ปัจจัยทำนายการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่มีภาวะช็อกจากหัวใจแล้วได้รักษา ด้วยหัตถการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารีผ่านทางสายสวนและใช้เครื่องพยุงการทำงานของหัวใจ
คำสำคัญ:
โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันภาวะช็อกจากหัวใจ, หัตถการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารีผ่านทางสายสวน, เครื่องพยุงการทำงานของหัวใจบทคัดย่อ
โรคเลือดหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Acute Coronary Syndrome) ที่มีภาวะช็อกจากหัวใจเป็นภาวะอันตรายต่อชีวิตและมีอัตราการเสียชีวิตสูง การรักษาในปัจจุบันได้มีการการนำเครื่องพยุงการทำงานของหัวใจ (intra-aortic balloon pump: IABP) มาใช้ร่วมรักษาแต่ก็ยังพบว่ามีอัตราการเสียชีวิตที่สูงอยู่ การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาเก็บข้อมูลย้อนหลัง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาปัจจัยทำนายการเสียชีวิตในโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่มีภาวะช็อกจากหัวใจแล้วได้รักษาด้วยหัตถการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารีผ่านทางสายสวน (Percutaneous Coronary Intervention: PCI) และใช้เครื่องพยุงการทำงานของหัวใจ รวมถึงผลลัพธ์จากการรักษาที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลอุดรธานี ทำการศึกษาโดยเก็บข้อมูลย้อนหลังในผู้ป่วยทุกรายโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลจากทะเบียน PCI เวชระเบียนผู้ป่วยที่วินิจฉัยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่มีภาวะช็อกจากหัวใจแล้วได้รักษาด้วยหัตถการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารีผ่านทางสายสวนและใช้เครื่องพยุงการทำงานของหัวใจ ทำการเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2560-30 มิถุนายน 2561 ได้จำนวนผู้ป่วย 126 ราย แล้วใช้สถิติพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน pearson chi-square เปรียบเทียบข้อมูล, univariate, multivariate logistic regression analysis วิเคราะห์หาปัจจัยที่ทำนายการเสียชีวิตกำหนดค่านัยสำคัญที่ 0.05
ผลการศึกษา ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่มีภาวะช็อกจากหัวใจแล้วได้รักษาด้วยหัตถการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารีผ่านทางสายสวนและใช้เครื่องพยุงการทำงานของหัวใจมีจำนวนทั้งสิ้น 126 ราย มีอายุเฉลี่ย 65.3 (S.D. 11.01) ปี เป็นเพศชายร้อยละ 69.8 เป็นผู้ป่วยที่มีกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดส่วนของเอส-ทียก ร้อยละ 78.6 ได้รับยาละลายลิ่มเลือดก่อน PCI ร้อยละ 23.0 ได้รับการช่วยฟื้นคืนชีพก่อน PCI ร้อยละ 31.7 พบบาดเจ็บของไตเฉียบพลันร้อยละ 58.7 อัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาล 50 ราย (ร้อยละ 39.7) 43 ราย เสียชีวิตจากสาเหตุของหัวใจ (ร้อยละ 86.0) ในการวิเคราะห์แบบ multivariate พบว่ามีเพียงปัจจัยเดียวที่ทำนายการเสียชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคือการได้รับการช่วยฟื้นคืนชีพที่ห้องตรวจสวนหัวใจ (adjusted odd ratio 4.14; 95%CI 1.23-13.87, p=0.02)
สรุป: การได้รับการช่วยฟื้นคืนชีพที่ห้องตรวจสวนหัวใจเป็นปัจจัยทำนายการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่มีภาวะช็อกจากหัวใจแล้วได้รักษาด้วยหัตถการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารีผ่านทางสายสวนและใช้เครื่องพยุงการทำงานของหัวใจและควรมีการพัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วยโดยไม่ต้องเข้าห้องฉุกเฉินของรพ.อุดรธานีจะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการเปิดเส้นเลือดที่เร็วขึ้น
References
2. Ibanez B, James S, Agewall S, Antunes MJ, Bucciarelli-Ducci C, BuenoH,Caforio ALP, CreaF, et al. 2017 ESC Guidelines for the management of acute myocardial infarction in patients presenting with ST-segment elevation. European Heart Journal 2017;00, 1–66.
3. Wijns W, Kolh P, Danchin N, Di Mario C, Falk V. FolliguetT, et al. Guidelines on myocardial revascularization. Eur Heart J 2010;31:2501–55.
4. Levine GN, Bates ER, Blankenship JC, Bailey SR,Bittl JA, CercekB, et al. . European Heart Journal 2017;00, 1–66.Cardiovascular Angiography and Interventions. Circulation 2011;124:e574–651.
5. Awad HH, Anderson Jr FA, Gore JM, Goodman SG, Goldberg RJ.Cardiogenic shock complicating acute coronary syndromes: insights from the Global Registry of Acute Coronary Events. Am Heart J 2012;163:963-71.
6. Sjauw KD, Engström AE, Vis MM, van der Schaaf RJ, Baan J Jr, Koch KT, et al. A systematic review and meta-analysis of intra-aortic balloon pump therapy in ST-elevation myocardial infarction: should we change the guidelines? Eur Heart J 2009;30:459-468.
7. Thiele H, Zeymer U, Neumann FJ, Ferenc M, Olbrich HG, HausleiterJ,et al. Intraaortic Balloon Support for Myocardial Infarction with Cardiogenic Shock. N Engl J Med 2012; 367:1287-1296.
8. Patrick T. O'Gara, Frederick G. Kushner, Deborah D. Ascheim, Donald E. Casey Jr, Mina K. Chung, James A. de Lemos, et al. 2013 ACCF/AHA Guideline for the Management of ST-Elevation Myocardial Infarction, J Am Coll Cardiol 2013;61: e80-e140.
9. Hands ME, Rutherford JD, Muller JE, Davies G, Stone PH, Parker C, et al. The in-hospital development of cardiogeni c shock after myocardial infarction: incidence, predictors of occurrence, outcome and prognostic factors. The MILIS Study Group. J Am CollCardiol 1989;14:40–6.
10. Thygesen K, Alpert JS, Jaffe AS, Simoons ML, Chaitman BR, White HD,et al. ESC Committee for Practice Guidelines. Third universal definition of myocardial infarction. Eur Heart J 2012;33(20):2551–2567.
11. Marco Roffi,CarloPatrono, Jean-Philippe Collet, Christian Mueller, Marco Valgimigli, FelicitaAndreotti, Jeroen J. Bax, et al. 2015 ESC Guidelines for the management of acute coronary syndromes in patients presenting without persistent ST-segment elevation. European Heart Journal 2016;37:267–315.
12. vanDiepen S, Katz JN, Albert NM, Henry TD, Jacobs AK, KapurNK, et al. Contemporary management of cardiogenic shock: a scientific statement from the American Heart Association. Circulation 2017;136:e232–e268.
13. Zeymer U, Hochadel M, Hauptmann KE, Wiegand K, Schuhmacher B, BrachmannJ,et al. Intra-aortic balloon pump in patients with acute myocardial infarction complicated by cardiogenic shock: results of the ALKK-PCI registry. Clin Res Cardiol 2013;102(3):223-7.
14. Sanjuán R, Núñez J, Blasco ML, Miñana G, Martínez-Maicas H, CarbonellN, et al. Prognostic Implications of Stress Hyperglycemia in Acute ST Elevation Myocardial Infarction. Prospective Observational Study. Rev Esp Cardiol 2011;64(3):201-7.
15. Cheng JM, van Leeuwen MA, de Boer SP, Wai MC, den Uil CA, JewbaliLS,et al. Impact of intra-aortic balloon pump support initiated before versus after primary percutaneous coronary intervention in patients with cardiogenic shock from acute myocardial infarction. Int J Cardiol 2013;168(4):3758-63.
16. Schwarz B, Abdel-Wahab M, Robinson DR. Richardt G.Predictors of mortality in patients with cardiogenic shock treated with primary percutaneous coronary intervention and intra-aortic balloon counterpulsation, MedKlinIntensivmed Notfmed 2016;111(8):715-722.
17. Rathod KS, Koganti S, Iqbal MB, Jain AK,Kalra SS, AstroulakisZ,et al. Contemporary trends in cardiogenic shock: Incidence, intra-aortic balloon pump utilisation and outcomes from the London Heart Attack Group. European Heart Journal: Acute Cardiovascular Care 2018;7(1):16 –27.
18. Hayıroğlu Mİ, Çanga Y, Yıldırımtürk Ö, Bozbeyoğlu E, GümüşdağA, UzunAO, et al. Clinical characteristics and outcomes of acute coronary syndrome patients with intra-aortic balloon pump inserted in intensive cardiac care unit of a tertiary clinic. Turk Kardiyol Dern Ars 2018;46(1):10-17.
19. Sutton AG, Finn P, Hall JA, Harcombe AA, Wright RA, de Belder MA.Predictors of outcome after percutaneous treatment for cardiogenic shock. Heart 2005;91(3):339-44.
20. Minha S, Barbash IM, Dvir D, Ben-Dor I, Loh JP, PendyalaLK, et al. Correlates for mortality in patients presented with acute myocardial infarct complicated by cardiogenic shock, Cardiovasc Revasc Med 2014;15(1):13-7.
21. Pekkarinen PT, Bäcklund M, Efendijev I, Raj R, Folger D, LitoniusE,et al. Association of extracerebral organ failure with 1-year survival and healthcare-associated costs after cardiac arrest: and observational database study. Crit Care 2019;23(1):67.
22. Romeo F, Acconcia MC, Sergi D, Romeo A, Muscoli S, Valente S,et al. The outcome of intra-aortic balloon pump support in acute myocardial infarction complicated by cardiogenic shock according to the type of revascularization:A comprehensive meta-analysis. Am Heart J 2013; 165(5):679-92.
23. de Jong MM, Lorusso R, Al Awami F, Matteuci F, Parise O, LozekootP, et al. Vascular complications following intra-aortic balloon pump implantation: an updated review. Perfusion 2018; 33(2):96-104.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา ทัศนะ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความในวารสารไปเผยแพร่ทางการค้าก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร