การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกเพื่อการพยาบาลดมยาสลบผู้ป่วยเด็กอายุ 0-15 ปี ภายใต้การตรวจด้วย คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าโรงพยาบาลอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • นันท์นภัส เนียมแสงทวีแสง กลุ่มงานการพยาบาลวิสัญญี โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิก, การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า, การพยาบาลดมยาสลบ, ผู้ป่วยเด็ก

บทคัดย่อ

การส่งผู้ป่วยเข้ารับการระงับความรู้สึกเพื่อตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (magnetic resonance imaging; MRI) เป็นบริการใหม่ การดูแลผู้ป่วยด้านการพยาบาลยังไม่มีแนวปฏิบัติชัดเจน สำหรับการเตรียมผู้ป่วย อาจเกิดความเสี่ยง โดยเฉพาะการดมยาสลบผู้ป่วยเด็กและ ญาติเกิดความกลัว ความวิตกกังวล การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเหมาะสม ความเป็นไปได้รวมถึงผลลัพธ์ของการใช้แนวปฏิบัติที่ถูกพัฒนาขึ้นในโรงพยาบาลอุดรธานี ดำเนินการระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนสิงหาคม 2562 โดยยึดแนวคิดการพัฒนาคุณภาพทางคลินิก 7 ขั้นตอน ได้แก่ กำหนดประเด็นปัญหา กำหนดทีมพัฒนา วัตถุประสงค์ขอบเขตและผลลัพธ์ สืบค้นและประเมินคุณค่าของหลักฐาน ยกร่างแนวปฏิบัติ การตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญและปรับร่วมกับทีมพัฒนา และการนำไปทดลองใช้จริง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีสุ่มแบบเจาะจง โดยการจัดเก็บข้อมูลจาก 3 กลุ่มดังนี้ 1) ทีมบุคลากร ได้แก่ วิสัญญีพยาบาล 30 คน พยาบาลหอผู้ป่วยเด็ก (หอสามัญ และหอวิกฤติ) 30 คน เจ้าหน้าที่ศูนย์ MRI  8 คน เจ้าหน้าที่ศูนย์เปล 20 คน รวม  88 คน 2) ผู้ป่วยเด็ก อายุ 0-15 ปี ที่ได้รับการดมยาสลบเพื่อเข้าตรวจ MRI จำนวน 44 คน 3) ญาติผู้ป่วยเด็กกลุ่มดังกล่าว 44 คน การศึกษานี้ได้เก็บข้อมูลผู้ป่วยเด็กจากใบบันทึกการดมยาสลบ ในกลุ่มผู้ปฏิบัติให้ตอบแบบสอบถามกิจกรรมการปฏิบัติทางคลินิก แบบประเมินการใช้แนวปฏิบัติที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ซึ่งจัดเก็บเป็น 3 ระยะตามการดูแลดมยาสลบ คือ ระยะก่อน ระหว่างและหลังการดมยาสลบและแบบสอบถามความพึงพอใจในกลุ่มผู้ปฏิบัติ 4 ด้าน (ความสะดวก ความครอบคลุม ความรวดเร็ว และผลลัพธ์ต่อผู้ป่วย) กลุ่มญาติผู้ป่วยตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่าแนวทางปฏิบัติที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถปฏิบัติได้จริงเกินร้อยละ 95 มีความเหมาะสม สะดวก ครอบคลุมและรวดเร็ว ผลลัพธ์จากการดมยาสลบไม่พบอัตราตาย มีภาวะแทรกซ้อนลดลงในเรื่อง ออกซิเจนในเลือดต่ำ ท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุด การเกร็งของหลอดลม แต่พบว่ามีภาวะความดันโลหิตต่ำและหัวใจเต้นช้าเพิ่มขึ้น คาดว่าเนื่องจากการเฝ้าระวังที่มากขึ้น และด้านความพึงพอใจพบว่ากลุ่มผู้ปฏิบัติมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน (x̄ 4.06, 4.07, 4.01 และ 4.08 ตามลำดับ) กลุ่มญาติผู้ป่วยมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ 4.69 S.D. 0.42)

แนวทางปฏิบัติที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถปฏิบัติได้จริง มีความเหมาะสม สะดวก ครอบคลุมและรวดเร็ว ควรแก่การพัฒนา และเผยแพร่ต่อไปในผู้ปฏิบัติในหอผู้ป่วยผู้ใหญ่หรือผู้ที่สนใจเพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปในทิศทางเดียวกันเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย

References

1. เบญจรัตน์ หยกอุบล. การระงับความรู้สึกแก่ผู้ป่วยมารับการตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่อง MRI Anesthesia for MRI, MRA. [อินเทอร์เน็ต]. 2550 [เข้าถึงเมื่อ 15 ธันวาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://www.mothe-ring.com
2. NHS Barts Health. Having an MRI under general anaesthesia. [internet]. 2017 [cited 2018 Nov 20]. Available from: https://www.bartshealth. nhs.uk>download
3. กลุ่มประสาทรังสีวิทยา. 3Tesla MRI Scanner. At Prasart Neurological Institute [internet]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ15กันยายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.pin.go.th/pnigoth/wp-content/uploads//2015/02/web-page-3-Tesla-Magnetic-Resonance-Imaging-at-Prasart
4. Malviya, S, Voepel-Lewis T, Eldevik OP, Rockwell DT, Wong JH,Tait AR. Sedation and general anesthesia in children undergoing MRI and CT: adverse event and outcome. Br J Anesth 2000;84(6): 743-8.
5. วราภรณ์ ไวคกุล, ทิพรัตน์ พงษ์วัฒนสุข, วราลี พวงปัญญา, ชลธิชา เจริญทรัพย์, ภัสรา ตรีรัตนประยูร. อัตราตายและพยาธิภาวะในผู้ป่วยเด็กได้รับการดมยาสลบเพื่อทำ MRI และ CT. วิสัญญีสาร 2557;40:283-92.
6. สุรีรัตน์ จันทร์พาณิชย์. การดูแลผู้ป่วยที่มารับการตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์และเครื่องสนามแม่เหล็กไฟฟ้า. ว.รังสีวิทยาศิริราช 2559;3:149-158.
7. พวงทอง ไกรพิบูลย์. เด็กน้อยน่ารัก. [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://www.ayameelahmaesor.blog spot.com/2016/10/blog-post.html
8. สุเนตรา แก้ววิเชียร. Role of Nurses in Pediatric Critical Care. ใน: ดุสิต สถาวร, จิตลัดดา ดีโรจนวงศ์, นวลจันทร์ ปราบพาล, บรรณาธิการ. Current Concepts in Pediatric Critical Care. กรุงเทพฯ: ชมรมโรคระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤตในเด็กแห่งประเทศไทย; 2548. หน้า 217-225.
9. เดือนเพ็ญ ห่อรัตนาเรือง. ภาวะวิกฤตระบบหายใจในการระงับความรู้สึกเด็ก. ใน: อรลักษณ์ รอดอนันต์, เบญจรัตน์ หยกอุบล, ฐิติกัญญา ดวงรัตน์, นรุตม์ เรือนอนุกูล, บรรณาธิการ. วิสัญญีบริบาลทันยุคเล่ม 2. กรุงเทพฯ: ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย; 2560. หน้า 233-240.
10. Stack CG. Essentials of Pediatric Intensive Care. London: Greenwich Medical Media Limited; 2004. p 3.
11. Magnetic Resonance Imaging. [อินเทอร์ เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ16 กันยายน 2562]. เข้า ถึงได้จาก: https://www.Vibhavadi.com/health985
12. Vinit Wellis, Elliot Krane. Practice Guidelines for the MRI. Lucile Packard Children’s Hospital; 1998. p 2-6.
13. เพียงทิพย์ พรหมพันธ์. สภาพจิตใจของเด็กเจ็บป่วยและอยู่โรงพยาบาล. [อินเทอร์เน็ต]. 2542 [เข้าถึงเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://www.doctordek.php
14. ฉวีวรรณ ธงชัย. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิก. ว.สภาการพยาบาล.2548;20(2):63-76.
15. ดวงฤดี ลาศุขะ. การปรับปรุงแนวปฏิบัติทางคลินิก;แนวทางและขั้นตอน. พยาบาลสาร 2013;97-104.
16. สุกัญญา เดชอาคม, อังศุมาศ หวังดี, อัญชลา จิระกุลสวัสดิ์. การพยาบาลผู้ป่วยในห้องพักฟื้น. วิสัญญีสาร 2557; 40(1):46-80.
17. กฤษดา แสวงดี, ธีรพร สถิรอังกรู, สุวิภา นิตยางกรู, เรวดี ศิรินคร, มนทิกานติ ตระกูลดิษฐ์. มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามเจริญพาณิชย์; 2542. หน้า 141-49.
18. Mason EJ. How to write meaningful standards of care. 3rd ed. New York: Delmar Publisher; 1994.
19. บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น; 2556. หน้า 121.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-29