรมิตร, สมใจ ศิระกมล, ปาริชาติ ภัควิภาส. การใช้และการปฏิบัติตามแบบตรวจสอบรายการผ่าตัดปลอดภัยขององค์การอนามัยโลกในโรงพยาบาลของรัฐและเอกชนในประเทศไทย เพื่อการพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด. เชียงใหม่: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2558.
6. ลักษณา จันทราโยธาการ, พรธิดา ชื่นบาน. การปรับปรุงแนวทางเพื่อใช้ในการตรวจสอบความถูกต้องของผู้ป่วยผ่าตัดโดยการทบทวนวรรณกรรมและใช้เทคนิค Focus group ห้องผ่าตัดโรงพยาบาลแพร่. Journal of the Phrae Hospital 2557;22(1):57-67.
7. Stephanie R, Nick S, Krishna S, Erik M, Shantanu R, Jochem C. A Qualitative Evaluation of the Barriers and Facilitators Toward Implementation of the WHO Surgical Safety Checklist Across Hospitals in England. Annals of Surgery 2014; 1-11.
8. Christofer R, Gerd J, Per O, Kristina A, Per Larsson. Complication with the WHO Surgical Safety Checklist: deviations and possible improvements. International Journal for Quality in Health care 2013;25(2):182-187.
9. Bergs J, Johan H, Jean D. Systemetic review and meta-analysis of the effect of the World Health Organization surgical safety checklist on postoperative complication. British Journal of Surgery 2014;101(3):150-158.
10. Bertalanffy V. General System Theory: Foundations, Development, Applications. New York: George Braziller; 1968.
11. World Health Organization. WHO Surgical Safety Checklist [Internet]. Geneva:WHO; 2009 [cited 2015 August 13] Available from: https://www. who.int/patientsafety/safesurgery/checklist/en/
12. ขนิษฐา แช่มไล่. การพัฒนาและประเมินผลแนวปฏิบัติการพยาบาลในการจัดการความปวดจากหัตถการในผู้ป่วยวิกฤติทางศัลยกรรมโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. [วิทยานิพนธ์]. สงขลา:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2556.
13. Lindsay B, Cynthia R, Laura S, David S. Thirty-Day Outcome Support Implementation of the Surgical Safety Checklist. American college of surgeon 2012;215(6).766-776.
14. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ถอดบทเรียนการนำแบบตรวจสอบรายการผ่าตัดปลอดภัยมาใช้ในประเทศไทย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2558.
15. ราตรี แฉล้มภักดี, อำไพย์ ขอพึ่ง, ศรีไพร หมอนวด. ผ่าตัดมั่นใจ ปลอดภัย เมื่อใช้ Surgical safety Checklist. ว.วิชาการ รพศ/รพท 2557;16(3):199-206.
16. อำพร อนุพงษ์ภิชาติ. Surgical safety checklist. [อินเทอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 13 มกราคม 2561] เข้าถึงได้จาก: http://www.cbh.moph.go.th/app/intranet/files/km/1390202291_
17. สุภัทราพงษ์ พิลาดิษฐ์. การบริหารความเสี่ยงเพื่อป้องกันการผ่าตัด ผิดคน ผิดอวัยวะ ผิดตำแหน่ง ของห้องผ่าตัดโรงพยาบาลบึงกาฬ. ว.เครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2558; 2(2):66-84.
18. Klei A, Hoff G, Aarnhem E, Simmerma cher K, Regli P, Kappen H. Effect of the Introduction of the WHO “Surgical Safety Checklist” on In-Hospital Mortality. Annals of Surgery 2012;255(1):44-49.
19. วีกุญญา ลือเลื่อง, วิภาพร วรหาญ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทของพยาบาลวิชาชีพห้องผ่าตัด โรงพยาบาลศูนย์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 13; วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2555; มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-29